Arduino Opta เป็น Micro PLC สำหรับการใช้งาน IoT ทางอุตสาหกรรม

Arduino Opta micro PLC

Arduino ได้เปิดตัว Opta micro PLC ที่มีความสามารถด้าน IoT ทางอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นการเพิ่มโซลูชันใหม่ให้กับตระกูล Arduino Pro Arduino เคยให้ความสำคัญกับกลุ่มมือสมัครเล่น ผู้เริ่มต้นศึกษา  แต่ด้วยการเปิดตัวตระกูล Arduino Pro ในปี 2563 โดยเริ่มจากบอร์ด Portenta H7 บริษัทจึงเปลี่ยนมุ่งตลาดหลักไปที่องค์กรที่ให้ผลกำไรมากกว่า ตั้งแต่นั้นมาพวกเขาได้เปิดตัวบอร์ดอื่นๆ อีกหลายตัวที่ออกแบบเอง และในปีที่ผ่านมาก็เริ่มทำงานร่วมกันบนเกตเวย์ Arduino WisGate Edge LoRaWAN ที่ใช้ฮาร์ดแวร์ RAKwireless Arduino Opta เป็นอีกหนึ่งความร่วมมือที่ได้รับการออกแบบด้วย Finder ซึ่งพวกเขาเรียกอุปกรณ์นี้ว่า PLR (Programmable Logic Relays) คุณสมบัติและสเปคของ Arduino Opta: MCU – ไมโครคอนโทรลเลอร์ STMicroelectronics STM32H747XI พร้อม Arm Cortex-M7 […]

โมดูล ESP-ZeroCode ที่เข้ากันได้กับ Matter ใช้งานกับระบบอัตโนมัติ

ESP ZeroCode modules

Espressif Systems เพิ่งเปิดตัว โมดูล ESP-ZeroCode ที่เข้ากันได้กับ Matter พร้อมการเชื่อมต่อไร้สาย Wi-Fi และ/หรือ Thread (802.15.4) ที่ได้รับการออกแบบให้เป็นโซลูชันต่อแล้วใช้ (Plug-and-play) สำหรับไฟ LED, เต้ารับ, สวิตช์, สวิตช์หรี่ไฟ, รีเลย์, พัดลม และอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างอื่นๆ ฉันเพิ่งได้กล่าวถึงการเขียนโปรแกรมแบบไม่ใช้โค้ดในบทความของ Ninephon Kongangkab ซึ่งอธิบายถึง SenseCraft เฟิร์มแวร์แสดงผลเซ็นเซอร์โดยไม่ใช้โค้ดบน Wio Terminal  โดยพื้นฐานแล้ว ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ Arduino, MicroPython หรือภาษาการเขียนโปรแกรมใดๆ เนื่องจากผู้ใช้สามารถกำหนดค่าอุปกรณ์ IoT ให้ตรงกับความต้องการของตนเองได้เพียงแค่กดปุ่มไม่กี่ปุ่ม, Espressif ได้เสนอสิ่งที่คล้ายกันกับชิป ESP32 หลายตัวผ่านโมดูล ESP-ZeroCode โมดูล ESP-ZeroCode แรกจะ […]

Everactive เปิดตัวชุดพัฒนา IoT แบบไม่ต้องใช้แบตเตอรี่โดยใช้โปรโตคอล Evernet

batteryless IoT devkit

Everactive ได้เปิดตัวชุดพัฒนา IoT ที่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่รี่ซึ่งช่วยให้วิศวกรประเมินโซลูชันการเก็บเกี่ยวพลังงาน (energy harvesting) ที่ประหยัดพลังงานมากเป็นพิเศษและโปรโตคอลไร้สายของ Evernet สำหรับ Internet of Things “Hyperscale” ชุดอุปกรณ์จาก Everactive นี้ประกอบด้วยเซ็นเซอร์สภาพแวดล้อมสองตัว (ENV+ Eversensor) และตัวรวบรวมเซลล์แสงอาทิตย์ (Photovoltaic) ที่มีแสงน้อย, USB Evergateway และบัญชีคอนโซลนักพัฒนาซอฟต์แวร์ Everactive หลายบัญชี ซึ่งส่วนใหญ่ใช้สำหรับการแสดงข้อมูลเป็นภาพ (data visualization) ENV+ Eversensor ติดตั้งเซ็นเซอร์อุณหภูมิ, ความชื้น และความดัน เช่นเดียวกับมาตรความเร่งแบบ 3 แกน (3-axis accelerometer) และสามารถรองรับ Evernet IoT protocol อุปกรณ์นี้ไม่ได้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ อาศัยเซลล์แสง […]

