LLMStick – อุปกรณ์ AI และ LLM ในรูปแบบ USB Stick ที่ใช้ Raspberry Pi Zero W สามารถทำงานร่วมกับ llama.cpp ได้

LLMStick

Binh Pham ยูทูบเบอร์และผู้ที่หลงใหลในเทคโนโลยี ได้สร้างอุปกรณ์ AI และ LLM แบบพกพาในรูปแบบ USB stick ชื่อว่า LLMStick โดยใช้ Raspberry Pi Zero W อุปกรณ์นี้นำเสนอแนวคิดของ LLM แบบ Plug-and-Play ที่สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต หลังจากที่ DeepSeek ได้สร้างความฮือฮาด้วยประสิทธิภาพและการเข้าถึงแบบโอเพ่นซอร์ส เราได้เห็นเครื่องมือเช่น Exo ที่ช่วยให้สามารถรันโมเดลภาษาใหญ่ (LLMs) บนกลุ่มอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และบอร์ดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก (SBC) โดยการกระจายภาระการประมวลผลอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ Radxa ยังได้ออกคำสั่งในการรัน DeepSeek R1 (Qwen2 1.5B) บน บอร์ด SBC ที่ใช้ Rockchip RK3588 มี NPU 6 TOPS Pham ตั้งใจที่จะใช้โปรเจ็กต์ llama.cpp เนื่องจากได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับอุปกร […]

มินิพีซีที่ใช้ Intel N100 แบบติดผนัง พร้อมพอร์ต HDMI สามช่อง, พอร์ต USB สามช่อง, การเชื่อมต่อ GbE และ WiFi 6

Wall mountable Intel N100 mini PC

Mekotronics R58-N100 เป็นมินิพีซีที่ใช้ซีพียู Intel Processor N100 โดยมีจุดเด่นหลักคือตัวเครื่องทำจากโลหะพร้อมรูยึดสี่จุดสำหรับติดตั้งเข้ากับผนังโดยตรง คอมพิวเตอร์รุ่นนี้รองรับหน่วยความจำ DDR5 SO-DIMM และที่เก็บข้อมูล M.2 NVMe SSD นอกจากนี้ ยังมาพร้อมพอร์ต HDMI สามช่องที่รองรับความละเอียด 4K, พอร์ต Gigabit Ethernet, WiFi 6, พอร์ต USB 3.0 สามช่อง, พอร์ต USB Type-C และช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม. สเปคของ Mekotronics R58-N100: SoC – Intel Processor N100 CPU – โปรเซสเซอร์ Alder Lake-N  แบบ Quad-core ความเร็วสูงสุด 3.4 GHz (Turbo) GPU – กราฟิก Intel HD 24EU ความเร็ว 750 MHz Cache – แคช 6MB TDP – 6 W หน่วยความจำ – DDR5 8GB หรือ 16GB ที่เก็บข้อมูล – SSD M.2 MVMe ขนาด 128GB, 256GB หรือ 512GB เอาท์พุตวิดีโอ – 3x พอร์ต HDM […]

รีวิว : GEEKOM A6 ที่ใช้โปรเซสเซอร์ AMD Ryzen 7 6800H – Part 3 : ทดสอบประสิทธิภาพบน Ubuntu 24.04

review GEEKOM A6 Ubuntu 24.04

เราได้ดูสเปค แกะกล่องและลองใช้งาน และทดสอบประสิทธิภาพบน Windows 11 ของมินิพีซี GEEKOM A6 ที่ใช้โปรเซสเซอร์ AMD Ryzen 7 6800H พร้อมหน่วยความจำ DDR5 4800MT/s 32GB, M.2 SSD 1 TB ที่มาพร้อมกับปฏิบัติการ Windows 11 Pro ในบทความนี้เราจะทำการทดสอบกับระบบปฏิบัติการ Ubuntu 24.04 Linux โดยเราจะดูภาพรวมซอฟต์แวร์และการทดสอบคุณสมบัติ, ทดสอบประสิทธิภาพ Benchmarks, การทดสอบประสิทธิภาพของที่เก็บข้อมูล (SSD และพอร์ต USB), ทดสอบประสิทธิภาพของระบบเครือข่าย, การทดสอบ Stress test และอุณหภูมิ CPU, เสียงของพัดลม และการใช้พลังงานของมินิพีซี เราจะทำการติดตั้ง Ubuntu 24.04.1LTS ควบคู่ไปกับ Windows 11 เราจึงลดขนาดพาร์ติชัน Windows 11 ลงประมาณครึ่งหนึ่งก่อนที่จะใส่ไดรฟ์ USB เพื่อติดตั้ง Linux distribution และเราจะต้องปิดการใช้งาน BitLocke […]

