DIY ที่ยึดโมดูลกล้อง Raspberry Pi ด้วยขวดหมากฝรั่ง

XYLITOL Raspberry Pi Camera Mount

ฉันได้นำขวดหมากฝรั่ง XYLITOL เปล่ามาดัดแปลงให้เป็นที่ยึดกล้อง สำหรับโมดูลกล้อง Raspberry Pi พร้อมโหมดความเป็นส่วนตัวในการบู๊ต… Raspberry Pi Trading เพิ่งส่ง Raspberry Pi Camera Modules 3 จำนวน 3 อันเพื่อให้ฉันตรวจสอบ และฉันไม่มีตัวยึดกล้องเลย ตอนแรกฉันคิดว่าบางทีฉันอาจจะตัดเลเซอร์ตัวยึดบางส่วนหรือใช้เลโก้เหมือนที่ฉันทำกับกล้อง e-CAM20_CURB สำหรับ Raspberry Pi 4 จากนั้นฉันสังเกตเห็นขวดหมากฝรั่ง XYLITOL ฝาจะเปิดในแนวตั้ง และโมดูลน่าจะใส่เข้าไปในนั้นได้ ฉันทำเจาะช่องของขวดที่ฝาเพื่อให้ โมดูลกล้อง Raspberry Pi สามารถเสียบเข้ากับฝาปิดได้ ถ้าฉันดันด้านล่างของโมดูลเข้าไปติดกับฝาด้านใน มันจะเอียงเล็กน้อย แต่สุดท้ายมันจะอยู่ในแนวตั้ง มันยังแน่นมากเพราะถึงฉันจะเขย่าขวดอย่างแรง โมดูลก็ไม่หลุด ไม่ต้องใช้กาว ฉันต้องทำซ้ำสอง […]

เปิดตัว Raspberry Pi Camera Module 3 พร้อม Autofocus และ HDR

Raspberry Pi Camera 3

Raspberry Pi Trading ได้เปิดตัว Camera Module 3 ซึ่งเป็นโมดูลกล้องตัวแรกที่รองรับ Autofocus และ HDR ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานร่วมกับบอร์ด Raspberry Pi ทั้งหมดที่สามารถใช้กล้องได้ และมีให้เลือกระหว่างมุมมองปกติหรือแบบกว้าง และตัวเลือกเพิ่มเติม ฟิลเตอร์ตัดอินฟราเรด (Infrared cut filter) โมดูลกล้องใหม่มี 4 รุ่น โดยใช้เซ็นเซอร์ Sony IMX708 12MP ที่รองรับการแสดงสัญญาณภาพความคลาดเคลื่อนสูง หรือช่วงไดนามิกสูง (HDR) และการวัดระยะห่างของกล้องที่ใช้ค้นหาและโฟกัสภาพถ่ายอัตโนมัติหรือ Phase detection autofocus (PDAF), Camera Module 3 มีขนาด X/Y และรูสำหรับติดตั้งเหมือนกันกับ Camera Module 2 ที่เปิดตัวในปี 2016 แต่ขนาดพิกเซลสูงกว่าหลายมิลลิเมตร เนื่องจากมีการปรับปรุง optics สเปคของ Raspberry Pi Camera Module 3 : เซ็นเซอร์ Sony […]

Banana Pi BPI-CM4 : system-on-module (SoM) ที่ใช้ Amlogic A311D

Banana Pi BPI CM4 Raspberry Pi CM4 IO board

Banana Pi BPI-CM4 system-on-module (SoM) ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Amlogic A311D hexa-core Cortex-A73/A53 และคล้ายกับโมดูล Raspberry Pi CM4 พร้อมจำหน่ายแล้วในราคาเริ่มต้นที่ $95 (~3,200฿) Banana Pi เปิดตัวโมดูลที่ใช้แทน Raspberry Pi CM4 พร้อม CPU Amlogic A311D เมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่พร้อมแสดงภาพจำลองสามมิติ (3D renders) และข้อมูลสเปค และเราคาดว่าจะเปิดตัวในไตรมาสที่ 4 ปี 2022 หรือไตรมาสที่ 1 ปี 2023 ตอนนี้ Banana Pi BPI-CM4 มีวางจำหน่ายแล้วพร้อมกับบอร์ดฐาน เรามาดูรายละเอียดกัน สเปคของ Banana Pi BPI-CM4: SoC – โปรเซสเซอร์ Amlogic A311D hexa-core พร้อม 4x Arm Cortex-A73 @ 2.0 GHz และ 2x Arm Cortex-A53, Arm Mali-G52 MP4 (6EE) GPU, 5 TOPS NPU หน่วยความจำ – RAM LPDDR4  ขนาด 4GB พื้นที่เก็บข้อมูล – eMMC flash 16GB (สูงสุด 128 […]

