Inky Frame 7.3″ : จอแสดงผล ePaper 7 สีที่ใช้ Raspberry Pi Pico 2 W

Inky Frame 7.3 inch ePaper display

Inky Frame 7.3″ เป็นจอแสดงผล ePaper ที่ใช้ Raspberry Pi Pico 2 W พร้อมหน้าจอ E Ink ขนาด 7.3 นิ้ว ความละเอียด 800 x 480 พิกเซล รองรับการแสดงผล 7 สี มาพร้อมฟีเจอร์อื่นๆ เช่นปุ่มที่มีไฟ LED 5 ปุ่ม, คอนเนกเตอร์ Qwiic/STEMMA QT จำนวน 2 พอร์ต, ช่องใส่ microSD card, และช่องต่อแบตเตอรี่ที่รองรับการประหยัดพลังงาน จอแสดงผล Pico 2 W ePaper นี้เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการพลังงานต่ำ เช่น แดชบอร์ดอัตโนมัติในบ้าน, การแสดงข้อมูลจากเซนเซอร์, และการแสดงภาพแบบคงที่ เทคโนโลยี E Ink ช่วยประหยัดพลังงานโดยใช้ไฟเฉพาะตอนรีเฟรชหน้าจอ และยังสามารถคงภาพเดิมไว้ได้แม้ไม่มีไฟเลี้ยง ตัวจอสามารถติดตั้งได้หลากหลายรูปแบบและมาพร้อมขาโลหะสำหรับการตั้งวาง เราเคยพูดถึง Waveshare 4-inch Spectra จอแสดงผล ePaper 6 สี รวมถึงโมดูลอื่นๆ เช่น Inkycal v3, […]

WeAct RP2350A_V20 : บอร์ด Raspberry Pi RP2350 ราคาถูกพร้อมหน่วยความจำ Flash สูงสุด 16MB

Weact RP2350A_V20

WeAct RP2350A_V20 อาจจะเป็นบอร์ด Raspberry Pi RP2350 ที่ราคาถูกที่สุดในโลก โดยมีการออกแบบที่คล้ายกับ Raspberry Pi Pico 2 (official) แต่ใช้ PCB สีดำ มีปุ่มรีเซ็ต พอร์ต USB-C และตัวเลือกหน่วยความจำแบบ Flash ขนาด 4MB หรือ 16MB, WeAct จำหน่ายบอร์ด RP2350 ในราคา $3.47(~120฿) สำหรับ 4MB และ $4.46(~150฿) สำหรับ 16MBราคานี้ยังไม่รวมค่าขนส่งและภาษี สเปคของ WeAct RP2350A_V20: SoC – Raspberry Pi RP2350A ซีพียู Arm Cortex-M33 แบบ Dual-core @ 150 MHz พร้อม Arm Trustzone, Secure boot และ Hazard3 RISC-V 32 บิต แบบ Dual-core @ 150 MHz สามารถใช้งานคู่กันได้สูงสุด 2 คอร์ แต่จะไม่สามารถทำงานได้พร้อมกัน หน่วยความจำ – SRAM บนชิปขนาด 520 KB แพ็กเกจ – QFN-60 หน่วยเก็บข้อมูล – QSPI flash ขนาด 4 MB หรือ 16MB บนบอร์ด USB – พอร์ต USB Typ […]

Pico W5 : บอร์ดทางเลือก Raspberry Pi Pico 2 W ที่ใช้ MCU RP2350 พร้อม WiFi 4 แบบ dual-band, flash 8MB

Pico W5 board

Pico W5 เป็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ Raspberry Pi RP2350 เป็นทางเลือกสำหรับ Raspberry Pi Pico 2 W (official) มาพร้อมการเชื่อมต่อ WiFi 4 แบบ dual-band (2.4GHz/5GHz) และBluetooth 5.0 ผ่านโมดูลไร้สาย B&T BW16 เมื่อเทียบกับ Raspberry Pi Pico 2 W แล้วมีการเปลี่ยนแปลงที่นอกเหนือจากการรองรับ WiFi dual-band  เช่นคอนเนคเตอร์ USB Type-C, หน่วยความจำแฟลชขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 8MB, และมีปุ่ม Reset เพิ่มเติม อีกทั้งยังถือเป็นบอร์ด RP2350 ตัวแรกที่รองรับ WiFi 5GHz เนื่องจากบอร์ด RP2350 รุ่นอื่นๆ ที่มี WiFi เช่น Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5 และ Pimoroni Pico Plus 2 W รองรับเฉพาะ WiFi 2.4GHz เท่านั้น สเปคของ Pico W5: SoC  – Raspberry Pi RP2350 CPU Arm Cortex-M33 แบบ Dual-core @ 150 MHz พร้อม Arm Trustzone, Secure boot และ Hazard3 RISC- […]

