Pico Display Base Board : บอร์ดฐานสร้างจอแสดงผล LCD ที่ใช้ Raspberry Pi Pico

Pico Display BaseBoard

Pico Display Base Board เป็นบอร์ดฐานที่แผงวงจรพิมพ์จาก Applying Microcontroller Solutions ที่ให้แพลตฟอร์มสำหรับการสร้างโปรเจกต์จอแสดงผลที่ใช้ Raspberry Pi Pico เป็นการทำงานร่วมระหว่างบอร์ด Raspberry Pi Pico และหน้าจอ LCD ที่ใช้คอนโทรลเลอร์จอแสดงผล Solomon Systech SSD1963 Pico Display Base Board มี header 40-pin (Display Port) ที่เชื่อมต่อกับ GPIO บน Pico เพื่อให้มีอินเทอร์เฟสแบบขนาน (parallel) 8 บิตสำหรับจอแสดงผลและSPI pins  สำหรับหน้าจอสัมผัสและ SD card ในตัว บอร์ดฐานรองรับจอแสดงผลตั้งแต่ 4.3 นิ้ว ถึง 7 นิ้ว จอแสดงผลที่มีขนาดไม่เกินห้านิ้วสามารถใช้พลังงานโดยตรงจาก Pico, Jumper block บนบอร์ดสามารถใช้เพื่อส่งพลังงานไปยังจอ LCD และเชื่อมต่อชิปแฟลชของจอแสดงผลไปยัง Pico ได้ พอร์ต USB-C บนบอร์ดสามารถให้แหล่งพลังงานท […]

อะแดปเตอร์ Ethernet 5Gbps PCIe และ M.2 ที่ใช้ RealTek RTL8126 ราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 400 บาท

RealTek RTL8126 5Gbps Ethernet M2 card

เมื่อปีที่แล้วมีการเปิดตัว คอนโทรลเลอร์ RealTek RTL8126(-CG) PCIe 3.0 x1 to 5GbE ที่ใช้พลังงานต่ำที่งาน Computex 2023 และตอนนี้มีโมดูล M.2 และ PCIe card ที่จำหน่ายในราคาที่เป็นคู่แข่งกันได้ โมดูลแรกที่ดึงดูดความสนใจของเราคือ”5000Mbps Networking Card B+M Key to PCIe Adapter” จาก STDEV ขายในราคา $27(~990฿) บน Amazon (มีส่วนลด 7%) เป็นโมดูล M.2 PCIe ที่มาพร้อมกับสายริบบอนที่เชื่อมต่อกับบอร์ดที่มีพอร์ต RJ45 ติดตั้งอยู่บน PCIe bracket แต่มีข้อมูลที่จำกัด และเพิ่งโพสต์ลงใน Amazon เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ดังนั้นจึงยังไม่มีรีวิวจากผู้ใช้, แต่มี Jiri Brejcha แจ้งให้เราทราบว่าเขาได้ทดสอบการ์ดที่คล้ายกัน (อาจเป็นตัวเดียวกัน) จาก Iocrest กับ Raspberry Pi 5 และ Pineboards HatDrive BM1 HAT+ ซึ่งสามารถทำความเร็วในก […]

รีวิวเริ่มต้นใช้งาน Maker Uno RP2040 ด้วย CircuitPython พร้อมกับ Micro Servo Motor, Maker Soil Module, โมดูล Ultrasonic

Cytron Maker Uno RP2040 review CircuitPython

หลังจากที่เราได้ดูสเปคของ Cytron Maker Uno RP2040 และใช้งานบนโปรแกรม Arduino IDE พร้อมเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับสำหรับผู้เริ่มต้นและผู้ใช้ขั้นสูงที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาต่อไป วันนี้เราจะทดลองใช้บอร์ด Maker Uno RP2040 พร้อมใช้งานบน Thonny IDE ด้วย CircuitPython โดยเริ่มจากติดตั้งโปรแกรม Thonny IDE แล้วทำการเชื่อมต่อบอร์ด, การเขียนโปรแกรม Blink ไฟกระพริบ, ไฟ LED แบบ RGB, กดปุ่มไฟติด, buzzer ทำให้มีเสียง, ใช้งานร่วมกับ Micro Servo Motor, อ่านค่าเซนเซอร์วัดความชื้นด้วย Maker Soil Module และวัดระยะห่างวัดถุด้วยโมดูลเซนเซอร์ Ultrasonic HC-SR04 การติดตั้งโปรแกรม Thonny IDE โดยการทดสอบกับบอร์ด Maker Uno RP2040 จะใช้  Thonny เป็น Python IDE ระดับสำหรับเริ่มต้น ซึ่งออกแบบมาเหมาะสำหรับการเรียนรู้และกา […]

