I-Pi SMARC Amston Lake ชุดพัฒนาที่ใช้ SoC Intel Atom x7433RE, LPDDR5 8GB, GPIO headers ของ Raspberry Pi สองชุด

I Pi SMARC Amston Lake devkit

I-Pi SMARC Amston Lake ของ ADLINK เป็นชุดพัฒนาแบบไม่มีพัดลม (fanless) ที่ใช้โมดูล (system-on-module) SMARC 2.1 พร้อม SoC Intel Atom X7433RE แบบ Quad-core, หน่วยความจำ LPDRR5 8GB และ eMMC flash สูงสุด 256GB และยังมี carrier board ที่มาพร้อม 2.5GbE แบบคู่พร้อม TSN, GPIO headers ที่รองรับ Raspberry Pi จำนวน 2 ชุด, และอินเทอร์เฟสอื่น ๆ มากมาย ประกอบด้วยอินเทอร์เฟสการแสดงผล: 4-lane MIPI DSI, HDMI, eDP, และ dual-channel LVDS, อินเทอร์เฟสกล้อง MIPI CSI 2 ช่อง, เสียง: ช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม., USB: พอร์ต USB Type-A จำนวน 4 พอร์ต, การขยาย: สล็อต PCIe M.2 จำนวน 3 สล็อต สำหรับที่เก็บข้อมูล, การเชื่อมต่อไร้สาย, และการเชื่อมต่อเซลลูลาร์ สเปคของชุดพัฒนา I-Pi SMARC Amston Lake: โมดูล LEC-ASL SMARC 2.1 Amston Lake SoC – โปรเ […]

Rockchip RK3588 กับการรองรับ Mainline Linux – สถานะปัจจุบันและอนาคตสำหรับปี 2025

Rockchip RK3588 mainline linux status

Rockchip RK3588 เป็นหนึ่งในชิป Arm SoC ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับคอมพิวเตอร์บอร์ดเดียว (SBC) และแม้ว่าจะมีความคืบหน้าที่ดีในด้านการรองรับ u-boot และ Linux mainline แต่ชิป SoC นี้มีความซับซ้อนสูง ทำให้ต้องใช้เวลานานในการพัฒนาและปรับปรุง แม้ว่า SoC จะเปิดตัวครั้งแรกในปี 2020 และ SBC ที่ใช้ Rockchip RK3588 SBC เปิดตัวครั้งแรกในปี 2022 ในขณะที่ชิป SoC Rockchip RK3566 และ RK3568 จะใช้ง่ายกว่าเพราะมีการรองรับ Mainline Linux ที่ค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว แต่สำหรับ RK3588 ยังต้องการการพัฒนามากขึ้นโดยเฉพาะการ upstream code และตามที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้ในโพสต์และความคิดเห็นต่าง ๆ โดย Collabora ได้ติดตามสถานะการพัฒนาผ่าน Gitlab และบริษัทเพิ่งเผยแพร่บทความเกี่ยวกับความคืบหน้าและแผนงานในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับการรองรับ Linux […]

บอร์ด STM32MP135 Pico-ITX SBC ใช้โมดูลซีพียูของ EBYTE ขนาด 38×32 มม. พร้อม RAM 512MB และ NAND flash 512MB

EBYTE STM32MP135 Cortex-A7 Pico-ITX single board computer

EBYTE ECB10-135A5M5M-I เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดียว (SBC) แบบ pico-ITX ที่ใช้โมดูลซีพียูขนาดเล็ก STM32MP135 Arm Cortex-A7 ของบริษัท EBYTE มาพร้อมกับหน่วยความจำ DDR3L ขนาด 512MB, NAND Flash ขนาด 512MB, Gigabit Ethernet PHY, และวงจรจ่ายไฟในตัว บอร์ด SBC เกรดอุตสาหกรรมมาพร้อมกับพอร์ต RGB และ HDMI 2.0 รองรับความละเอียดสูงสุด 1366×768, แจ็คเสียง 3.5 มม. Line in และ Line out, คอนเนกเตอร์ USB หลายจุดและพอร์ตขยาย “UIO” สองชุดรองรับ RS485, RS485, CAN Bus, GPIO และขา I/O อื่นๆ คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้บอร์ดเหมาะสำหรับการใช้งานในระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม เมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) เทอร์มินัลสำหรับแสดงผลและควบคุม รวมถึงการใช้งานในงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ สเปคของ EBYTE ECB10-135A5M5M-I: โมดูลหลัก EBYTE ECK10-135A5M5M-I C […]

