OMGS3 ที่ใช้ ESP32-S3-PICO เป็นโมดูล/บอร์ด ESP32-S3 มีขนาดเล็กที่สุดในโลก พร้อมคุณสมบัติครบครัน

OMGS3 board

OMGS3 ของ Unexpected Maker ที่ใช้ ESP32-S3-PICO system-in-package (SiP) เป็นโมดูล/บอร์ด ESP32-S3 ที่มีฟีเจอร์ครบถ้วนและมีขนาดเล็ก ซึ่งโดยผู้ออกแบบอ้างว่าเป็นบอร์ดที่เล็กที่สุดในโลกในประเภทเดียวกัน โดยมีขนาดเพียง 25×10 มม. บอร์ดนี้จะมาแทนที่ Unexpected Maker NanoS3 รุ่นก่อน ที่ใช้ ESP32-S3FN8 SoC มีขนาด 28 x 11 มม. OMGS3 ที่ใช้ ESP32-S3-PICO SiP รวมเอา SoC ไร้สาย ESP32-S3 แบบ dual-core ที่รองรับ WiFi และ BLE, หน่วยความจำ QSPI flash ขนาด 8MB และ PSRAM QSPI ขนาด 2MB บนบอร์ดเองยังมีสายอากาศ 3D, ไฟ LED RGB, ไฟ LED สองดวงสำหรับพลังงานและการชาร์จ และมีการเชื่อมต่อ I/O ผ่านทางแผ่นบัดกรี 26 จุด สเปคของ Unexpected Maker OMGS3: SiP – Espressif ESP32-S3-PICO SoC ESP32-S3 dual-core Tensilica LX7 สูงสุด 240 MHz พร้อม SR […]

LILYGO T-Deck Plus – ชุดพัฒนาที่ใช้ ESP32-S3 คล้ายกับ Blackberry พร้อมคีย์บอร์ด QWERTY, Trackball, LoRa, GPS, แบตเตอรี่ และอื่นๆ

LILYGO T-Deck Plus development board

LILYGO T-Deck Plus เป็นชุดพัฒนา (Development Kit) แบบพกพาที่ใช้ ESP32-S3 ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับโทรศัพท์ Blackberry พร้อมคีย์บอร์ด QWERTY และ Trackball, อุปกรณ์นี้มาพร้อมกับหน้าจอ IPS ขนาด 2.8 นิ้ว, โมดูล GPS, LoRa transceiver และแบตเตอรี่ขนาด 2,000mAh ซึ่งทำให้คุณสามารถนำไปใช้งานภายนอกและทำการทดสอบและวิจัยได้ นอกจากนี้ บอร์ดยังมีไมโครโฟน, ลำโพง และช่องใส่ microSD card สำหรับเก็บข้อมูล เมื่อปีที่แล้ว LILYGO ได้เปิดตัวชุดพัฒนา LILYGO T-Deck ที่ใช้ ESP32-S3 พร้อมการเชื่อมต่อ LoRa และหน้าจอขนาด 2.8 นิ้ว และ T-Deck Plus เป็นรุ่นต่อยอดจากการออกแบบเดิม โดยเพิ่มโมดูล GPS และแบตเตอรี่ที่มีความจุมากขึ้น สเปคของ LILYGO T-Deck Plus โมดูลไร้สาย ESP32-S3-WROOM-1 SoC –   ESP32-S3FN16R8 ไมโครคอนโทรลเลอร์ Tensilica LX7 แบบ dual-c […]

บอร์ด Pimoroni Explorer สำหรับการเรียนรู้ที่ใช้ Raspberry Pi RP2350 พร้อมจอ LCD 2.8 นิ้ว, breadboard sensors และอื่นๆ

