เปิดตัว Raspberry Pi Pico 2 พร้อมชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ที่ใช้ซีพียู RISC-V หรือ Arm Cortex-M33 แบบ Dual-core

Raspberry Pi Pico 2

Raspberry Pi Pico 2 เป็นบอร์ดพัฒนา MCU ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ใหม่ Raspberry Pi RP2350 ซึ่งมีคอร์ RISC-V แบบ dual-core หรือ Cortex-M33 แบบ dual-core พร้อม SRAM บนชิปขนาด 520 KB, flash ขนาด 4MB, พอร์ต micro USB สำหรับการจ่ายไฟและโปรแกรม และมีขา GPIO headers เหมือนกับบอร์ด Raspberry Pi Pico ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2040 dual-core Cortex-M0+ พร้อม SRAM ขนาด 264KB RP2350 มีทั้งซีพียู Hazard3 RISC-V  แบบ dual-core ที่เป็น open-source  และ Cortex-M33 แบบ dual-core, แต่สามารถใช้ได้เพียงหนึ่งคลัสเตอร์ในแต่ละครั้ง นอกจากการมีคอร์ MCU ที่เร็วขึ้นและ SRAM ที่มีความจุสูงขึ้นแล้ว RP2350 ยังคล้ายกับ RP2040 แต่มี PIO block เพิ่มอีกหนึ่ง รวมทั้งหมดเป็นสาม ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญคือความปลอดภัยในตัวเมื่อใช้คอร์ Arm Cortex-M33 ที่มี […]

บอร์ดพัฒนา ESP32-P4-Function-EV-Board พร้อมหน้าจอ 7 นิ้วและโมดูลกล้อง ราคาประมาณ 2,000 บาท

ESP32-P4 development board

Espressif Systems ได้เปิดตัว “ESP32-P4-Function-EV-Board” เป็นบอร์ดพัฒนา ESP32-P4 อย่างเป็นทางการ ขณะนี้มีวางจำหน่ายในปริมาณจำกัดที่ร้าน Espressif บน AliExpress ราคา $55.44 (~2,000฿) และร้านค้า AliExpress อื่นๆ โดยบอร์ดพัฒนามาพร้อมหน้าจอสัมผัสขนาด 7 นิ้วและโมดูลกล้อง 2MP ESP32-P4 เปิดตัวครั้งแรกในเดือนมกราคม 2023 เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ RISC-V ชนิดใช้งานทั่วไป (general-purpose) ตัวแรกจาก Espressif Systems ที่ไม่รองรับการสื่อสารไร้สาย เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ระดับไฮเอนด์ ที่ใช้ RISC-V dual-core มีความเร็ว 400 MHz} ชุดคำสั่ง vector instructions สำหรับ AI Acceleration, 2D graphics accelerato สำหรับอินเทอร์เฟสกราฟิกที่ราบรื่น และรองรับการเข้ารหัสวิดีโอ H.264 มีการพูดถึงบอร์ดนี้มากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และ […]

เปิดตัว Linux 6.10 พร้อมเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสถาปัตยกรรม Arm, RISC-V และ MIPS

Linux 6.10 Release Changelog

Linux Torvalds ได้ประกาศเปิดตัว Linux 6.10 บน LKML (Linux kernel mailing list), เมื่อประมาณ 2 เดือนทีผ่านมาได้เปิดตัว Linux 6.9 โดยเพิ่มการรองรับ Intel Flexible Return and Event Delivery (FRED), การรองรับการรัน AMD Secure Nested Paging (SNP) guests, การแก้ไขปัญหา “Register File Data Sampling” (RFDS) ซึ่งเป็นช่องโหว่ทางฮาร์ดแวร์ที่มีผลกระทบกับ Intel Atom CPUs, ฟีเจอร์ named address spaces ของ GCC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูล per-CPU, และการรองรับเบื้องต้นสำหรับ FUSE passthrough รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน Linux 6.10 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญบางส่วนใน Linux 6.10: การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่าย – เพิ่มประสิทธิภาพการส่งแบบ zero-copy โดยใช้ io_uring และการรวมหล […]