Serial Bus Servo Driver HAT (A) สามารถควบคุมเซอร์โวพร้อมกันได้สูงสุด 253 ตัว

Waveshare Bus Servo Driver HAT A

Waveshare ได้เปิดตัว Serial Bus Servo Driver HAT (A) ซึ่งเป็นตัวควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ที่ใช้ ESP32 สำหรับ Raspberry Pi ที่ออกแบบมาเพื่อขับเคลื่อนเซอร์โวแบบ serial ได้ถึง 253 ตัวพร้อมกัน เซอร์โวสามารถควบคุมผ่าน UART หรือ USB ผ่าน Pi SBC หรือใช้เป็นตัวควบคุมแบบ standalone สำหรับโปรเจกต์หุ่นยนต์ บอร์ดนี้มีช่วงแรงดันไฟฟ้าขาเข้าที่กว้างตั้งแต่ 9 ถึง 25 โวลต์ และมีคอนเนกเตอร์ XT60 แบบติดตั้งบนบอร์ด, screw terminal และDC barrel jack ที่สามารถใช้เป็นแหล่งจ่ายไฟได้ นอกจากนี้บอร์ดยังมีพอร์ต RS485, TTL Servo header และสวิตช์ควบคุม UART เพื่อความสะดวก ก่อนหน้านี้ เราได้เขียนเกี่ยวกับ บอร์ดขยายมัลติฟังก์ชั่น Suptronics X200 HAT สำหรับ Pi ที่รองรับเซอร์โว หรือ ELECFREAKS Wukong 2040 ซึ่งสามารถใช้เพื่อขับเคลื่อนเซอร์โวได้เช่นกั […]

บอร์ด LimeNET Micro 2.0 Developer Edition ที่ใช้ Raspberry Pi CM4 และโมดูล SDR LimeSDR XTRX

limenet micro 2 front 01 jpg gallery lg

บอร์ด LimeNET Micro 2.0 Developer Edition เป็นแพลตฟอร์ม Modular สำหรับ ระบบสื่อสารวิทยุ software-defined radio (SDR) ของ Lime Microsystems ที่ใช้ Raspberry Pi Compute Module 4 และบอร์ด SDR ของบริษัท LimeSDR XTRX โดยพัฒนาต่อยอดรุ่นก่อนหน้าจาก Lime Microsystems  เช่น LimeSDR Mini และ LimeSDR Mini 2.0  (multiple-input, multiple-output) และใช้ Compute Module 4 ที่ทรงพลังมากขึ้น ซึ่งเป็นการอัปเกรดจาก Raspberry Pi CM3 ในเวอร์ชันก่อนหน้า LimeSDR XTRX เป็น SDR แบบโอเพ่นซอร์สและประสิทธิภาพสูงในรูปแบบ Mini PCIe ขนาดเล็ก โดยเป็นแพลตฟอร์มสำหรับการสร้างการออกแบบดิจิทัลและคลื่นวิทยุ RF (Radio Frequency) ที่เน้นลอจิก (logic-intensive) และสามารถใช้สำหรับการกำหนดค่าสายอากาศ MIMO ตั้งแต่ 2Tx2R ถึง 32Tx32R แพลตฟอร์มนี้ถูกสร้างขึ้ […]

Embedded Swift ภาษาการเขียนโปรแกรมของ Apple รองรับไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-C6, Raspberry Pi RP2040, STM32F7, nRF52840