Pimoroni Explorer Starter Kit

บอร์ด Pimoroni Explorer เป็นบอร์ดสำหรับการทดลองอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นโดยใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 มีหน้าจอ LCD ขนาด 2.8 นิ้ว, ขั้วต่อสำหรับลำโพง, และพอร์ต I/O ต่างๆ ซึ่งทำให้สามารถสร้างวงจร ทดลองโปรเจกต์ และสร้างหุ่นยนต์ขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังมีแผงต่อวงจรหรือเบรดบอร์ด Breadboard ขนาดเล็ก, ปุ่มสัมผัส และขั้วต่อแบบ crocodile clip terminals ทำให้เหมาะสำหรับทั้งผู้เริ่มต้นและผู้ที่มีประสบการณ์ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ Raspberry Pi Limited เพิ่งเปิดตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350 พร้อมกับ บอร์ด Raspberry Pi Pico ราคา $5 (~180฿) และเราได้เห็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ RP2350 มากมาย เช่น Cytron MOTION 2350 Pro, Bus Pirate 5XL และ 6 รวมถึงบอร์ดพัฒนาอื่นๆ, Pimoroni Explorer เป็นอีกหนึ่งบอร์ดพัฒนาที่ใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350 สเปคขอ […]

บอร์ดพัฒนา SparkFun Pro Micro – RP2350 มาพร้อม flash 16MB, PSRAM 8MB

SparkFun RP2350 Pro Micro DEV Board

SparkFun Pro Micro – RP2350 เป็นบอร์ดพัฒนาขนาดเล็กกะทัดรัดและทรงพลัง ที่ใช้ชิป RP2350 จาก Raspberry Pi และหน่วยความจำแบบ Flash ขนาด 16MB และ PSRAM 8MB บอร์ดนี้มีการออกแบบตาม Pro Micro รุ่นใหม่และมีพอร์ต USB-C, คอนเนคเตอร์ Qwiic, WS2812B RGB LED, ปุ่ม Boot และ Reset, ฟิวส์ PTC ที่สามารถรีเซ็ตได้, และมีรู PTH และด้านข้างมีรูแบบ castellated pads สำหรับเอาไว้บัดกรี เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเราได้กล่าวถึง Raspberry Pi Pico 2 และเรายังได้เขียนบทความเกี่ยวกับบอร์ดอื่นๆ ที่ใช้ Raspberry Pi RP2350 เช่น XIAO RP2350, RP2350 Stamp ของ Solder Party และ Cytron MOTION 2350 Pro เรามาดูคุณสมบัติบอร์ดพัฒนาอีกหนึ่งบอร์ดที่ใช้ชิป RP2350 กัน สเปคของ SparkFun Pro Micro – RP2350 ไมโครคอนโทรลเลอร์ – Raspberry Pi RP2350A MCU CPU Dual-core Ar […]

บอร์ด Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5 ที่ใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 กับโมดูล ESP32-C6 WiFi 6 และ Bluetooth 5.4 LE

Raspberry Pi RP2350 board ESP32 C6 WiFi module

คุณไม่ต้องรอ Raspberry Pi Pico 2 W เพื่อให้ได้บอร์ด Raspberry Pi RP2350 ที่มี WiFi และ Bluetooth เพราะมีบอร์ด Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5 ที่รวมชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350A กับโมดูล ESP32-C6 ที่รองรับการเชื่อมต่อแบบ 2.4 GHz WiFi 6 และ Bluetooth 5.4 LE บอร์ดนี้ใช้ Adafruit Feather form factor โดยมีรู (Through holes) 28-pin สำหรับ I/O ทำให้สามารถเข้ากันได้กับบอร์ดเสริม FeatherWings มาพร้อมพอร์ต USB-C สำหรับการจ่ายไฟและการเขียนโปรแกรม และมีคอนเนกเตอร์ JST พร้อมวงจรชาร์จสำหรับผู้ที่ต้องการเชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ LiPo สเปคของบอร์ด Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5: ไมโครคอนโทรลเลอร์– Raspberry Pi RP2350A MCU CPU Dual-core Arm Cortex-M33 processor @ 150MHz Dual-core 32-bit RISC-V processor @ 150MHz สามารถใช้งานได้เพียง 2 […]

XIAO RP2350 เป็นบอร์ด USB-C ขนาดจิ๋วที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350