LILYGO T7-S3 : บอร์ด ESP32-S3 พร้อมแฟลช 16MB, PSRAM 8MB, รองรับแบตเตอรี่ LiPo ราคาถูกกว่า $10 (370฿)

LILYGO T7 S3 ESP32 S3 development board

LILYGO ได้เปิดตัวบอร์ดพัฒนา ESP32-S3 คือ T7-S3 ที่มาพร้อมกับโมดูล ESP32-S3-WROOM-1 พร้อมแฟลช 16MB, PSRAM 8MB และสายอากาศอยู่บนแผ่น PCB บอร์ดจิ๋ว มีขนาด 3.9×3.1 ซม. สามารถจ่ายไฟผ่านพอร์ต USB-C หรือแบตเตอรี่ LiPo พร้อมรองรับการชาร์จ และมีรูทะลุ 40 ช่อง พร้อมขั้วต่อ Qwicc/QT I2C สำหรับขยาย สเปคของ LILYGO T7-S3 : โมดูลไร้สาย – โมดูล ESP32-S3-WROOM-1-N16R8 พร้อม SoC – โปรเซสเซอร์ Espressif ESP32-S3 dual-core Xtensa LX7  @ สูงถึง 240 MHz คำสั่งเวกเตอร์เพื่อเร่งความเร็ว AI (accelerator), 512 KB SRAM, WiFi 4 และ Bluetooth 5.0 LE & การเชื่อมต่อแบบ หน่วยความจำ – PSRAM 8MB ที่เก็บข้อมูล – SPI Flash16MB USB – พอร์ต USB Type-C การขยาย ส่วนหัว 2x 20 พิน  พร้อม GPIO สูงสุด x 29, ADC x 20, UART, SPI, อินเทอร์เฟซแบบสั […]

รีวิว การใช้งาน SONOFF NSPanel Pro กับโมดูล Zigbee, กล้อง CAM Slim

Sonoff NSPanel Pro Stand Zigbee Sensors Camera

ระบบ Smart Home หรือ บ้านอัจฉริยะ เป็นใช้เทคโนโลยี IoT หรือ Internet of Things มาประยุกต์ใช้ในบ้าน ที่เชื่อมต่อกันระหว่างอินเตอร์เน็ตกับเครื่องใช้ภายในบ้านที่มีอุปกรณ์ฝังตัว และระบบเซ็นเซอร์ โดยควบคุมผ่านการควบคุมอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านแอปพลิเคชันบนสมาร์ทโฟน เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้อยู่อาศัยและสร้างความปลอดภัยภายในบ้านด้วย ITEAD ได้ส่งชุดอุปกรณ์สมาร์ทโฮมมาให้เรารีวิวทั้ง แผงควบคุม SONOFF NSPanel Pro, เคสตั้งโต๊ะ, กล้อง CAM Slim WiFi และโมดูล Zigbee 4 ตัว ได้แก่ SNZB-01 Wireless Switch, SNZB-02 Temperature และ Humidity Sensor, SNZB-03 Motion Sensor และ SNZB-04 Wireless Door/Window Sensor ในการรีวิวนี้ เราจะเริ่มจากการแกะกล่องและเริ่มใช้งาน SONOFF NSPanel Pro ตั้งค่าในแอปพลิเคชัน eWelink ใน Android, การเพิ่มอุปกร […]

