tinySniffer อุปกรณ์ USB sniffer ที่ใช้ NanoPi NEO Air SBC โดยเชื่อมต่อผ่าน WiFi

tinySniffer USB capture device

TinySniffer เป็นอุปกรณ์ USB sniffer (ใช้ดักจับข้อมูล) ที่ใช้ NanoPi Neo Air SBC พร้อม Allwinner H3 ออกแบบมาเพื่อดักจับแพ็คเก็ต USB 1.x และ 2.0 จากระยะไกล และข้อมูลที่ดักจับได้สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์แพ็กเก็ตยอดนิยมอย่าง Wireshark ได้ ปัจจุบัน Wireshark สามารถใช้ดักจับแพ็คเก็ต USB ได้เองอยู่แล้ว และเราเคยทำวิศวกรรมย้อนรอย (Reverse Engineering) เพื่อสร้างโซลูชันการจับภาพ USB แบบวิดีโอด้วยวิธีนี้ในอดีต แต่วิธีนี้มีข้อจำกัดบางประการ เช่น ไม่สามารถดักจับแพ็กเก็ต USB ระดับต่ำบางรายการได้ ในกรณีนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือฮาร์ดแวร์ USB sniffer เช่น Total Phase Beagle USB , PhyWhisperer USB หรือ tinySniffer พอร์ต micro USB OTG ของ NanoPi NEO Air SBC เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์โฮสต์และบริษัทได้เพิ่มพอร์ต USB 2.0 […]

บอร์ด SBC และเกตเวย์ IoT อุตสาหกรรมที่ใฃ้ Texas Instruments AM6232/AM6254 มีจำหน่าย 20 ปี

AAEON PICO TI AM62x Sitara PIco ITX SBC

AAEON  เปิดตัว PICO-AM62 เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดียว (SBC) และ SRG-AM62 เป็น เกตเวย์ IoT อุตสาหกรรม ที่ใช้ Texas Instruments AM6232 หรือ AM6254 Sitara Arm Cortex-A53/M4 SoC ออกแบบมาสำหรับทำงานภายในช่วงอุณหภูมิ -40°C ถึง 85°C และมีจำหน่าย 20 ปี เกตเวย์ SRG-AM62 เพียงแค่บรรจุบอร์ด PICO-AM62 pico-ITX SBC ไว้ในเคสโลหะ ทั้งสองรุ่นมีพอร์ต gigabit Ethernet คู่, พอร์ต HDMI 1.4 และ USB 2.0 สองพอร์ต รวมถึงอินเทอร์เฟสการสื่อสาร เช่น RS-232/422/485 และ CAN Bus ระบบได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม รองรับช่วงแรงดันไฟฟ้าอินพุตกว้างตั้งแต่ 9V ถึง 36V สเปคของบอร์ด PICO-AM62 SBC และเกตเวย์ SRG-AM62: SoC – Texas Instruments AM623x (สามารถเลือกได้) AM6232 Sitara พร้อมโปรเซสเซอร์ Arm Cortex-A53 แบบ dual-core ที่ความเร็วสู […]

Radxa X4 : บอร์ด SBC ขนาดเท่าบัตรเครดิต ที่ใช้ Intel N100 ราคาเริ่มต้นที่ 2,200 บาท

Radxa X4 x86 Raspberry Pi 5 SBC

Radxa X4 เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว (SBC) มีขนาดเท่าบัตรเครดิต ที่ใช้ Intel Processor N100 ที่มีราคาใกล้เคียงกับ Raspberry Pi 5 โดยรุ่น RAM 4GB มีราคาประมาณ $60(~2,200฿)  และรุ่น RAM 8GB มีราคาประมาณ $80(~3,000฿) บอร์ด SBC x86 มีคุณสมบัติหลายอย่างเหมือน Raspberry Pi 5 เช่นเอาต์พุต micro HDMI สองพอร์ต, พอร์ต USB 3.2/2.0 สี่พอร์ต, การเชื่อมต่อเครือข่ายEthernet และ WiFi, และGPIO header 40-pin ที่จัดการผ่านไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 การเชื่อมต่อเครือข่ายดีกว่าด้วย 2.5GbE และ WiFi 6, รองรับ M.2 SSD ซึ่งมีความเร็วเร็วกว่าการใช้ PCIe HAT ของ Pi 5 ถึงสี่ถึงแปดเท่า และพอร์ต USB 3.2 มีความเร็วสูงสุดถึง 10 Gbps แต่ข้อเสียหลักคือไม่มีพอร์ต MIPI CSI และ DSI ซึ่งอาจจำเป็นสำหรับโปรเจกต์ที่ต้องการเชื่อมต่อกล้องและจอ […]