Bluetooth LE บน Raspberry Pi Pico W จะสามารถใช้งานได้ในเร็วๆ นี้

Raspberry Pi Pico W Bluetooth LE

ในเดือนมิถุนายน 2022 บอร์ดRaspberry Pi Pico W ได้เปิดตัว พร้อมกับโมดูล WiFi 4 และ Bluetooth 5.2 LE ที่ใช้ชิป Wireless ของ CYW43439 จาก Infineon และฉันได้เขียนรีวิวหลังจากเปิดตัวเพียงไม่กี่วัน โดยได้แสดงวิธีการเชื่อมต่อกับ WiFi แต่สำหรับ Bluetooth ยังไม่สามารถเชื่อมต่อได้ นั่นเป็นเพราะในขณะนั้นการรรองรับ Bluetooth บนบอร์ด Raspberry Pi Pico W ยังไม่พร้อมใช้งานได้ แต่อาจจะสามารถใช้งานได้ในอนาคต  ตอนนี้มีข่าวดีจาก Alasdair Allan เป็นผู้รับผิดชอบเอกสาร Raspberry Pi กล่าวว่าการรองรับ Bluetooth LE มีกำหนดการสำหรับ Pico C SDK รุ่น 1.5.0 กำลังจะเปิดตัว ขณะนี้มี ticket เปิดบน GitHub สำหรับการรองรับ Bluetooth ที่เพิ่มเข้ามาในการกำหนด milestone ของรุ่น 1.5.0 ในขณะที่เขียนมีข้อเสนอแนะ อยู่ 14 issua ที่ไม่มีวันครบกำหนด แต่ A […]

รีวิว Pironman – เคส Raspberry Pi 4 พร้อม M.2 SATA,จอ OLED, แถบไฟ LED RGB

Pironman review

Pironman ของ SunFounder เป็นกล่องเคส Raspberry Pi 4 ที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก DIY Raspberry Pi 4 server ของ Michael Klement พร้อมจอ OLED และ ICE Tower ระบายความร้อน รวมถึงการปรับปรุงบางอย่าง เช่น วัสดุเคสเป็นอลูมิเนียมอัลลอยด์และอะคริลิก รองรับ M.2 SATA SSD , ปุ่มเปิด/ปิดสำหรับการปิดระบบอย่างปลอดภัย , ตัวรับสัญญาณแสงอินฟราเรด (IR Receiver) และแถบไฟ LED RGB บริษัท SunFounder ได้ส่งชุดคิท Pironman ที่ไม่มี Raspberry Pi 4 มาให้ฉันเพื่อทดสอบ ฉันจะแกะกล่อง, ประกอบเคส, การติดตั้งซอฟต์แวร์ และตรวจสอบคุณลักษณะพิเศษต่าง ๆ ตามที่ระบุข้างต้น แกะกล่อง Pironman ข้อมูลสเปคหลักบางส่วนอยู่ที่ด้านข้างของกล่องบรรจุภัณฑ์ เคสมาพร้อมกับบอร์ด Pironman, แผงอลูมิเนียมและอะคริลิก, แถบไฟ LED RGB, จอ OLED, ฮีทซิงค์, พัดลม, อะแดปเตอร์, สายไ […]

Banana Pi BPI-Pico-RP2040 – clone ของ Raspberry Pi Pico เพิ่มพอร์ต USB-C, I2C และ RGB LED

