Seeed Studio IoT Button เป็นปุ่มกดราคาประหยัดที่ใช้ชิป ESP32-C6 ทำงานด้วยแบตเตอรี่แบบชาร์จได้ขนาด 18650 โดยออกแบบมาให้ควบคุมอุปกรณ์สมาร์ทโฮมได้อย่างง่ายดายและรวดเร็วผ่านเครือข่ายไร้สาย WiFi 6 หรือ Zigbee อุปกรณ์นี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ใช้ Home Assistant เนื่องจากมีการติดตั้งเฟิร์มแวร์ ESPHome มาให้เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อและใช้งานผ่าน WiFi ได้ทันที และทางบริษัทก็ยังมีเฟิร์มแวร์ Zigbee ให้สำหรับการเชื่อมต่อกับ Zigbee Home Assistant (ZHA) ด้วยเ ตัวฮาร์ดแวร์ของอุปกรณ์มีเพียงพื้นฐานประกอบด้วยปุ่มกด ไฟ LED สามดวง และพอร์ต USB-C สำหรับชาร์จแบตเตอรี่ 18650 ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้ สเปคของ Seeed Studio IoT Button : SoC – ESP32-C6FH4 CPU Single-core 32-bit RISC-V clocked สูงสุด 160 MHz Low-power RISC-V core […]
T-Pico-2350 ชุดพัฒนาแบบครบวงจรที่มาพร้อมชิป Raspberry Pi RP2350, ESP32-C6, หน้าจอสัมผัสสี 2.33 นิ้ว รองรับการแสดงผลวิดีโอผ่านพอร์ต HDMI
LILYGO T-Pico-2350 หรือที่เรียกอีกชื่อว่า T-Pico2 เป็นชุดพัฒนาแบบปิดครอบสมบูรณ์ ซึ่งใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ร่วมกับชิป ESP32-C6 สำหรับการเชื่อมต่อแบบไร้สาย มาพร้อมหน้าจอสัมผัสสีแบบ capacitive ขนาด 2.33 นิ้ว และพอร์ตเอาต์พุตวิดีโอแบบ HDMI (DVI) การออกแบบนี้เป็นการอัปเดตจากรุ่น T-PicoC3 ที่เปิดตัวในปี 2022 โดยใช้ดีไซน์เคสของ T-Display S3 Pro และชุดพัฒนายังมาพร้อมกับช่องใส่ microSD card, พอร์ต USB-C สำหรับจ่ายไฟและโปรแกรม, ขา GPIO สองแถว, คอนเนคเตอร์ GPIO แบบ FPC ขนาด 13 พิน, คอนเนคเตอร์ Qwiic สำหรับ I2C/UART สองชุด และมีวงจรจัดการพลังงาน (PMU) สำหรับการใช้งานร่วมกับแบตเตอรี่ สเปคของ T-Pico-2350: ไมโครคอนโทรลเลอร์ – Raspberry Pi RP2350A CPU Dual-core Arm Cortex-M33 @ 150 MHz พร้อม Arm Trustzone, S […]
แฮ็กสายอากาศเพิ่มระยะสัญญาณของบอร์ด ESP32-C3 USB-C ได้ไกลขึ้นมากกว่าสองเท่า
มีบอร์ด IoT ขนาดเล็กที่ใช้ชิป ESP32-C3 และมาพร้อมพอร์ต USB-C วางจำหน่ายอยู่มากมายในท้องตลาด ซึ่งถึงแม้ว่าบอร์ดเหล่านี้จะมีหน้าตาคล้ายกัน แต่การออกแบบสายอากาศนั้นแตกต่างกัน และถ้าออกแบบมาไม่ดี อาจส่งผลกระทบอย่างมากต่อระยะของสัญญาณ WiFi และ Bluetooth Peter Neufeld ตัดสินใจดัดแปลงบอร์ด ESP32-C3 ราคาประหยัดตัวหนึ่งด้วยการเพิ่มสายอากาศแบบปรับแต่งเอง และผลลัพธ์ก็คือบอร์ดตัวนั้นสามารถรับส่งสัญญาณได้ไกลขึ้นมากกว่าสองเท่า และในบางกรณีก็เกือบถึงสามเท่า บอร์ดขนาดเล็กเหล่านี้มีพื้นที่ค่อนข้างจำกัด จึงแทบไม่มีพื้นที่รอบ ๆ เสาอากาศเซรามิกที่มักใช้กัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพด้านคลื่นความถี่วิทยุ (RF) ต่ำลง เพื่อแก้ปัญหานี้ Peter จึงเพิ่มสายอากาศความยาว 31 มม. ที่ทำจากลวดเคลือบเงิน โดยดัดเป็นวงกลมขนาดประมาณ 8 มม. อยู่นอกตัวบอร์ด แ […]