เปิดตัว Linux 6.10 พร้อมเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสถาปัตยกรรม Arm, RISC-V และ MIPS

Linux 6.10 Release Changelog

Linux Torvalds ได้ประกาศเปิดตัว Linux 6.10 บน LKML (Linux kernel mailing list), เมื่อประมาณ 2 เดือนทีผ่านมาได้เปิดตัว Linux 6.9 โดยเพิ่มการรองรับ Intel Flexible Return and Event Delivery (FRED), การรองรับการรัน AMD Secure Nested Paging (SNP) guests, การแก้ไขปัญหา “Register File Data Sampling” (RFDS) ซึ่งเป็นช่องโหว่ทางฮาร์ดแวร์ที่มีผลกระทบกับ Intel Atom CPUs, ฟีเจอร์ named address spaces ของ GCC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูล per-CPU, และการรองรับเบื้องต้นสำหรับ FUSE passthrough รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน Linux 6.10 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญบางส่วนใน Linux 6.10: การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่าย – เพิ่มประสิทธิภาพการส่งแบบ zero-copy โดยใช้ io_uring และการรวมหล […]

เพิ่มการ์ดขยาย M.2 PCIe Gen 3 x4 และช่องเสียบ M.2 จำนวน 2 หรือ 4 ช่องสำหรับอร์ด ODROID-H3/H4 SBC

ODROID-H4 M2 4x1 card

คอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว (SBC) ODROID-H3 และ ODROID-H4 x 86 สามารถเพิ่มการ์ดขยาย M.2 สองแบบที่มีราคาไม่แพง ด้วยการ์ด M.2 2×2 จะเพิ่มช่อง PCIe Gen 3 x2 ได้สองช่อง และ M.2 4×1 เพิ่มสล็อต PCIe Gen 3 x1 สี่ช่อง (เฉพาะ ODROID-H4 เท่านั้น) ให้กับบอร์ด Intel SBC เราได้เห็นบอร์ด PCIe HAT+ จำนวนมากสำหรับ Raspberry Pi 5 ตั้งแต่เปิดตัวบอร์ด Arm SBC เมื่อปีที่แล้ว แต่บอร์ดนั้นจำกัดด้วยอินเทอร์เฟส PCIe Gen2/Gen3 x1 และ Hardkernel ขณะนี้มีการ์ด M.2 ใหม่สองแบบสามารถใช้ประโยชน์จากช่อง M.2 PCIe Gen3 x4 ของตระกูล ODROID-H3/H4 ทำให้ผู้ใช้สามารถเพิ่มโมดูล M.2 PCIe ได้ถึงสี่ตัวสำหรับการจัดเก็บข้อมูล การเชื่อมต่อแบบมีสายหรือไร้สาย และ/หรือ AI acceleration การ์ด M.2 2×2 สำหรับซีรีย์ ODROID-H3 และ H4 การ์ด M.2 2×2 หรือ “M.2 – NVME” เพิ่ […]