Sipeed NanoKVM-USB โซลูชัน KVM ผ่าน USB สามารถใช้งานได้กับ Google Chrome หรือเว็บเบราว์เซอร์อื่นที่รองรับ

NanoKVM-USB KVM solution

Sipeed NanoKVM-USB เป็นโซลูชัน KVM ผ่าน USB ที่มีขนาดเล็กและราคาประหยัด รองรับความละเอียด Full HD โดยมีพอร์ตอินพุต HDMI และ USB-C สำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เป้าหมาย และอีกหนึ่งพอร์ต USB-C สำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องโฮสต์เพื่อควบคุมอุปกรณ์เป้าหมายจากระยะไกลด้วยคีย์บอร์ด เมาส์ และการจำลองจอภาพ นอกจากนี้ NanoKVM-USB ยังมีพอร์ต USB Type-A ที่สามารถสลับโหมดระหว่างโฮสต์และอุปกรณ์เป้าหมาย เช่น การใช้ร่วมกันของแฟลชไดรฟ์ระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่อง นี่เป็นโซลูชัน KVM รุ่นที่สามจาก Sipeed ต่อจาก NanoKVM รุ่นแรกที่ใช้ KVM-over-IP ผ่านการเชื่อมต่อ Ethernet ไปยังเครื่องโฮสต์ และ NanoKVM-PCIe ที่ใช้พลังงานจากสล็อต PCIe ของอุปกรณ์เป้าหมาย พร้อมรองรับการเชื่อมต่อกับเครื่องโฮสต์ผ่าน Ethernet หรือ WiFi 6 ขณะที่ NanoKVM-USB ตัดก […]

RP2350-USB-A – บอร์ด Raspberry Pi RP2350 ที่มีพอร์ต USB Type-A เพิ่มเติมโดยใช้การทำงานผ่าน PIO

Raspberry Pi RP2350 board with USB-A port

Waveshare RP2350-USB-A เป็นบอร์ด Raspberry Pi RP2350 ขนาดเล็กที่มาพร้อมกับพอร์ต USB-C สำหรับจ่ายไฟและโปรแกรม รวมถึงพอร์ต USB-A ที่สามารถใช้เป็นอุปกรณ์ USB หรือโฮสต์ผ่านการทำงานของ Programmable IO (PIO) บอร์ดยังมีไฟ RGB LED และ GPIO header สองชุด ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการควบคุมอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อผ่าน GPIO/I2C/UART/SPI เมื่อต่อกับ USB keypad หรืออุปกรณ์อินพุตอื่น ๆ นอกจากนี้ยังสามารถจำลองการทำงานเป็นคีย์บอร์ด เมาส์ หรืออุปกรณ์ USB อื่น ๆ ได้เมื่อต่อเข้ากับโฮสต์ สเปคของ RP2350-USB-A: SoC – Raspberry Pi RP2350 A MCU CPU Dual-core Arm Cortex-M33 @ 150MHz พร้อม Arm TrustZone Dual-core 32-bit Hazard3 RISC-V @ 150MHz สามารถใช้งานคู่กันได้สูงสุด 2 คอร์ แต่จะไม่สามารถทำงานได้พร้อมกัน หน่วยความจำ – SRAM 520KB ที่เก็บข้อมู […]

Brodboost-C : บอร์ดจ่ายไฟสำหรับเบรดบอร์ดแบบ USB Type-C ที่สามารถปรับแรงดันไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 3.3V ถึง 5V