XIAO RP2350

XIAO RP2350 เป็นรุ่นอัปเกรดของบอร์ด XIAO RP2040 ของ Seeed Studio ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 Cortex-M33 แบบ dual-core หรือ RISC-V แบบ dual-core ที่ทรงพลังยิ่งขึ้นที่พบในบอร์ด Raspberry Pi Pico 2 ที่เพิ่งเปิดตัว บอร์ด Raspberry Pi RP2350 USB-C ใหม่มีขนาดเท่าเหมือน แต่มีขา GPIO เพิ่มอีก 8 ขาที่ด้านล่างรวมเป็น 19 ขาและแต่ไม่มี LED สำหรับการเชื่อมต่อพอร์ต serial สำหรับคนที่คิดว่า XIAO RP2040 มีคุณสมบัติไม่พียงพอ ต้องการไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ทรงพลังขึ้น, ที่มีความจุของหน่วยความจำมากขึ้น, มีขา GPIO เพิ่มและมีความปลอดภัยในตัว XIAO RP2350 จะเป็นทางเลือกที่ดี ข้อมูลสเปคของ XIAO RP2350: ไมโครคอนโทรลเลอร์ – Raspberry Pi RP2350 MCU CPU – โปรเซสเซอร์ Arm Cortex-M33 แบบ Dual-core @ 150MHz (หมายเหตุ: Seeed Studi […]

Cytron MOTION 2350 Pro – บอร์ด Raspberry Pi RP2350 สำหรับหุ่นยนต์และควบคุมมอเตอร์

Cytron MOTION 2350 PRO

ตามที่กล่าวไว้ในบทความ Raspberry Pi Pico 2 มีบริษัทอื่นที่ได้พัฒนาบอร์ดและใช้ชิป RP2350 อีกหลายบริษัทและหนึ่งในนั้นคือบอร์ด MOTION 2350 Pro จาก Cytron ที่ออกแบบมาสำหรับหุ่นยนต์และควบคุมมอเตอร์ บอร์ดนี้มาพร้อมกับ DC motor driver สำหรับขับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง 4 ตัวเป็นแบบ brushed โดยมีช่วงแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 3.6V ถึง 16V นอกจากนี้ยังมีพอร์ตเซอร์โว 5V จำนวน 8 พอร์ต, พอร์ต GPIO จำนวน 8 พอร์ต และพอร์ต Maker จำนวน 3 พอร์ตสำหรับโมดูลเซนเซอร์หรือ Actuator โดยขา I/O แต่ละขาจะจับคู่กับ LED ของตัวเอง ซึ่งทำให้บอร์ดเหมาะสำหรับตลาดการศึกษาและยังช่วยในการดีบักได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีพอร์ต USB 1.1 host สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น RF dongle สำหรับจอยสติ๊กหรือคีย์บอร์ด สเปคของ Cytron MOTION 2350 Pro: ไมโครคอนโทรลเลอร์ – […]

เปิดตัว Raspberry Pi Pico 2 พร้อมชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ที่ใช้ซีพียู RISC-V หรือ Arm Cortex-M33 แบบ Dual-core

Raspberry Pi Pico 2

Raspberry Pi Pico 2 เป็นบอร์ดพัฒนา MCU ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ใหม่ Raspberry Pi RP2350 ซึ่งมีคอร์ RISC-V แบบ dual-core หรือ Cortex-M33 แบบ dual-core พร้อม SRAM บนชิปขนาด 520 KB, flash ขนาด 4MB, พอร์ต micro USB สำหรับการจ่ายไฟและโปรแกรม และมีขา GPIO headers เหมือนกับบอร์ด Raspberry Pi Pico ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2040 dual-core Cortex-M0+ พร้อม SRAM ขนาด 264KB RP2350 มีทั้งซีพียู Hazard3 RISC-V  แบบ dual-core ที่เป็น open-source  และ Cortex-M33 แบบ dual-core, แต่สามารถใช้ได้เพียงหนึ่งคลัสเตอร์ในแต่ละครั้ง นอกจากการมีคอร์ MCU ที่เร็วขึ้นและ SRAM ที่มีความจุสูงขึ้นแล้ว RP2350 ยังคล้ายกับ RP2040 แต่มี PIO block เพิ่มอีกหนึ่ง รวมทั้งหมดเป็นสาม ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญคือความปลอดภัยในตัวเมื่อใช้คอร์ Arm Cortex-M33 ที่มี […]