High Torque Robotics Mini π : หุ่นยนต์สองขาที่ใช้บอร์ด Orange Pi 5 SBC

High Torque Robotics mini Pi

Mini π ของ High Torque Robotics เป็นหุ่นยนต์สองขา (Bipedal robot) สูง 54 ซม. สามารถเดินและเต้นได้โดยใช้ขาสองข้าง และใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติของบอร์ด Orange Pi 5 SBC เช่น AI accelerator 6 TOPS ในโปรเซสเซอร์ Rockchip RK3588S หุ่นยนต์นี้มีอิสระในการเคลื่อนไหว 12 องศา (DOF) และสามารถวิ่ง กระโดด และแม้กระทั่งตีลังกาได้ด้วยมอเตอร์ข้อต่อ 12 ตัวที่บริษัทพัฒนาขึ้น Mini π ถูกออกแบบมาเพื่อการวิจัยอัลกอริทึมการเคลื่อนไหวและการศึกษา และรองรับอัลกอริทึมการควบคุมการเคลื่อนไหว ZMP (Zero Moment Point), MPC (Model Predictive Control), reinforcement learning locomotion control และฟีเจอร์ ROS SLAM navigation คุณสมบัติเด่นของหุ่นยนต์สองขา Mini π: บอร์ด SBC – คอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว Orange Pi 5 RK3588S ตัวควบคุม –  “high-performance u […]

Banana Pi เปิดตัวโมดูล WiFi 7 “BPI-R4-NIC-BE14” สำหรับบอร์ด BPI-R4 SBC ราคา 2,700฿

BPI-R4-NIC-BE14 WiFi 7 Module

เมื่อปีที่แล้ว Banana Pi BPI-R4 ได้เปิดตัวเป็นบอร์ดเราเตอร์ WiFi 7 ที่มีพอร์ต 10GbE SFP cages 2 ช่องและพอร์ต GbE จำนวน 4 ช่อง ที่ใช้ชิป MediaTek Filogic 880 SoC แต่ปัญหาคือ WiFi 7 ที่ใช้ผ่านโมดูล mini PCIe สองช่องที่ไม่สามารถใช้งานได้ และตอนนี้ Banana Pi เปิดตัว BPI-R4-NIC-BE14 เป็นโมดูล WiFi 7 แบบ Tri-band สำหรับบอร์ด Banana Pi BPI-R4 สามารถซื้อได้แล้วในราคา$73.69 (~2,700฿) บน Aliexpress โดยโมดูลนี้ใช้ชิปเซ็ต MediaTek MT7995AV WiFi 7, ชิปเซ็ต MT7976CN dual-band (2.4GHz และ 5GHz) และชิปเซ็ต MT7977IAN 6GHz ข้อมูลจำเพาะของ Banana Pi BPI-R4-NIC-BE14: MediaTek MT7995AV WiFi 7 – รองรับ IEEE 802.11 a/b/g/n/ac/ax/be MCU RISC-V 32 บิตสำหรับโปรโตคอล Wi-Fi และการ offload Wi-Fi Embedded SRAM และ ROM อินเทอร์เฟส UART พร้อม […]

บอร์ดป้ายดิจิทัลและจอแสดงผลอัจฉริยะ ที่ใช้โมดูล Allwinner T527 พร้อมอินเทอร์เฟสจอแสดงผลแบบ HDMI, eDP, MIPI DSI และ LVDS

Allwinner T527 digital signage board

บอร์ด MYD-LT527-SX ของ MYiR Tech เป็นบอร์ดที่ออกแบบมาสำหรับแอปพลิเคชันป้ายดิจิทัลและจอแสดงผลอัจฉริยะ โดยใช้ MYC-LT527 โมดูล Allwinner T527 ของบริษัท และมีอินเทอร์เฟสจอแสดงผลหลากหลาย เช่น HDMI, eDP, MIPI DSI และ LVDS แบบช่องคู่ บอร์ดป้ายดิจิทัลนี้พัฒนาต่อยอดจากบอร์ดพัฒนา MYD-LT527 ของ MYiR Tech โดยมีการออกแบบที่ใหญ่ขึ้นและมีพอร์ตหลายประเภท (GbE คู่, USB 3.0, แจ็คเสียง, เอาต์พุต HDMI) รวมถึงมีตัวเชื่อมต่อเพื่อการขยาย เช่น อินเทอร์เฟส USB 2.0 เพิ่มเติม, ลำโพงและไมโครโฟน, RS232, RS485, CAN Bus และอื่นๆ สเปคบอร์ด MYD-LT527-SX ของ MYiR Tech: SoM – MYC-LT527 system-on-module พร้อม SoC – Allwinner T527 CPU โปรเซสเซอร์ Arm Cortex-A55 แบบ Octa-core ที่มี 4 คอร์ที่ความถี่ 1.80 GHz และ 4 คอร์ที่ความถี่ 1.42 GHz คอร์ E906 R […]