Zant – SDK แบบโอเพ่นซอร์สที่ใช้ภาษา Zig สำหรับการใช้งาน Neural Network บนไมโครคอนโทรลเลอร์

Zant neural network deployment microcontrollers

Zant เป็น SDK แบบโอเพ่นซอร์สที่รองรับหลายแพลตฟอร์ม พัฒนาโดยใช้ภาษา Zig และออกแบบมาเพื่อทำให้การใช้งาน Neural Network (NN) บนไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นเรื่องง่ายขึ้น โดยประกอบด้วยชุดเครื่องมือสำหรับนำเข้า ปรับแต่ง และปรับใช้ Neural Network  บนฮาร์ดแวร์ระดับล่าง ทีมพัฒนาของโครงการสร้าง Zant (เดิมชื่อ Zig-ant) ขึ้นมา หลังจากพบว่าไมโครคอนโทรลเลอร์หลายรุ่นขาดไลบรารีสำหรับ deep learning ที่มีประสิทธิภาพ จึงออกแบบให้รองรับหลายแพลตฟอร์ม เช่น ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช้สถาปัตยกรรม ARM Cortex-M, RISC-V หรือแม้แต่แพลตฟอร์ม x86 แตกต่างจากแพลตฟอร์มอย่าง Edge Impulse ที่เน้นการสร้างเครือข่าย, Zant มุ่งเน้นไปที่การนำไปใช้งานจริง โดยให้ผลลัพธ์เป็นไลบรารีแบบสแตติก (static) ที่ได้รับการปรับแต่งอย่างสูง พร้อมสำหรับการผสานรวมเข้ากับระบบงาน […]

Arm Cortex-A320 ซีพียูพลังงานต่ำที่เล็กที่สุดบนสถาปัตยกรรม Armv9 สำหรับ SoC ในงานด้าน Edge AI และ IoT

Arm Cortex-A320

Arm Cortex-A320 เป็นคอร์ซีพียู Armv9 แบบพลังงานต่ำที่ได้รับการปรับแต่งสำหรับนำมาใช้งานด้าน Edge AI และ IoT โดยมีประสิทธิภาพ efficiency ดีขึ้นสูงสุดถึง 50% เมื่อเทียบกับคอร์ซีพียู Cortex-A520 และเป็นคอร์ Armv9 ที่มีขนาดเล็กที่สุดที่เปิดตัวจนถึงปัจจุบัน สถาปัตยกรรม Armv9 เปิดตัวครั้งแรกในปี 2021 โดยมุ่งเน้นไปที่ AI และคอร์ประมวลผลเฉพาะทาง ตามมาด้วยการเปิดตัวคอร์ Armv9 รุ่นแรก ได้แก่ Cortex-A510, Cortex-A710, Cortex-X2  ในปีเดียวกัน ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์มือถือระดับเรือธง นับตั้งแต่นั้นมา คอร์ Armv9 ได้ถูกนำมาใช้ในสมาร์ทโฟนหลากหลายรุ่น, เมนบอร์ด Armv9 ระดับไฮเอนด์ และกล่องทีวี,ล่าสุด Rockchip RK3688 AIoT SoC ที่กำลังจะเปิดตัวก็ใช้สถาปัตยกรรม Armv9 แต่ถูกออกแบบมาสำหรับแอปพลิเคชันระดับสูง ขณะที่ Arm Cortex-A32 […]

LLMStick – อุปกรณ์ AI และ LLM ในรูปแบบ USB Stick ที่ใช้ Raspberry Pi Zero W สามารถทำงานร่วมกับ llama.cpp ได้

LLMStick

Binh Pham ยูทูบเบอร์และผู้ที่หลงใหลในเทคโนโลยี ได้สร้างอุปกรณ์ AI และ LLM แบบพกพาในรูปแบบ USB stick ชื่อว่า LLMStick โดยใช้ Raspberry Pi Zero W อุปกรณ์นี้นำเสนอแนวคิดของ LLM แบบ Plug-and-Play ที่สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต หลังจากที่ DeepSeek ได้สร้างความฮือฮาด้วยประสิทธิภาพและการเข้าถึงแบบโอเพ่นซอร์ส เราได้เห็นเครื่องมือเช่น Exo ที่ช่วยให้สามารถรันโมเดลภาษาใหญ่ (LLMs) บนกลุ่มอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และบอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (SBC) โดยการกระจายภาระการประมวลผลอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ Radxa ยังได้ออกคำสั่งในการรัน DeepSeek R1 (Qwen2 1.5B) บน บอร์ด SBC ที่ใช้ Rockchip RK3588 มี NPU 6 TOPS Pham ตั้งใจที่จะใช้โปรเจ็กต์ llama.cpp เนื่องจากได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับอุปกร […]

