Arduino Nano Connector Carrier เป็นบอร์ดเสริมขนาดกะทัดรัดที่ออกแบบมาสำหรับใช้งานร่วมกับบอร์ด Arduino Nano เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อกับโมดูลเสริมต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดาย เช่น Qwiic, Grove และ Modulino นอกจากนี้บริษัทยังได้เปิดตัวโมดูล Modulino ใหม่อีก 7 รุ่น ซึ่งสามารถเลือกใช้งานแยกเป็นรายตัวได้ ครอบคลุมทั้งอินพุตจากผู้ใช้ (เช่น ปุ่มกด ปุ่มหมุน), เซ็นเซอร์ (เช่น IMU, ToF), เอาต์พุตเสียง และแถบไฟ RGB LED strip ขนาดสั้น สเปคของ Arduino Nano Connector Carrier : ที่เก็บข้อมูล – MicroSD card reader (ผ่าน SPI) อินเทอร์เฟซขยาย 4x คอนเนกเตอร์ Grove สำหรับ I/O แบบแอนะล็อก/ดิจิทัล – 2x แอนะล็อก, 1x I2C, 1x UART คอนเนกเตอร์ Qwicc สำหรับ I2C header แบบ female คู่ สำหรับติดตั้งบอร์ด Arduino Nano series boards แรงดัน I/O – สามารถ […]
Adafruit Sparkle Motion Stick – บอร์ดควบคุม WLED แบบ USB ที่ใช้ ESP32-S3 มีเอาต์พุตไฟ LED 5V สองช่อง, ไมโครโฟน I2S และเคส snap-fit
Adafruit ได้เปิดตัว Adafruit Sparkle Motion Stick อย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งเป็นบอร์ดควบคุม Neopixel แบบ USB ที่มีขนาดกะทัดรัด รองรับการใช้งานร่วมกับ WLED ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ถูกออกแบบมาสำหรับโปรเจกต์ไฟ LED แบบโต้ตอบกับเสียง (audio-reactive), อุปกรณ์คอสเพลย์, ไฟประดับเทศกาล และการใช้งานอื่นๆ บอร์ดนี้ใช้โมดูล ESP32-S3 เป็นหลัก มาพร้อมพอร์ต USB Type-A สำหรับทั้งการโปรแกรมและจ่ายไฟ (5V, 2A สูงสุด) และมีเคสพลาสติกแบบเรียบง่ายสำหรับป้องกันบอร์ด (ไม่กันน้ำ) คุณสมบัติอื่นๆ ที่น่าสนใจ เช่นไมโครโฟนแบบ I2S ในตัว สำหรับตรวจจับเสียงเพื่อใช้งานร่วมกับเอฟเฟกต์ไฟ, ตัวรับสัญญาณ IR (อินฟราเรด) สำหรับควบคุมระยะไกล, ปุ่มกดที่สามารถโปรแกรมได้ตามต้องการ, ไฟ NeoPixel หนึ่งดวงบนบอร์ด และไฟแสดงสถานะสีแดง (status LED), ขั้วต่อแบบ screw te […]
Adafruit Sparkle Motion – บอร์ดควบคุมไฟ LED แบบ addressable ที่ใช้ชิป ESP32 พร้อมเอาต์พุต 4 ช่อง, พอร์ตจ่ายไฟ USB-C 100W และรองรับ WLED/xLights
Adafruit Sparkle Motion เป็นบอร์ดควบคุมไฟ LED ที่ใช้ชิป ESP32 ซึ่งออกแบบมาเพื่อควบคุมไฟ LED แบบ addressable เช่น WS2812B, APA102, SK6812, LPD8806, UCS2904 และ SM16704 โดยรองรับการใช้งานร่วมกับทั้งโครงการ WLED และ xLights และมาพร้อมพอร์ต USB-C PD ที่รองรับกำลังไฟสูงถึง 100W เพื่อรองรับการใช้งานกับไฟ LED ที่ต้องการแรงดันสูงได้ บอร์ดนี้รองรับการจ่ายไฟได้ 2 แบบ ได้แก่ พอร์ต USB-C PD (เลือกได้ระหว่าง 5V, 12V และ 20V) และแจ็ค DC ขนาด 2.1 มม. มีฟิวส์ขนาด 5A และขั้วต่อสัญญาณขาออกที่มีการแปลงระดับแรงดันไฟ (level-shifted) เพื่อควบคุมไฟ LED แบบ addressable นอกจากนี้บอร์ดยังมีไมโครโฟนดิจิทัล I2S ในตัว, ตัวรับสัญญาณอินฟราเรด (IR), พอร์ต Stemma QT สำหรับ I2C, ระบบ USB-Serial พร้อมวงจรรีเซตอัตโนมัติ, GPIO breakout pads, NeoPi […]