Banana Pi Pico

Banana Pi BPI-Pico-RP2040 เป็น clone หรือเลียนแบบ Raspberry Pi Pico โดยเพิ่ม RGB LED และมีการเชื่อมต่อแบบ I2C 4 ขา และได้เปลี่ยนพอร์ต micro USB เป็น Type-C ส่วนที่เหลือของบอร์ด Banana Pi Pico จะเหมือนเดิมทุกอย่างแม้กระทั่งรู (through holes) และ (รู castellated holes) สำหรับ I/O และมี form factor ที่คล้ายกับ Banana Pi BPI-PicoW-S3 ที่ใช้ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ไร้สาย ESP32-S3 สเปคของ Banana Pi BPI-Pico-RP2040: MCU – ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 dual-core Cortex-M0+ ความเร็วสูงสุดที่ 133 MHz พร้อม SRAM 264KB ที่เก็บข้อมูล (Storage) – QSPI flash 2MB USB – 1x พอร์ต USB 1.1 Type-C ที่ใช้สำหรับจ่ายไฟและโหลดโปรแกรม การขยาย Pin header 2x 20-ขา ระยะห่างระหว่างพิน 2.5 มม. และรู castellated holes พร้อม 26x GPIO […]

Lichee Pi 4A RISC-V SBC ที่ใช้ชิป TH1520 คู่แข่งของ Raspberry Pi 4

Lichee Pi 4A RISC V SBC

Lichee Pi 4A เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว (SBC) ที่ใช้ชิป Alibaba T-Head TH1520 quad-core RISC-V Xuantie C910 เป็นตัวประมวลผลที่ความเร็ว 1.8 GHz พร้อม Imagination GPU และ 4 TOPS NPU สำหรับการประมวลผล AI สามารถแข่งขันกับ Raspberry Pi 4 ได้คุณสมบัติและประสิทธิภาพ เราเคยกล่าวถึง Lichee Pi 4A (LPi4A) ในบทความของเราเกี่ยวกับ Sipeed LM4A RISC-V system-on-module แต่ในขณะนั้นเรามีเพียงข้อมูล ฺBenchmarks ของบอร์ดเท่านั้น ไม่มีรูปถ่าย และข้อมูลสเปคของ SBC, Sipeed ได้เผยแพร่รูปภาพและข้อมูลสเปคเพิ่มเติมโดยละเอียด และกำลังเปิดรับการสั่งจองล่วงหน้า เรามาดูรายละเอียดกัน สเปคของ Lichee Pi 4A เทียบกับ Raspberry Pi 4 ชิป TH1520 เคยโปรโมทว่าความเร็วสูงถึง 2.5 GHz แต่ตอนนี้ดูเหมือนว่าจะลดลงมาที่ 1.8 GHz ระบบปฏิบัติการรองรับซอฟต์แวร์ […]

ตัวต่อ LEGO ที่มี Raspberry Pi RP2040 สามารถเล่นเกม Doom ได้

LEGO Brick Raspberry Pi RP2040

James Brown (หรือ Ancient) ได้สร้างคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กอยู่ภายในตัวต่อ LEGO พร้อมไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 และจอแสดงผล OLED ขนาด 0.42 นิ้ว และสามารถเล่นเกม Doom ได้ ในที่สุด LEGO minifigures ก็สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับขนาดของมันแล้ว James ไม่ได้โพสต์ข้อมูลมากมายถึงวิธีการสร้าง แต่เขาได้เผยแพร่โค้ด “uGrey” ที่เขียนด้วย Micropython ออกมาเป็นสีขาวดำบนจอ OLED เราสามารถเรียนรู้จากการออกแบบในวิดีโอ (ท้ายบทความนี้) ซึ่งแสดงวิธีการที่เขาใช้ Raspberry Pi RP2040 เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถอยู่ภายในบล็อก LEGO ได้ การออกแบบขนาดเล็กนี้ประกอบด้วย 5 บอร์ด/โมดูลหลัก: โมดูล Raspberry Pi RP2040 โมดูล micro USB 2 โมดูลด้านข้างพร้อมส่วนประกอบอื่นๆ จอ OLED ขนาด 0.42 นิ้ว ความละเอียด 72×40 (SSD1306) เนื่องจากการบั […]