LILYGO T-Vending เป็นบอร์ด ESP32-S3 WiFi และ Bluetooth IoT ที่ออกแบบมาสำหรับเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติหรือ ‘Vending Machine’ ที่มี Terminal Block RS485, ช่องเสียบ microSD card และรองรับโมดูลเซลลูลาร์ mPCIe (อุปกรณ์เสริม) จากที่เข้าใจบอร์ดนี้เชื่อมต่อกับเครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติผ่าน Terminal Block RS485 เพื่อควบคุมมอเตอร์ในการขายสินค้า (อาจจะผ่านบอร์ดเสริมเพิ่มเติมเพื่อควบคุมมอเตอร์หลายตัวพร้อมกัน) และคอนเนกเตอร์ Pin 10 ขาสำหรับไฟ (12V/24V), สัญญาณสำหรับการรับ/ส่งข้อมูลกับกลไกเหรียญและส่วนประกอบอื่น ๆ บอร์ดยังมีช่องเชื่อมต่อ Grove และ Pin-GPIO-header แบบโล้น 12 ขาสำหรับการขยาย สเปค T-Vending: ESP32-S3-WROOM-1 wireless module SoC – ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-S3FN16R8 dual-core Tensilica LX7 @ สูง […]
WeAct เปิดตัวบอร์ดพัฒนา ESP32-C6, การเปิดตัวเฟรมเวิร์ค ESP-IDF 5.1
Espressif ได้เปิดตัวเฟรมเวิร์ค ESP-IDF 5.1 พร้อมรองรับ ESP32-C6 และ ESP32-H2 ทำให้มีบอร์ด ESP32-C6 จำหน่ายมากขึ้น เช่น การเปิดตัว Olimex ESP32-C6-EVB เมื่อต้นสัปดาห์นี้, ทาง WeAct ก็เปิดตัวบอร์ดพัฒนา ESP32-C6 ราคาถูกเพียง $6.43(~220฿) บอร์ด WeAct ESP32-C6 บอร์ด WeAct รองรับการเชื่อมต่อ 2.4 GHz WiFi 6, Bluetooth LE 5.0. และ Zigbee/Thread ผ่านโมดูล ESP32-C6-WROOM-1, พอร์ต USB-C จำนวน 2 พอร์ต, Pin-headers GPIO 16 ขา ซึ่งเป็นไปตามการออกแบบอย่างเป็นทางการของชุดพัฒนา ESP32-C6-DevKitC-1 แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย สเปคบอร์ด WeAct ESP32-C6: Wireless module – ESP32-C6-WROOM-1 พร้อม ESP32-C6 single-core 32-bit RISC-V โอเวอร์คล็อกสูงสุด 160 MHz พร้อม ROM 320KB , SRAM 512KB, RISC-V core พลังงานต่ำ @ สูงสุด 20 MHz ไWi […]
บอร์ด nRF52840 Connect Kit รองรับการเชื่อมต่อ Bluetooth LE, NFC, Zigbee และ Thread
Makerdiary nRF52840 Connect Kit เป็นบอร์ดการพัฒนาที่ใช้ Nordic Semi nRF52840 ที่เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ไร้สายแบบ multiprotocol รองรับการเชื่อมต่อผ่าน Bluetooth Low Energy, Bluetooth Mesh, NFC, Thread, Zigbee, 802.15.4, ANT และและการเชื่อมต่อพิเศษ 2.4 GHz proprietary connectivity nRF52840 Connect Kit มาใน form factor ที่มีขนาดกะทัดรัดพร้อมพอร์ต USB-C สำหรับจ่ายไฟและโปรแกรม มี QSPI flash 64 Mbit, ระบบการจัดการพลังงานที่ยืดหยุ่น (Flexible power management) และมีคุณสมบัติมากมาย, Makerdiary ได้นำเสนอ 2 รุ่น รุ่นหนึ่งมีสายอากาศชิป (chip antenna) แ และอีกรุ่นหนึ่งมีสายอากาศ u.FL ภายนอก (external u.FL antenna) สเปค nRF52840 Connect Kit: SoC – Nordic nRF52840 Arm Cortex-M4F WiSoC @ 64 MHz พร้อม FLASH 1 MB และ RAM 256 kB, […]
Toshiba “MH3 Group (2)” : Arm Cortex-M3 MCU รองรับการอัปเดตเฟิร์มแวร์ร์โดยไม่ขัดจังหวะการทำงาน
Toshiba “MH3 Group (2)” เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ Arm Cortex-M3 มีหน่วยความจำแฟลช 1MB ที่การแบ่งเป็นสองพาร์ทิชัน (Partition) ขนาด 512KB เพื่อให้สามารถอัปเดตเฟิร์มแวร์ได้โดยไม่ขัดจังหวะการทำงาน (Interrupting operation) ของไมโครคอนโทรลเลอร์โดยใช้ฟังก์ชันการสลับพาร์ทิชันเพื่อหมุนไปยังเฟิร์มแวร์ใหม่ได้อย่างราบรื่น M3H Group (2) ได้พัฒนาจาก M3H Group(1) โดยขยายหน่วยความจำแฟลชสำหรับโค้ดไปถึง 1MB และเพิ่มความจุ RAM จาก 66KB เป็น 130KB ทั้งคู่อยู่ในตระกูล “TXZ+ Family Advanced Class” ที่ผลิตด้วยกระบวนการ 40nm พร้อม Arm Cortex-M3 core ความเร็ว 120 MHz รวมถึงอินเทอร์เฟสและตัวเลือกการควบคุมมอเตอร์ต่างๆ เช่น UART, I2C, Advanced Encoder Input Circuit และ Advanced Programmable Motor Control Circuit คุณสมบัติและสเปค Toshiba MH3 G […]
Qualcomm 212S และ 9205S : Satellite IoT modem สำหรับตรวจสอบอุปกรณ์จากระยะไกลและระบบติดตามตำแหน่งอุปกรณ์