บอร์ด ESP32-P4 ขนาดเท่าบัตรเครดิตพร้อม Ethernet, WiFi 6, พอร์ต USB สี่ช่อง, GPIO header 40 พิน, และคอนเนกเตอร์ MIPI DSI และ CSI
บอร์ด Waveshare ESP32-P4-Module-DEV-KIT ขนาดเท่าบัตรเครดิตอาจดูเหมือนบอร์ด Raspberry Pi ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Linux แต่จริง ๆ แล้วใช้โมดูล “ESP32-P4-Module” ซึ่งประกอบด้วย Espressif ESP32-P4 เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ RISC-V ความเร็ว 400 MHz, ชิป ESP32-C6 ทำหน้าที่เป็น co-processor” สำหรับการเชื่อมต่อ WiFi 6 และ Bluetooth 5 พร้อมหน่วยความจำแฟลช SPI NOR ขนาด 16MB ออกแบบมาสำหรับแอปพลิเคชัน HMI (Human-Machine Interface) บอร์ดนี้มาพร้อมกับคอนเนกเตอร์ MIPI DSI และ CSI, พอร์ต Ethernet RJ45 ความเร็ว 100Mbps, พอร์ต USB 2.0 จำนวนสี่พอร์ต, GPIO header 40 พิน และอื่น ๆ โดยรวมแล้วบอร์ดนี้มีพอร์ตต่าง ๆ คล้ายกับบอร์ด Raspberry Pi SBC ยกเว้น HDMI แต่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์แทนโปรเซสเซอร์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ Linux สเปคของ Waveshare E […]
LILYGO T-Watch S3 Plus : สมาร์ทวอทช์ที่ใช้ ESP32-S3 พร้อมเพิ่มโมดูล GPS และแบตเตอรี่ขนาดใหญ่ขึ้น
LILYGO ได้เปิดตัว T-Watch S3 Plus เป็นสมาร์ทวอทช์ที่ใช้ชิป ESP32-S3 โดยเป็นรุ่นอัปเกรดจาก T-Watch S3, รุ่นก่อนหน้า ด้วยการเพิ่มโมดูล GPS u-blox MIA-M10Q และแบตเตอรี่ LiPo ขนาด 940mAh ที่ใหญ่ขึ้น เพื่ออายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ยาวนานกว่าเดิม T-Watch S3 Plus ยังคงรองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi, Bluetooth LE และ LoRa และมาพร้อมกับ หน้าจอสัมผัส TFT LCD สีเต็มขนาด 1.54 นิ้ว (16-bit) ที่ให้มุมมองกว้าง นอกจากนี้สมาร์ทวอทช์รุ่นนี้ยังมีวงจรตัวส่งสัญญาณอินฟราเรด ( infrared (IR) transmitter) ที่สามารถใช้สำหรับควบคุมอุปกรณ์ระยะไกลหรือการตรวจจับระยะใกล้ (proximity detection) สเปคของ T-Watch S3 Plus: Wireless MCU – Espressif Systems ESP32-S3 CPU – Dual-Core 32-bit Tensilica LX7 @ สูงสุด 240 MHz พร้อมคำสั่ง vector instructions สำหรั […]
Seeed Studio เปิดตัว XIAO 7.5″ ePaper Panel รองรับเฟิร์มแวร์ ESPHome และการเขียนโปรแกรมด้วย Arduino