NanoKVM – โซลูชัน KVM over IP ขนาดจิ่วแบบพลังงานต่ำที่ใช้ RISC-V ราคา 700฿

NanoKVM Tiny RISC-V KVM

Sipeed NanoKVM เป็นโซลูชัน KVM over IP ขนาดจิ๋วที่ใช้บอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ Lichee RVNano RISC-V ซึ่งมีคุณสมบัติส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในโซลูชัน PiKVM ยอดนิยมที่ใช้ Raspberry Pi 4 ทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมโฮสต์ เช่น คอมพิวเตอร์, เซิร์ฟเวอร์ หรือบอร์ด SBC จากระยะไกลได้อย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ระดับ BIOS และเปิด/ปิดเครื่องได้ มีให้เลือกสองรุ่น คือ NanoKVM Lite และ NanoKVM Full ทั้งสองรองรับการแสดงผลสูงสุด 1080p60, คีย์บอร์ดและเมาส์ USB เสมือน, การจำลองที่เก็บข้อมูล USB, Ethernet พร้อม Wake-on-LAN, และ IPMI (อินเทอร์เฟสการจัดการแพลตฟอร์มอัจฉริยะ) ผ่านพอร์ตอนุกรม แต่รุ่น Full ยังมีเคสเรซิน, จอแสดงผลข้อมูลขนาด 0.96 นิ้ว, การควบคุมพลังงาน ATX ผ่านพอร์ต USB-C, microSD card ที่มีเฟิร์มแวร์ และรองรับ WiFi หรือ PoE เป็นอุปกรณ์เสริม สเ […]

Sipeed Tang Mega 138K Dock : บอร์ดพัฒนารุ่นประหยัดที่ใช้ GOWIN GW5AST FPGA และ RISC-V SoC

Sipeed Tang Mega 138K Dock

Sipeed Tang Mega 138K Dock เป็นรุ่นประหยัดของบอร์ดพัฒนา Tang Mega 138K Pro ที่เปิดตัวไปแล้วมาพร้อมกับ GOWIN GW5AST FPGA + RISC-V SoC, SPF+ Cages 2 ช่อง, อินเทอร์เฟส PCIe 3.0 x4 และพอร์ต DVI Rx และ Tx Tang Mega 138K Dock รุ่นใหม่ยังใช้ GW5AST FPGA SoCแต่มีแพ็คเกจ 484-ball ที่ใส่ในโมดูลที่มีขนาดเล็กกว่า และไม่มีช่องเสียบ SPF+ cages, เปลี่ยนอินเทอร์เฟส PCIe 3.0 x4 เป็นอินเทอร์เฟส PCIe 2.0 x4 และใช้พอร์ต HDMI เดียวสำหรับ DVI Rx หรือ Tx โมดูล Sipeed Tang Mega 138K มาดูสเปคของโมดูล (SoM) กันก่อน: SoC FPGA – GOWIN GW5AST-LV138FPG 484A พร้อมด้วย 138,240 LUT4 1,080 Kb Shadow SRAM (SSRAM) 6,120 Kb Block SRAM (BSRAM) จำนวน BSRAM – 340 298x DSP slices 12x PLLs 16x global clocks 24x HCLK 8x transceivers ที่ 270Mbps ถึง 12.5 […]

Quectel FLM263D : โมดูล 2.4 GHz WiFi 6 และ BLE 5.2 ที่มี MCU RISC-V รองรับ Amazon Alexa Connect Kit (ACK) SDK สำหรับ Matter