Radxa Orion O6 : เมนบอร์ด mini-ITX ที่ใช้ SoC Cix P1 12-core Armv9 พร้อม AI accelerator 30 TOPS

Radxa Orion 06 Armv9 mini-ITX motherboard

Radxa Orion O6 เป็นเมนบอร์ดขนาด mini-ITX ที่ใช้สถาปัตยกรรม Arm พร้อมประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ Apple M1 และ Qualcomm 8cs Gen3 เนื่องจากใช้โปรเซสเซอร์ Cix P1 แบบ 12 คอร์ที่ใช้สถาปัตยกรรม Armv9 โดยมี Cortex-A720 จำนวน 4 คอร์ที่ความเร็ว 2.8 GHz,  Cortex-A720 จำนวน 4 คอร์ที่ความเร็ว 2.4 GHz และ Cortex-A520 แบบประหยัดพลังงานอีก 4 คอร์ที่ความเร็ว 1.8 GHz นอกจากนี้ชิป SoC Cix P1 ยังมี GPU Arm Immortalis-G720 สำหรับประมวลผลกราฟิกและ AI, AI accelerator ที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด 30 TOPS และเมื่อรวมกับ GPU จะมีประสิทธิภาพ AI inference รวมสูงสุดถึง 45 TOPS รองรับการถอดรหัสวิดีโอ 8Kp60 และการเข้ารหัสวิดีโอ 8Kp30, บอร์ด Orion O6 SBC มาพร้อมหน่วยความจำ LPDDR5 สูงสุด 64GB, มีพอร์ต HDMI 2.0 ความละเอียด 4Kp60, คอนเนกเตอร์ DP 1.4 ความ […]

Orange Pi CM5 “Tablet” Base Board : เปลี่ยน Ethernet เป็น WiFi 5, เพิ่มรองรับแบตเตอรี่, ช่อง M.2, GPIO header 26 ขา

Orange Pi CM5 Tablet Base Board

Orange Pi CM5 เปิดตัวเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เป็นทางเลือกแทน Raspberry Pi CM4/CM5 ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Rockchip RK3588S octa-core Cortex-A76/A55, หน่วยความจำแรม LPDDR4 สูงสุด 16GB และ eMMC flash 256GB และตัวเชื่อมต่อบอร์ดต่อบอร์ด 3 ตัวที่ยังคงความเข้ากันได้บางส่วนกับ Raspberry Pi Compute Module 4 และในตัอนนั้น Orange Pi ยังได้เปิดตัว Orange Pi CM5 Base Board เป็นบอร์ดฐานที่มาพร้อมพอร์ต HDMI 2.1, พอร์ต Gigabit Ethernet 1 ช่อง, พอร์ต 2.5GbE 2 ช่อง, พอร์ต USB 3.0/2.0, พอร์ตเชื่อมต่อกล้อง 4 ตัวและอื่นๆ ตอนนี้บริษัทได้เปิดตัว Orange Pi CM5 “Tablet” Base Board ซึ่งไม่มีพอร์ต Ethernet และใช้ WiFi 5 และ Bluetooth 5.0 แทนในการเชื่อมต่อเครือข่าย แผงวงจรนี้ยังคงมีฟีเจอร์หลายอย่างเหมือนเดิม แต่เพิ่ม GPIO header 26 พิน, ซ็อ […]

NVIDIA Jetson Orin Nano Super Developer Kit – ราคาลดลงครึ่งหนึ่ง ประสิทธิภาพ Generative AI เพิ่มขึ้น 1.7 เท่า