4D Systems เปิดตัวโมดูลแสดงผลที่ใช้ Raspberry Pi RP2350 แบบสัมผัสและไม่สัมผัสสำหรับใช้งานระบบฝังตัว

gen4 rp2350 RP2350 display modules

บริษัทจากออสเตรเลียที่เชี่ยวชาญด้านโซลูชันจอแสดงผลอัจฉริยะ ได้เปิดตัวโมดูลจอแสดงผลที่ใช้ Raspberry Pi RP2350 ซึ่งมีให้เลือกทั้งรุ่นรองรับระบบสัมผัสและไม่มีระบบสัมผัส โมดูลจอแสดงผลมีให้เลือกทั้งหมด 8 ขนาด ตั้งแต่ 2.4 นิ้ว ถึง 9.0 นิ้ว พร้อมความละเอียดหลากหลาย ตั้งแต่ 240×320 พิกเซล ไปจนถึง 800×480 พิกเซล ได้รับการรับรอง “Powered by Raspberry Pi” และใช้ประโยชน์จากสถาปัตยกรรมแบบ dual-coreและฟีเจอร์ความปลอดภัยของ Raspberry Pi RP2350 เพื่อรองรับการใช้งานระดับมืออาชีพที่มีความปลอดภัยและการอกแบบ User Interface ที่ทันสมัย 4D Systems เป็นที่รู้จักอย่างดีในด้านจอแสดงผลคุณภาพสูงที่ออกแบบมาเพื่อพัฒนาระบบฝังตัวที่มี UI ที่ซับซ้อน สำหรับโมดูลจอแสดงผล gen4-RP2350 ทุกรุ่นมีตัวเลือกแผงสัมผัส 4 แบบ ได้แก่ แบบไม่มีสัมผัส, แบบสัมผ […]

Waveshare เปิดตัวบอร์ดพัฒนา USB-C ที่ใช้ RP2350 จำนวน 3 รุ่นที่มีขา Castellated, รองรับแบตเตอรี่และพอร์ต Ethernet ในตัว

Waveshare RP2350 development boards

Waveshare ได้เปิดตัวบอร์ดพัฒนา USB-C และ USB-A ทั้งหมด 4 รุ่นที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ได้แก่บอร์ดพัฒนา Waveshare RP2350-Plus, บอร์ดพัฒนา Waveshare RP2350-Zero Mini, บอร์ดพัฒนา Waveshare RP2350-ETH Mini และบอร์ดพัฒนา USB Waveshare RP2350-GEEK RP2350-Plus เป็นบอร์ดพัฒนาประสิทธิภาพสูงในราคาประหยัดที่มีลักษณะคล้าย Raspberry Pi Pico พร้อมไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350, พอร์ต USB Type-C, รองรับแบตเตอรี่ และเข้ากันได้กับโมดูล Raspberry Pi Pico รุ่นต่างๆ, ส่วน RP2350-Zero Mini เป็นบอร์ดพัฒนาขนาดกะทัดรัดพร้อมด้านข้างมีขาแบบ Castellated, GPIO 29 พิน, รองรับ USB Type-C, PIO และอุปกรณ์ต่อพ่วงหลากหลาย เหมาะสำหรับ IoT, หุ่นยนต์ และระบบฝังตัว, RP2350-ETH Mini มีการรองรับพอร์ต Ethernet และฟังก์ชัน GPIO หลากหลาย เห […]

Waveshare RP2350-GEEK : บอร์ดพัฒนา USB สามารถใช้เป็นเครื่องมือดีบักสำหรับ Raspberry Pi และบอร์ด Arm อื่น ๆ