BrodBoost-C USB C power supply breadboard

Axiometa BrodBoost-C เป็นบอร์ดจ่ายไฟสำหรับเบรดบอร์ดแบบ USB Type-C ที่มีการออกแบบเรียบง่าย สามารถจ่ายไฟให้กับรางพลังงานทั้งสองของเบรดบอร์ด โดยสามารถปรับแรงดันไฟฟ้าได้ระหว่าง 3.3V ถึง 5V นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับสวิตช์เปิด/ปิด, ไฟ LED แสดงสถานะ และฟิวส์ป้องกันในตัว สเปคของ BrodBoost-C: แรงดันไฟขาออก – ปรับได้ระหว่าง 3.3V และ 5V DC กระแสไฟสูงสุด – 1A พอร์ตเชื่อมต่อ คอนเนกเตอร์ USB Type-C สำหรับจ่ายไฟเข้า 2x 2×5 พิน (2.54 มม.) สำหรับรางพลังงานและกราวด์ของเบรดบอร์ด 2x 3 พิน (2.54 มม.) สำหรับเลือกแรงดันไฟ พร้อมจัมเปอร์ 2 ตัว ความปลอดภัย – ป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร การกรองสัญญาณรบกวน – ตัวกรองสัญญาณ เฟอร์ไรต์บีด และตัวเก็บประจุสำหรับลดสัญญาณรบกวน อื่นๆ – ไฟ LED แสดงสถานะสีแดง, สวิตช์เปิด/ปิด การควบคุมแรงดันไฟฟ้า: 5.0V เลือกโดย […]

รีวิว: เครื่องแกะสลักเลเซอร์ ACMER P3 48W และเครื่องฟอกอากาศ ACMER AP220 Smoke Air Purifier พร้อมใช้งานกับ LightBurn

ACMER P3 48W Diode Enclosed Laser Engraver review

เครื่องแกะสลักเลเซอร์ ACMER P3 48W เครื่องนี้สามารถแกะสลักและตัดวัสดุได้หลากหลาย เช่น ไม้ อะคริลิก หนัง และโลหะบางที่เคลือบสี มีความละเอียดสูงถึง 0.01 มม.  มาพร้อมโครงสร้างแบบระบบปิดเพื่อความปลอดภัย ป้องกันแสงเลเซอร์และลดการฟุ้งกระจายของควัน มีการระบายอากาศที่มีประสิทธิภาพโดยผ่านการกรองอากาศด้วยเครื่องฟอกอากาศ ACMER AP220 อีกทั้งยังมีกล้องในตัวช่วยในการจัดตำแหน่งงานอย่างแม่นยำและดูตัวอย่างงานก่อนเริ่มแกะสลัก มีฟังก์ชั่นความปลอดภัย เช่น การตัดการทำงานอัตโนมัติเมื่อเปิดฝาเครื่อง ACMER P3 48W  นอกจากนี้ยังรองรับการเชื่อมต่อผ่าน USB, Wi-Fi หรือการ์ด SD เพื่อความสะดวกในการใช้งาน โดยมีซอฟต์แวร์ที่รองรับ เช่น LightBurn และ LaserGRBL ช่วยให้การใช้งานง่ายขึ้น พร้อมรองรับไฟล์หลากหลายรูปแบบ เช่น PNG, JPG, SVG และ DXF จุดเ […]

Intel เสนอการออกแบบ Modular PC สำหรับแล็ปท็อปและมินิพีซีที่สามารถซ่อมแซมได้

Intel modular PC design

Intel ได้เผยแพร่บทความ ที่นำเสนอแนวคิดการออกแบบคอมพิวเตอร์แบบโมดูลาร์ (Modular PC) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการซ่อมแซม (Right-to-Repair) ของแล็ปท็อปและมินิพีซี พร้อมทั้งลดขยะอิเล็กทรอนิกส์ ด้วยการออกแบบที่สามารถเปลี่ยนเมนบอร์ด จอแสดงผล และโมดูลเสริม M.2 หรือ FPC สำหรับพอร์ตที่ใช้งานโดยผู้ใช้ได้ แนวคิดในการสร้างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถซ่อมแซมและปรับแต่งได้ไม่ใช่เรื่องใหม่ Framework laptop ถือเป็นตัวเลือกที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน แต่ก็มีราคาสูงกว่าปกติ อย่างไรก็ตาม โครงการส่วนใหญ่ประสบความสำเร็จในวงจำกัด เช่น Project Ara สมาร์ทโฟนแบบโมดูลาร์จาก Google ที่ในที่สุดก็ต้องปิดตัวลง นอกจากนี้ เรายังเคยนำเสนออุปกรณ์ฮาร์ดแวร์แบบโมดูลาร์หรือแบบโอเพนซอร์สจากบริษัทขนาดเล็กในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เช่น Firefly Statio […]