NVIDIA Jetson Orin Nano Super Development Kit

NVIDIA Jetson Orin Nano Super Developer Kit เป็นการอัปเกรดจาก Jetson Orin Nano Developer Kit ด้วยประสิทธิภาพด้าน Generative AI ที่เพิ่มขึ้นถึง 1.7 เท่า พร้อมประสิทธิภาพโดยรวมที่เพิ่มขึ้น 70% เป็น 67 INT8 TOPS และราคาลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง ทำให้เป็นแพลตฟอร์มการพัฒนาที่ยอดเยี่ยมสำหรับ Generative AI บนอุปกรณ์ปลายทาง (Edge) โดยเฉพาะในงานหุ่นยนต์ ในปีที่ผ่านมา เราได้เห็น AI box และบอร์ด AI หลายตัวที่รองรับการใช้งาน Generative AI แบบออฟไลน์ เช่น เมนบอร์ด Firefly AIO-1684XQ หรือ Radxa Fogwise Airbox ซึ่งเราเคยรีวิวร่วมกับแอปพลิเคชั่นอย่าง Llama3, Stable diffusion และ Imgsearch โดย Fogwise Airbox ให้ประสิทธิภาพสูงสุดที่ 32 TOPS (INT8) และขายในราคาประมาณ $330(~11,000฿) ซึ่งถือว่าแข่งขันได้ดีในเวลานั้น (มิถุนายน 2024) อย่าง […]

วิธีใช้ iperf3 ในโหมดมัลติเธรดสำหรับทดสอบ Ethernet ความเร็ว 10Gbps+

iperf3 10GbE multi thread test

ด้วยการที่ 10GbE เริ่มแพร่หลายมากขึ้นและมักพบในฮาร์ดแวร์ระดับ entry-level อาจเกิดปัญหา CPU คอขวด หรือ CPU Bottleneck ดังนั้นเราจะแนะนำวิธีใช้ iperf3 ในโหมดมัลติเธรด (multi-thread) เพื่อให้สามารถใช้แบนด์วิดท์ 10GbE ได้อย่างเต็มที่ แม้จะใช้ระบบที่มีโปรเซสเซอร์ multi-core ระดับเริ่มต้นก็ตาม ตอนนี้เรากำลังรีวิวมินิพีซี iKOOCORE R2 Max มาพร้อมกับพอร์ต 10GbE สองช่อง และซีพียู Intel Processor N100 แบบ quad-core ระดับ entry-level เรามีมินิพีซี R2 Max ที่เกือบเหมือนกันสองเครื่อง: เครื่องหนึ่งไม่มีพัดลม ใช้ OpenWrt fork (QWRT) ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ และอีกเครื่องมีระบบระบายความร้อนแบบแอคทีฟ รัน Proxmox VE โดยไม่มี Guest OS เมื่อได้ทดสอบความเร็วการอัปโหลดด้วย iperf3 ความเร็วอยู่ที่ 9.41 Gbps ซึ่งถือว่าดี แต่ความเร็วในกา […]

รีวิวแกะกล่อง Raspberry Pi Development Kit for CM5 (Part 1)

Raspberry Pi Development Kit for CM5 Raspberry Pi OS

Raspberry Pi ได้เปิดตัว Compute Module 5 (CM5) และทางบริษัทได้ส่งชุดพัฒนา “Raspberry Pi Development Kit for CM5” มาให้เราได้รีวิวและทดลองใช้งานโมดูล Broadcom BCM2712 รุ่นใหม่ ซึ่งมาแทนที่ Raspberry Pi Compute Module 4 (CM4) ที่เปิดตัวไปเมื่อปี 2020 วันนี้เราจะมาแกะกล่องและดูชุดพัฒนาเบื้องต้น โดยเริ่มจากการตรวจสอบฮาร์ดแวร์ การเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริม การบูตเข้าสู่ระบบปฏิบัติการ Raspberry Pi OS และการเก็บข้อมูลระบบพื้นฐาน ทั้งนี้ ซึ่งจะทำการรีวิวเชิงลึกในบทความต่อไป แกะกล่อง Raspberry Pi Development Kit for CM5 เราได้รับชุดพัฒนาในกล่องที่มีข้อความระบุว่า “Raspberry Pi Development Kit” และ “For Raspberry Pi CM5” ด้านล่างของกล่องมีการระบุรายการอุปกรณ์ในชุด ซึ่งเราจะทำการตรวจสอบ พร้อมทั้งลิงก์ไปยังเอกสารประกอบ มาดูกันว […]