Unexpected Maker เปิดตัว TinyS3, FeatherS3 และ ProS3 ที่ใช้ ESP32-S3 dual-core

Unexpected Maker TinyS3 FeatherS3 ProS3

Seon Rozenblum หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ Unexpected Maker ได้เปิดตัวการอัปเกรด ESP32-S2 (เช่น บอร์ด TinyS2) เป็น ESP32-S3 ได้แก่ บอร์ด TinyS3, FeatherS3 และ ProS3 บอร์ดใหม่นี้ใช้ฟอร์มแฟคเตอร์เดียวกันกับ TinyS2, FeatherS2 และ ProS2 แต่มีไมโครคอนโทรลเลอร์แบบดูอัลคอร์ที่ทรงพลังกว่าพร้อมคำสั่ง AI และ SRAM ขนาด 512kB ยังเพิ่มการเชื่อมต่อ Bluetooth 5.0 Low Energy (BLE) และรองรับ Bluetooth Mesh ไม่ใช่แค่การเชื่อมต่อ WiFi 4 บนบอร์ดรุ่นก่อนหน้า บอร์ด TinyS3, FeatherS3 และ ProS3 มีสเปคดังนี้: SoC – ESP32-S3 ของ Espressif Systems พร้อม ไมโครคอนโทรลเลอร์ Xtensa LX7 Dual-core 32 บิต ความเร็วสูงสุดอยู่ที่  240MHz ตัวประมวลผลร่วมที่รัน RISC-V ULP 512KB SRAM 2.4GHz Wifi 4 (802.11b/g/n) บลูทูธ 5.0 BLE + Mesh หน่วยความจำ – QSPI P […]

ESP32 DevKitC V4 บอร์ดพัฒนาติดตั้งที่โมดูล ESP32-WROOM-DA มีเสาอากาศคู่

ESP WROOM DA development board

ขณะนี้ ESP32 DevKitC V4 จำหน่ายพร้อมติดตั้งโมดูล ESP32-WROOM-DA พร้อมเสาอากาศ  PCB 2 ที่อันที่เปิดตัวปีที่แล้ว เพื่อช่วยเพิ่มเสถียรภาพของการเชื่อมต่อและช่วง WiFi ที่ไกลขึ้น บอร์ดพัฒนานี้เหมือนกับรุ่น ESP32 DevKitC V4 อื่นๆ ทุกประการ และความแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือการออกแบบเสาอากาศคู่ เมื่อใช้งาน Arduino Core เวอร์ชันล่าสุดสำหรับ ESP32 (2.0.3 ขึ้นไป) ESP32 จะสลับไปยังเสาอากาศที่มีสัญญาณแรงที่สุดโดยอัตโนมัติ เพื่อให้ได้การเชื่อมต่อที่ดีที่สุด สเปคของ ESP32 DevKitC V4: Wireless module – ESP32-WROOM-DA (ข้อมูล PDF) พร้อม SoC –  Espressif Systems ESP32-D0WD-V3 dual-core LX6 microprocessor  พร้อม SRAM 520 KB, การเชื่อมต่อ 2.4 GHz WiFi 4 และ Bluetooth 4.1 Storage – หน่วยความจำ SPI Flash ขนาด 8 MB เสาอากาศ PCB 2 […]

SenseCraft เฟิร์มแวร์ตัวใหม่แสดงผลเซ็นเซอร์โดยไม่ต้องเขียนโค้ด

voc

อ้างอิงจากรีวิว SenseCAP K1100 Sensor Prototype ด้วย LoRaWAN และ Vision AI ผู้เขียนได้เสนอแนะไว้ในบทสรุปความคิดเห็นส่วนตัว ประโยคหนึ่งกล่าวว่า “หากทางบริษัท SeeedStudio พัฒนา Firmware ตัวใหม่ออกมาที่สามารถเชื่อมต่อโดยไม่ต้อง Coding ก็จะดีมากๆ” มาบัดนี้สิ่งที่คาดหวังไว้ก็กลายเป็นจริงซะที เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 ทางบริษัท SeeedStudio ได้พัฒนาเฟิร์มแวร์ภายใต้โครงการชื่อว่า SenseCraft – The Project of No-Code Smart Sensor Builder เป็นการใช้งานบอร์ด Wio Terminal ร่วมกับ Grove Module ต่างๆ โดยไม่ต้องเขียนโค้ดแต่อย่างใด เราจะมาลองทดสอบเฟิร์มแวร์ SenseCraft ตัวใหม่นี้ด้วยกันครับ ปุ่มควบคุมทิศทางของ SenseCraft ใช้ Joy Stick ควบคุม 4 ทิศทาง ดังนี้ 1. Left : เลื่อนไปทางซ้าย 2. Right : เลื่อนไปทางขวา […]