Qualcomm เปิดตัว Qualcomm 212S และ Qualcomm 9205S เป็น Satellite IoT modem ที่พัฒนาร่วมกับ Skylo, ผู้ให้บริการ NTN เพื่อให้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT กับเครือข่ายดาวเทียมและเครือข่าย Cellularสำหรับแอปพลิเคชันตรวจสอบอุปกรณ์จากระยะไกล (Remote monitoring) และระบบติดตามตำแหน่งอุปกรณ์ (Asset tracking) เมื่อต้นปี Qualcomm ได้เปิดตัว Snapdragon Satellite การส่งข้อความแบบ two-way บนสมาร์ทโฟน แต่ตอนนี้บริษัทได้ขยายการใช้การเชื่อมต่อข้อมูลผ่านดาวเทียมด้วยโมเด็ม Qualcomm 212S และ 9205S ที่ได้รับการปรับแต่งเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน ที่ใช้ NTN (Non-Terrestrial Networks) Qualcomm 212S Satellite IoT modem สเปค Qualcomm 212S (QCX212S) modem CPU – Arm Cortex-M3 CPU @ สูงสุด 204 MHz การเชื่อมต่อ Cellular เทคโนโลยี Cellular – R […]
รีวิว Link.ONE ชุดพัฒนา IoT แบบ all-in-one รองรับการเชื่อมต่อ LTE-M, NB-IoT และ LoRaWAN
บริษัท RAKwireless ได้ออกผลิตภัณท์ใหม่ในชื่อ Link.ONE ออกแบบมาเพื่อให้เป็นบอร์ดพัฒนาอุปกรณ์ IoT ด้วยโปรแกรม Arduino IDE แบบ all-in-one รองรับการเชื่อมต่อ LTE-M, NB-IoT และ LoRaWAN อยู่ในอุปกรณ์เดียวกัน ครอบคลุมเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระยะไกลที่ใช้พลังงานต่ำ (LPWAN : Low Power Wide Area Network) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เราสามารถเลือกใช้ช่องทางหลักในการสื่อสารไร้สาย และกำหนดช่องทางสื่อสารไร้สายสำรองเอาไว้ให้พร้อม เมื่อใดที่ช่องทางสื่อสารหลักใช้งานไม่ได้ เราก็สามารถเปลี่ยนไปใช้ช่องทางสำรองแทนได้ เป็นผลทำให้อุปกรณ์ IoT จะยังคงสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้อยู่ตลอดเวลา Features Link.ONE เป็นการนำเอาบอร์ด มาใส่ในกล่อง WisBlock Unify Enclosure ขนาด 100 x 75 x 38 mm. พร้อมลิเธียมแบตเตอร์แบบชาร์จได้ 3.7 Volts ความจุ 3200 mAh […]
Particle เปิดตัว Photon 2 : บอร์ด IoT dual-band WiFi และ BLE ใช้ชิป Realtek RTL8721DM และเปิดตัวโมดูล Particle P2
Particle ได้เปิดตัว Photon 2 เป็นบอร์ด IoT dual-band WiFi และ BLE ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Realtek RTL8721DM Arm Cortex-M33 ความเร็ว 200 MHz และยังเปิดตัวโมดูล Particle P2 ที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถนำไปใช้งานร่วมกับผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ บอร์ด IoT WiFi “Spark Photon” รุ่นเดิมเปิดตัวในปี 2014 ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32 และโมดูลสื่อสารไร้สาย BCM43362 แต่ตลาดและการเปลี่ยนชื่อบริษัทได้เปลี่ยนแปลงไป และตอนนี้ Particle ได้เปิดตัวบอร์ด Photon 2 และโมดูล P2 ที่ทันสมัยกว่าเดิม ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ Cortex-M33 WiFi & BLE พร้อมรองรับคุณลักษณะด้านความปลอดภัย เช่น Arm TrustZone สเปค Particle Photon 2 : Wireless MCU – Realtek RTL8721DM CPU – Arm Cortex-M33 core @ 200 MHz หน่วยความจำ – embedded SRAM 4.5MB ซึ่งมี 3072 KB ( […]
Broadcom เปิดตัวชิปเซ็ต WiFi 7 รุ่นที่ 2: BCM6765, BCM47722, BCM4390
Broadcom ได้ประกาศเปิดตัวชิปเซ็ตรับสัญญาณ WiFi 7 รุ่นที่ 2: ซึ่งประกอบด้วย: BCM6765 ชิปเซ็ต WiFi 7 สำหรับ access point ตามบ้าน, BCM47722 ชิปเซ็ต WiFi 7 สำหรับ access point องค์กร ที่มี dual IoT radios ที่รองรับการทำงานร่วมกันกันสำหรับ Bluetooth Low Energy (BLE), Zigbee, Thread, และ Matter protocols, และ BCM4390 ชิปเซ็ตคอมโบที่มีการใช้พลังงานต่ำสำหรับ Wi-Fi 7, Bluetooth และ 802.15.4 ที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น สมาร์ทโฟน Broadcom ได้เปิดตัวชิปเซ็ต WiFi 7 ตัวแรกเมื่อเดือนเมษายน 2565 ซึ่งประกอบด้วยชิปเซ็ต WiFi 7 สำหรับ access point ตามบ้านและองค์กรและชิปเซ็ต WiFi 7 client แต่ชิปเซ็ตรุ่นที่สองเพิ่มรองรับการทำงาน 2-stream Wi-Fi 320 MHz และเพิ่มคุณสมบัติพิเศษ และชิปเซ็ต BCM4390 ได้ปรับลดต้นทุนในการน […]