Seeed Studio เปิดตัว XIAO 7.5″ ePaper Panel เป็นหน้าจอ ePaper ขนาด 7.5 นิ้วที่เชื่อมต่อกับบอร์ด XIAO ESP32-C3 พอร์ต USB-C โดยเน้นใช้งานในตลาดสมาร์ทโฮมเป็นหลัก พร้อมรองรับเฟิร์มแวร์ ESPHome นอกจากนี้หน้าจอ ePaper แบบขาวดำยังสามารถเขียนโปรแกรมผ่าน Arduino IDE ได้ เพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลายยิ่งขึ้น หน้าจอมีความละเอียด 800×400 พิกเซล และมาพร้อมแบตเตอรี่ขนาด 2,000mAh ที่สามารถใช้งานได้นานถึง 3 เดือนต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง (เมื่ออัปเดตข้อมูลทุกๆ 6 ชั่วโมง) ทาง Seeed Studio ระบุว่าหน้าจอนี้สามารถทำงานได้ในช่วงอุณหภูมิ -40°C ถึง 85°C จึงเหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง ตราบใดที่ไม่โดนฝนหรือน้ำฝุ่นโดยตรง พอร์ต USB-C ของโมดูล ESP32-C3 รวมถึงปุ่ม Boot และ Reset ก็สามารถเข้าถึงได้ง่าย เพื่อใช้สำหรับชาร์จแบตเตอรี่และโปรแกรมต […]
LILYGO T-Deck Pro – อุปกรณ์ส่งข้อความ LoRa ที่ใช้ ESP32-S3 พร้อมหน้าจอ e-paper แบบสัมผัส, คีย์บอร์ด และตัวเลือก 4G LTE หรือตัวแปลงสัญญาณเสียง
LILYGO T-Deck Pro เป็นอุปกรณ์ส่งข้อความ LoRa ที่ใช้ชิป ESP32-S3 ซึ่งรองรับ WiFi 4 และ Bluetooth 5.x มาพร้อมหน้าจอ e-paper ขนาด 3.1 นิ้วแบบสัมผัส, คีย์บอร์ด QWERTY สไตล์ Blackberry, โมดูล GPS, ลำโพง, ไมโครโฟน, ช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. รวมถึงเซ็นเซอร์ IMU และเซ็นเซอร์วัดแสง T-Deck Pro พัฒนาต่อยอดจากดีไซน์ของ T-Deck Plus แต่เปลี่ยนจากหน้าจอ IPS ขนาด 2.8 นิ้วมาเป็นหน้าจอ e-paper ขนาด 3.1 นิ้ว ทำให้ตัวเครื่องบางลงและช่วยให้แบตเตอรี่ใช้งานได้นานขึ้น โดยรุ่นใหม่จะใช้แบตเตอรี่ขนาดเล็กลงเหลือ 1,400 mAh, T-Deck Pro มีให้เลือก 2 รุ่น ได้แก่ รุ่นที่มาพร้อมโมเด็ม 4G LTE ของ Simcom และรุ่นราคาประหยัดที่ใช้ชิปแปลงสัญญาณเสียง (audio codec) PCM5102A สเปคของ LILYGO T-Deck Pro: SoC – ESP32-S3FN16R8 CPU – ไมโครคอนโทรลเลอร์ Tensilic […]
ESP LowCode Matter แยก System Firmware และ Application Firmware ออกจากกันเพื่อให้การพัฒนาอุปกรณ์ ESP32 ง่ายขึ้น
Espressif เปิดตัว ESP ZeroCode web application ในปี 2023 เพื่อสร้างเฟิร์มแวร์ที่ได้รับการรับรอง Matter สำหรับอุปกรณ์ ESP32 แบบกำหนดเอง แต่ถ้าคุณต้องการปรับแต่งแอปพลิเคชันเพิ่มเติม แต่ไม่มีงบประมาณหรือความจำเป็นในการจ้างทีมวิศวกรรมซอฟต์แวร์ ตอนนี้บริษัทได้เปิดตัว ESP LowCode Matter ESP LowCode Matter ยังคงความเรียบง่ายของ ESP ZeroCode ไว้เป็นส่วนใหญ่ แต่เพิ่มความสามารถในการปรับแต่งแอปพลิเคชันเพิ่มเติมได้ โดยไม่จำเป็นต้องใช้ ESP Matter SDK, ซึ่งต้องใช้ทักษะการเขียนโค้ดขั้นสูงในการพัฒนาเฟิร์มแวร์เอง ESP LowCode Matter แบ่งเฟิร์มแวร์ออกเป็นสองส่วนเพื่อให้ง่ายต่อการพัฒนา การบำรุงรักษา และกระบวนการรับรอง: System Firmware –ดูแลโดย Espressif รับผิดชอบโปรโตคอล Matter, สแต็กเครือข่ายไร้สาย, การอัปเดต OTA และการจัดการความ […]