Waveshare RP2350-GEEK Development Board

Waveshare เปิดตัว RP2350-GEEK เป็นบอร์ดพัฒนาบรรจุอยู่ในเคสพลาสติกที่มีลักษณะคล้าย USB flash drive ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องมือดีบักสำหรับบอร์ด Raspberry Pi และอุปกรณ์ที่ใช้สถาปัตยกรรม Arm อื่น ๆ ได้ บอร์ดพัฒนาใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 และมาพร้อมกับคุณสมบัติต่าง ๆ เช่น จอแสดงผล IPS LCD สี 65K ขนาด 1.14 นิ้ว, อินเทอร์เฟส USB Type-A, ช่องเสียบ microSD ที่รองรับการสื่อสาร SDIO และ SPI, หน่วยความจำ NOR-Flash ขนาด 16MB และพอร์ตการเชื่อมต่อหลากหลาย เช่น 3-pin SWD, USB to UART และ I2C บอร์ดนี้รองรับเครื่องมือดีบัก CMSIS-DAP มาตรฐาน เช่น OpenOCD ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับขั้วต่อดีบัก 3-pin ของ Raspberry Pi สำหรับการดีบักได้ อีกทั้งยังมีเฟิร์มแวร์แบบโอเพ่นซอร์สที่สามารถอัปเกรดได้ง่าย ตัวบอร์ดพัฒนานี้ถูกบรรจุอยู […]

เปิดตัวบอร์ด Raspberry Pi Pico 2 W พร้อมโมดูลไร้สาย WiFi 4 2.4 GHz และ Bluetooth 5.2

Raspberry Pi Pico 2 W

Raspberry Pi Pico 2 W หรือเวอร์ชั่นไร้สายของ Raspberry Pi Pico 2 ได้เปิดตัวแล้ว มาพร้อมกับโมดูลไร้สาย WiFi 4 2.4GHz และ Bluetooth 5.2 ในราคาอย่างเป็นทางการ $7(~240฿) ซึ่งในบทความนี้เราจะมาดูสเปคและรีวิวสั้นๆ ที่ทดลองโค้ดตัวอย่าง WiFi และ Bluetooth นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เราได้เห็นบอร์ด Raspberry Pi RP2350 ที่มาพร้อมกับ WiFi และ Bluetooth เพราะก่อนหน้านี้ Pimoroni ได้เปิดตัวบอร์ด Pico Plus 2 W ที่ใช้ RP2350B MCU และ Raspberry Pi RM2 โมดูลไร้สาย Wi-Fi และ Bluetooth, และ iLabs ก็ได้เปิดตัวบอร์ด Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5 ที่ใช้โมดูลไร้สาย ESP32-C6 แต่ Raspberry Pi Pico 2 W เป็นบอร์ดอย่างเป็นทางการ มีราคาถูกกว่า และคาดว่าจะได้รับความนิยมและการใช้งานอย่างแพร่หลายมากที่สุด สเปคของ Raspberry Pi Pico 2 W SoC – Raspberr […]

การจัดเก็บข้อมูล (Data Acquisition) ความเร็วสูงด้วยอินเทอร์เฟส HSTX ของ Raspberry Pi Pico 2 และดองเกิลวีดีโอแคปเจอร์ HDMI to USB 3.0

Raspberry Pi Pico 2 high speed data acquisition

เราเคยกล่าวถึง อินเทอร์เฟส HSTX (High-Speed ​​Serial Transmit) ของไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ซึ่งเหมาะสำหรับการส่งสัญญาณวิดีโอและอินเทอร์เฟซหน้าจอ เนื่องจากสามารถส่งข้อมูลได้เท่านั้น แต่ไม่สามารถรับข้อมูลได้ Steve Markgraf ได้ค้นพบการใช้งานอินเทอร์เฟส HSTX ในอีกกรณีหนึ่ง คือ การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Acquisition) แบบความเร็วสูง โดยใช้บอร์ด Raspberry Pi Pico 2 ร่วมกับบอร์ด DVI Sock สำหรับ Pico และดองเกิลวีดีโอแคปเจอร์ HDMI to USB 3.0 ที่ใช้ MS2130 เขาสามารถสตรีมข้อมูลแบบเรียลไทม์ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 75 MB/s จาก RP2350 ที่โอเวอร์คล็อกไปยังคอมพิวเตอร์โฮสต์ที่มีพอร์ต USB 3.0 ได้ นอกจากนี้บอร์ด Adafruit Feather RP2350 พร้อมพอร์ต HSTX ที่น่าจะใช้งานได้เช่นกัน แต่ยังไม่ได้ทำการทดสอบ เฟิร์มแวร์ สำหรับ “h […]