หุ่นยนต์แขนกลของ Waveshare ที่ใช้ ESP32 พร้อม 5+1 DoF รองรับ ROS2, LeRobot และการเชื่อมต่อกับ Jetson Orin NX

RoArm-M3-Pro and RoArm-M3-S High Torque Serial Bus Servo Robotic Arm Kit

Waveshare ได้เปิดตัว RoArm-M3-Pro และ RoArm-M3-S ซึ่งเป็นชุดหุ่นยนต์แขนกลที่ใช้ ESP32 มีแรงบิดสูงและองศาอิสระ 5+1 (5+1 DOF) โดยความแตกต่างหลักระหว่างทั้งสองรุ่นคือ RoArm-M3-Pro ใช้เซอร์โวมอเตอร์บัส ST3235 ที่เป็นโลหะทั้งหมด เพื่อความทนทานและอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ในขณะที่ RoArm-M3-S ใช้เซอร์โวมอเตอร์มาตรฐาน ซึ่งมีความทนทานน้อยกว่าเมื่อใช้งานในระยะยาว หุ่นยนต์แขนกลเหล่านี้มีโครงสร้างน้ำหนักเบา ฐานหมุนได้ 360° รอบทิศทาง และข้อต่อที่ยืดหยุ่น 5 จุด ช่วยให้สามารถทำงานในพื้นที่ 1 เมตร พร้อมรองรับน้ำหนักในการยกของได้ 200 กรัม ที่ระยะ 0.5 เมตร ข้อต่อข้อมือแบบ 2 DOF ช่วยให้สามารถจับวัตถุได้หลายมิติและควบคุมแรงกดได้อย่างแม่นยำ ภายในติดตั้งไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 รองรับการควบคุมแบบไร้สายหลายรูปแบบผ่านเว็บแอป พร้อมรองร […]

FOSSASIA 2025 – มีหัวข้อที่น่าสนใจมากมาย เช่น ระบบปฏิบัติการ โอเพ่นฮาร์ดแวร์และเฟิร์มแวร์

FOSSASIA Summit 2025

FOSSASIA 2025 เป็นการประชุมเทคโนโลยีโอเพนซอร์สที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 13-15 มีนาคมปีนี้ โดยจะมีวิทยากรมากกว่า 170 คนและหัวข้อเสวนามากกว่า 200 หัวข้อ หัวข้อการบรรยายส่วนใหญ่จะเน้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ระดับสูง เช่น AI และวิทยาศาสตร์ข้อมูล, ฐานข้อมูล คลาวด์ และ Web3 แต่เราสังเกตเห็นหัวข้อการบรรยายบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “ฮาร์ดแวร์และเฟิร์มแวร์” และ “ระบบปฏิบัติการ” ซึ่งจะครอบคลุมบน CNX Software มากที่สุด ดังนั้นเราจึงได้จัดทำตารางการบรรยายที่น่าสนใจ ซึ่งจะมีตารางเฉพาะวันที่ 14-15 มีนาคมเท่านั้น FOSSASIA 2025 – วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม 9:00 – 9:25 – Licensing Open Hardware โดย Andrew Katz, CEO, Orcro การเติบโตของ RISC-V ถือเป็นก้าวสำคัญของวงการฮาร์ดแวร์โอเพ่นซอร์ส ด้วยประสบการณ์ของ Andrew […]

CrowPanel Advance : จอแสดงผล ESP32-S3 พร้อมโมดูลไร้สาย WiFi 6, Thread, Zigbee, LoRa และ 2.4GHz ที่เปลี่ยนได้