Quectel FLM263D WiFi 6 Smart Home module

Quectel Wireless FLM263D เป็นโมดูลที่รองรับการใช้งาน WiFi 6 และ Bluetooth 5.2 LE แบบสแตนด์อโลนที่มาพร้อมกับไมโครคอนโทรลเลอร์ RISC-V 320 MHz ซึ่งรองรับ Alexa Connect Kit (ACK) SDK สำหรับ Matter เพื่อการเชื่อมต่อกับ Amazon Alexa, Google Home, Samsung SmartThings, Apple HomeKit และอุปกรณ์ Smart Home ที่เข้ากันได้กับ Matter อื่นๆ โมดูลนี้ยังใช้มาตรฐานความปลอดภัย เช่น การบูตที่ปลอดภัยและการเข้ารหัส Mbed TLS encryption, FLM263D มีการนำเสนอการรับรอง เช่น ทำงานร่วมกับ Alexa (WWA) และรองรับฟีเจอร์ต่างๆ เช่น Matter Simple Setup (MSS) ที่ช่วยให้ตั้งค่าอุปกรณ์สมาร์ทโฮมที่เข้ากันได้กับ Matter แบบ Zero-touch ผ่านทาง Alexa สเปคของ Quectel FLM263D: MCU – ไมโครคอนโทรลเลอร์ไร้สาย RISC-V สูงถึง 320 MHz พร้อม SRAM 512KB และแฟลช 4M […]

บอร์ด Pine64 Oz64 SBC ที่มี CPU RISC-V+Arm รองรับ NuttX RTOS และ Debian Linux

Pine64 Oz64

Pine64 Oz64 เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว (SBC) ขนาดเท่าบัตรเครดิตที่กำลังจะเปิดตัว โดยใช้โปรเซสเซอร์ SOPHGO SG2000 ที่มี RISC-V+Arm(+8051) ซึ่งในขณะนี้สามารถรันระบบปฏิบัติการ NuTTX RTOS และ Debian Linux Oz64 ชื่อนี้ได้รับแรงบันดาลใจจาก Pine64 Ox RISC-V SBC รุ่นก่อนหน้า เป็นบอร์ดแบบฝังตัวที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย DRAM ขนาด 512 MB ที่รวมอยู่ใน SG2000, มีช่อง microSD card, คอนเนกเตอร์โมดูล eMMC flash, พอร์ต Ethernet, WiFi 6 และ Bluetooth 5.2, พอร์ต USB 2.0 Type-A host และ GPIO header 26 ขา สเปคของ Pine64 Oz64: SoC – SOPHGO SG2000 คอร์หลัก – 1 GHz 64-bit RISC-V C906 หรือ Arm Cortex-A53 (เลือกได้) คอร์รอง – 700 MHz 64-bit RISC-V C906 คอร์ประหยัดพลังงาน – 25 ถึง 300 MHz 8051 MCU พร้อม 8KB SRAM NPU – 0.5 TOPS INT8, รอ […]

SiFive เปิดตัวซีพียู RISC-V Essential Gen4 สำหรับแอพพลิเคชันแบบฝังตัว

SiFive Essential Gen4 RISC-V CPU IP

ในขณะที่การประชุม RISC-V Summit Europe 2024 กำลังดำเนินอยู่ SiFive ได้ประกาศเปิดตัวซีพียู RISC-V “Essential” รุ่นที่สี่ในกลุ่ม “Essential” (Essential Gen4) ที่มีประสิทธิภาพในการใช้พลังงานที่ดีขึ้นและมีอินเทอร์เฟสที่ยืดหยุ่นมากขึ้นสำหรับ SoC ที่ใช้ในอุปกรณ์แบบฝังตัว (embedded devices) การอัปเดตนี้ครอบคลุมคอร์ RISC-V  32 บิตและ 64 บิต รวมถึงโปรเซสเซอร์แอปพลิเคชัน 64 บิตในซีรีส์ U6 และU7, โปรเซสเซอร์ฝังตัวแบบเรียลไทม์ 64 บิตในซีรีส์ S2, S6, และ S7, และโปรเซสเซอร์ฝังตัวแบบเรียลไทม์ 32 บิตในซีรีส์ E2, E6, และ E7 คุณสมบัติหลักของ Essential Gen4 IP: ลดการใช้พลังงานขณะทำงานสูงสุดถึง 40% 8x  ความแตกต่างของคอร์ฝังตัวพื้นฐาน 32 บิตและ 64 บิต ตั้งแต่ 2-stage single-issue ไปจนถึง 8-stage superscalar ปรับปรุงแคช […]