ESP32 C6 Apple Swift

Apple ได้เปิดตัว Embedded Swift เป็น beta version ที่สามารถทำงานร่วมกับไมโครคอนโทรลเลอร์ไร้สาย Espressif ESP32-C6 ที่ใช้สถาปัตยกรรม RISC-V นอกจากนี้บริษัทสาธิตการพัฒนาอุปกรณ์ Matter โดยใช้ ESP-IDF และ ESP-Matter SDK ด้วย, Embedded Swift ไม่ได้จำกัดเฉพาะ ESP32-C6 เท่านั้น แต่ยังรองรับไมโครคอนโทรลเลอร์อื่นๆ จาก STMicro, Raspberry Pi, Nordic Semi และอื่นๆ Swift เป็นภาษาในการเขียนโปรแกรมของ Apple ส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบมาเพื่อการพัฒนาแอปมือถือ แต่เราเคยเห็นมันถูกใช้งานกับบอร์ด SwiftIO ของ Mad Machine ที่ใช้โปรเซสเซอร์ NXP i.MX RT1052 Arm Cortex-M7 crossover ที่มีความเร็ว 600 MHz แและ SwiftIO Micro ขนาดจิ่ว ขณะนี้บริษัทได้ตัดสินใจ subset ของภาษา Swift ซึ่งเหมาะสมกับไมโครคอนโทรลเลอร์หรือที่เรียกว่า Embedded Swift ซึ่ […]

Meles : บอร์ด SBC ขนาดเท่าบัตรเครดิตที่ใช้โปรเซสเซอร์ T-Head TH1520 quad-core RISC-V

Meles credit card sized RISC-V SBC

Meles เป็นบอร์ด SBC (คอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว) ของ Shenzhen Milk-V Technology ที่ใช้โปรเซสเซอร์ T-Head TH1520 quad-core RISC-V และมีฟอร์มเฟคเตอร์ขนาดเท่าบัตรเครดิตเหมือนกับ Raspberry Pi 3 Model B เป็นบอร์ดทรงพลังกว่าด้วยชิปประมวลผลที่มีความเร็ว 2.0 GHz quad-core และมาพร้อมกับ GPU ที่ทันสมัย สามารถถอดรหัสและเข้ารหัสวิดีโอความละเอียด 4K ได้ และมีหน่วยประมวลผล AI ประสิทธิภาพสูง 4 TOPS บอร์ดยังมีคุณสมบัติเช่น Ethernet แบบ gigabit, โมดูล WiFi 5 และ Bluetooth 5.2, พอร์ต USB 3.0 4 ช่อง, พอร์ต HDMI 2.0 สำหรับแสดงผลวิดีโอ, อินเตอร์เฟซ MIPI CSI และ DSI, และ GPIO header 40 ขา สเปคของ Meles: SoC – Alibaba T-Head TH1520 CPU โปรเซสเซอร์ Quad-core RISC-V Xuantie C910 (RV64GCV – มี Vector Extension เวอร์ชัน 0.7) สูงสุด 2.0 GHz X […]

บอร์ดพัฒนา RPGA Feather ได้รวมชิป RP2040 กับ Lattice iCE40 FPGA สำหรับโครงการ Sensor Fusion

rpga feather board

บอร์ด RPGA Feather ของ Oak Development Technologies ได้รวมไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 เข้ากับ iCE5LP4K FPGA ของ Lattice Semiconductor ลงในบอร์ดพัฒนาขนาดเล็กฟอร์มแฟคเตอร์ Adafruit Feather iCE5LP4K FPGA เป็นชิปที่ใช้พลังงานต่ำ (ultra-low-power) ในตระกูลผลิตภัณฑ์ iCE40 Ultra ที่ออกแบบมาสำหรับแอปพลิเคชันบนมือถือ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และอุปกรณ์พกพา ส่วนไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 ทำให้การเขียนโปรแกรมด้วย CircuitPython บน FPGA ง่ายขึ้น ก่อนหน้านี้เราจะได้เห็นผลิตภัณฑ์ของ Oak Development Technologies ที่ใช้ฟอร์มแฟคเตอร์ Adafruit Feather เช่น บอร์ด IcyBlue (ที่ใช้ก iCE5LP4K FPGA) และ Lattice FeatherWing สเปคของ RPGA Feather: MCU – ไมโครคอนโทรลเลอร์  Raspberry Pi RP2040 dual-core Cortex-M0+  @ 133 […]