CrowPanel Advance ESP32-S3 display replaceable wireless modules

CrowPanel Advance ของ Elecrow เป็นกลุ่มหน้าจอแสดงผล ESP32-S3 ขนาด 2.8 นิ้ว ถึง 7 นิ้ว ที่รองรับ WiFi และ BLE พร้อมโมดูลสำหรับการสื่อสารไร้สาย Thread/Zigbee/Matter, WiFi 6, 2.4GHz, และ LoRa (Meshtastic) ที่สามารถเปลี่ยนได้ รุ่นนี้เป็นการอัปเดตจากหน้าจอ CrowPanel (Basic) ที่เปิดตัวเมื่อปีที่ผ่านมา โดยมาพร้อมโมดูล ESP32-S3-WROOM-1-N16R8 ที่บัดกรีไว้เรียบร้อยแล้วซึ่งอยู่ด้านหลังของจอ และมี Header สำหรับใช้งานร่วมกับ ESP32-H2, ESP32-C6, SX1262 ซึ่งเป็น LoRa transceiver, หรือ nRF2401 เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ไร้สายแบบ 2.4GHz สเปคของของ CrowPanel Advance ขนาด 7 นิ้ว: โมดูลไร้สาย – ESP32-S3-WROOM-1-N16R8 SoC – ESP32-S3 CPU – โปรเซสเซอร์ LX7 แบบ Dual-core ความเร็วสูงสุด 240MHz หน่วยความจำ – SRAM 512KB, PSRAM 8MP หน่วยความจำ […]

Seeed Studio เปิดตัวกล้อง AI ที่ใช้ ESP32-C3 : Modbus Vision RS485 และ SenseCAP A1102 (LoRaWAN)

Seeed Studios Modbus Vision RS485 and SenseCAP A1102 outdoor Edge AI cameras

Seeed Studio เปิดตัวกล้อง AI สำหรับใช้งานภายในนอกอาคาร (outdoor) ได้แก่ Modbus Vision RS485 และ SenseCAP A1102 (LoRaWAN) ที่ใช้ ESP32-C3 SoC ผ่านโมดูล XIAO-ESP32C3 สำหรับการเชื่อมต่อ WiFi และโปรเซสเซอร์ Himax WiseEye2 สำหรับการประมวลผล AI ด้านภาพ กล้องทั้งสองรุ่นได้รับการออกแบบให้มีมาตรฐาน IP66 เหมาะสำหรับการใช้งานทั้งในบ้านและในอุตสาหกรรม, โดยกล้อง Modbus Vision RS485 ออกแบบมาสำหรับระบบอุตสาหกรรมและมีอินเทอร์เฟซ Modbus RS485 ทำให้เหมาะสำหรับระบบอัตโนมัติในโรงงานและอาคารอัจฉริยะ (smart buildings) ส่วน SenseCAP A1102 รองรับการเชื่อมต่อ LoRaWAN เหมาะสำหรับการติดตามระยะไกลแบบใช้พลังงานต่ำ (low-power monitoring) ในพื้นที่ห่างไกล โดยทั้งสองรุ่นมาพร้อมความสามารถด้าน AI ขั้นสูง เช่น เช่น การตรวจจับวัตถุและการจดจำใบหน้ […]

NXP i.MX 94 : ชิป SoC แบบ octa-core ที่ใช้ซีพียู Cortex-A55/M33/M7 สำหรับใช้งานด้าน Edge AI ในอุตสาหกรรมและยานยนต์

NXP i.MX 94

NXP i.MX 94 เป็นชิป SoC แบบ octa-core ที่ใช้ซีพียู Arm Cortex-A55 cores สูงสุด 4 คอร์, Arm Cortex-M33 cores 2 คอร์, Arm Cortex-M7 cores 2 คอร์และ NPU eIQ Neutron ของ NXP ออกแบบใช้กับงานด้าน Edge AI ในอุตสาหกรรมและยานยนต์ ตอนแรกเราคิดว่าเป็นรุ่นลดต้นทุนของ NXP i.MX 95 เพราะมีคุณสมบัติหลายอย่างเหมือนกัน แต่เป็นโปรเซสเซอร์เฉพาะทางสำหรับแอปพลิเคชันในอุตสาหกรรมและยานยนต์โดยเฉพาะ มันไม่มี GPU 3D, อินพุตกล้อง, อินเทอร์เฟสจอแสดงผล MIPI DSI และเครือข่าย 10GbE แต่กลับเพิ่มจำนวนคอร์สำหรับการทำงานเรียลไทม์ (แลกกับจำนวนคอร์สำหรับแอปพลิเคชัน) และเพิ่มฟีเจอร์เครือข่ายหลายอย่าง เช่น สวิตช์ Ethernet TSN, อินเทอร์เฟซ 2.5GbE, คอนโทรลเลอร์ EtherCAT และการรองรับโปรโตคอลอุตสาหกรรมอย่าง Profinet หรือ OPC-UA FX สเปคของ NXP i.MX 94: ซี […]