บอร์ดพัฒนา CAN ขนาดเท่ากับ Raspberry Pi Pico ใช้ชิป RP2350 มาพร้อม clone ของ MCP2515 CAN Bus controller
Waveshare เปิดตัว RP2350-CAN ซึ่งเป็นบอร์ดพัฒนา CAN ที่ใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 โดยมาพร้อมกับคอนโทรลเลอร์ CAN Bus รุ่น XL2515 และทรานซีฟเวอร์ CAN รุ่น SIT65HVD230 ตัวบอร์ดรองรับโปรโตคอล CAN V2.0B ที่ความเร็วสูงสุด 1 Mbps โดยชิป XL2515 ดูเหมือนจะเป็นชิป clone ยอดนิยมอย่าง Microchip MCP2515 บอร์ดนี้มีขา GPIO แบบมัลติฟังก์ชันจำนวน 26 ขา และพอร์ต USB-C เหมือนกับที่พบใน Raspberry Pi Pico 2 ฟีเจอร์อื่น ๆ ได้แก่ วงจรแปลงแรงดันแบบ buck-boost (MP28164), ปุ่ม BOOT และ RESET, ไฟ LED สำหรับผู้ใช้งาน, ตัวต้านทานปลายสาย CAN ขนาด 120Ω ที่สามารถเลือกเปิด/ปิดได้ และ CAN screw terminals, บอร์ด CAN Bus เหมาะสำหรับการใช้งานในด้านยานยนต์, ระบบควบคุมอุตสาหกรรม และหุ่นยนต์ สเปคของ Waveshare RP2350 CAN: SoC – Raspberry Pi RP2350A CP […]
Xero MCU : บอร์ดขนาดเล็กพร้อมพอร์ต USB-C ที่ใช้ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ STMicro STM32F411
Xero MCU เป็นบอร์ดขนาดเล็กที่ใช้ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ STMicro STM32F411 (Arm Cortex-M4F) มาพร้อมกับพอร์ต USB-C, GPIO จำนวน 20 ขาพร้อมรูแบบ through และ castellated, คอนเนกเตอร์ดีบัก, ปุ่ม Reset และ Boot รวมถึงมี LED ไมโครคอนโทรลเลอร์ความถี่ 100 MHz ตัวนี้มี หน่วยความจำแฟลช 512KB และ SRAM 128KB โดยบอร์ดนี้ออกแบบมาสำหรับผู้ที่ทำโปรเจกต์เพื่อการเรียนรู้ (hobbyists), นักเรียน/นักศึกษา และมืออาชีพ สำหรับการเปรียบเทียบ ตัวบอร์ด Xero MCU ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์รุ่นเดียวกับที่อยู่ในบอร์ด Black Bill board. (รุ่น STM32F411CEU6) แต่มีขนาดสั้นกว่าประมาณครึ่งหนึ่ง และมีขอบแบบ castellated จึงเหมาะกับการบัดกรีลงบนบอร์ดฐาน (baseboard) ได้อย่างสะดวก สเปคของ Xero MCU: ไมโครคอนโทรลเลอร์ – STMicro STM32F411CEU6 แบบ Arm Cortex-M4F ทำงาน […]
SparkFun IoT RedBoard – บอร์ด WiFi & Bluetooth ที่ใช้ Raspberry Pi RP2350 หรือ ESP32 ในฟอร์มแฟกเตอร์ Arduino UNO R4
SparkFun ได้เปิดตัวบอร์ด “IoT RedBoard – RP2350” and “IoT RedBoard – ESP32” ซึ่งมาในฟอร์มแฟกเตอร์แบบ Arduino UNO R4 โดยใช้ชิป Raspberry Pi RP2350B + โมดูลไร้สาย RM2 และโมดูล ESP32-WROOM-32E สำหรับการเชื่อมต่อ WiFi และ Bluetooth ทั้งสองบอร์ดมาพร้อมกับ headers แบบ Arduino UNO และคอนเนกเตอร์ Qwiic สำหรับการขยายฟังก์ชัน, ช่องใส่ microSD สำหรับจัดเก็บข้อมูล, รองรับแบตเตอรี่, พอร์ต USB และ DC jack สำหรับจ่ายไฟ, รวมถึงปุ่มกดและไฟ LED บางส่วน นอกจากนี้ บอร์ด RP2350 ยังมี HSTX connector ที่สามารถใช้ควบคุมหน้าจอ HDMI หรือ SPI display ได้ สเปคของ Sparkfun IoT RedBoard: MCU sub-system และ wireless รุ่น RP2350 MCU – Raspberry Pi RP2350B CPU Dual-core Arm Cortex-M33 @ 150 MHz พร้อม Arm Trust zone, Secure boot Dual-core RIS […]
OpenMV N6 และ AE3 : บอร์ดกล้อง AI สามารถเขียนโปรแกรมด้วย MicroPython และใช้งานบนแบตเตอรี่ได้นานหลายปี
OpenMV ได้เปิดตัวบอร์ดกล้อง Edge AI ใหม่สองรุ่นที่สามารถโปรแกรมได้ด้วย MicroPython ได้แก่ OpenMV AE3 ที่ใช้ชิป Alif Ensemble E3 พร้อม Cortex-M55 สองคอร์ และ Ethos-U55 micro NPU สองตัว และบอร์ด OpenMV N6 เป็นบอร์ดขนาดใหญ่กว่าที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ STMicro STM32N6 พร้อม Cortex-M55 และตัวเร่ง AI/ML Neural-ART ที่ความเร็ว 1 GHz ทั้งสองรุ่นสามารถประมวลผลด้าน Machine Vision ได้เป็นเวลาหลายปีด้วยพลังงานจากแบตเตอรี่ต่อหนึ่งการชาร์จ ทีม OpenMV ได้พัฒนาบอร์ดกล้องที่ใช้ MCU หลายรุ่น พร้อมทั้งเฟิร์มแวร์ OpenMV สำหรับการประมวลผลภาพคอมพิวเตอร์ (Computer Vision) ซึ่งเราได้รู้จักบริษัทนี้ครั้งแรกเมื่อเปิดตัว OpenMV Cam ที่ใช้ STM32F427 ในปี 2015 ตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีความก้าวหน้าอย่างมากทั้งในด้านฮาร์ดแวร์ เฟิร์มแวร์ และซอฟต์ […]
UNIHIKER K10 : แพลตฟอร์มการศึกษา TinyML ราคาประหยัด รองรับการตรวจจับภาพและการจดจำเสียง
UNIHIKER K10 เป็นแพลตฟอร์มการศึกษาเรียนรู้ STEM ต้นทุนต่ำสำหรับแอปพลิเคชัน TinyML ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ไร้สาย ESP32-S3 ซึ่งมาพร้อมกับส่วนขยายเวกเตอร์สำหรับประมวลผลงาน เช่น การตรวจจับภาพหรือการจดจำเสียง มาพร้อมกับหน้าจอสีขนาด 2.8 นิ้วในตัว, กล้อง, ลำโพง, ไมโครโฟน 2 ตัว, เซ็นเซอร์หลายตัว, ช่องใส่ microSD Card และคอนเนกเตอร์ขอบแบบ BBC Micro:bit สำหรับสัญญาณพลังงานและ GPIOs ถือเป็นรุ่นที่ปรับแต่งให้มีต้นทุนต่ำกว่ารุ่นพี่ที่ใช้ Linux อย่าง UNIHIKER M10 ซึ่งเปิดตัวครั้งแรกในปี 2022 และคุณอานนท์ยังได้รีวิว UNIHIKER ในปี 2023 โดยแสดงวิธีตั้งค่า, ใช้งานแพลตฟอร์ม SIoT กับข้อความ MQTT และเขียนโปรแกรมผ่าน Jupyter Notebook, Python หรือ Visual Studio Code มาดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับรุ่นใหม่ที่ใช้ ESP32-S3 กัน สเปคของ […]