LinkPi ENC1Pro เป็นอุปกรณ์เข้ารหัสวิดีโอ HDMI แบบมืออาชีพ ขนาดกะทัดรัด รองรับความละเอียดสูงสุดระดับ 4K ที่ 60fps (4Kp60) เหมาะสำหรับงาน ถ่ายทอดสด (Live Streaming) และ การออกอากาศ (Broadcasting) โดยเฉพาะ อุปกรณ์มาพร้อมกับ พอร์ต HDMI 2.0 จำนวน 2 ช่อง (Input และ Output) รองรับความละเอียดสูงสุด 4K @ 60fps และมีไฟ Tally ในตัว สำหรับการใช้งานในสตูดิโอ โดยใช้โปรเซสเซอร์แบบ Quad-core Arm Cortex-A55 (ไม่ระบุชื่อรุ่น) พร้อม RAM DDR4 4GB และ eMMC flash 8GB, รองรับการเข้ารหัสวิดีโอในรูปแบบ H.265 (HEVC), H.264 และ MJPEG, รองรับโปรโตคอลการสตรีมหลากหลาย เช่น NDI HX (ต้องซื้อไลเซนส์แยกตากหาก), RTSP, RTMP, SRT, HTTP, HLS และ ONVIF ฟีเจอร์เด่นอื่นๆ ได้แก่การแสดงภาพซ้อน (Picture-in-Picture), การแสดงหลายหน้าจอ (Multi-view), การใส่ […]
Bestechnic BES2700YP : ชิป Bluetooth Audio ที่ใช้ Arm Cortex-M55 สำหรับ หูฟัง, หูฟังเอียร์บัด และลำโพงพกพา
Bestechnic BES2700YP เป็นชิป SoC แบบ Bluetooth Audio ที่ใช้ซีพียู Arm Cortex-M55 ออกแบบมาสำหรับหูฟังอัจฉริยะที่มีระบบตัดเสียงรบกวนแบบปรับได้ (Adaptive ANC), หูฟัง/เฮดเซ็ต Bluetooth อัจฉริยะ, เครื่องช่วยฟังที่มีระบบ ANC, ลำโพง Bluetooth และอุปกรณ์เสียงพกพาอื่น ๆ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเราได้เขียนเกี่ยวกับตระกูลชิป Ambiq Apollo330 Plus SoC และพบว่านั่นเป็นครั้งแรกที่เราเขียนถึงไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ใช้ Arm Cortex-M55 ซึ่งมีการเชื่อมต่อไร้สายในตัว โดยเฉพาะ Bluetooth LE 5.4 และคลื่นวิทยุ 802.15.4 (รองรับ Thread/Matter) และนั่นเองที่ทำให้เราได้รู้จักกับชิป BES2700YP ซึ่งมีกรณีใช้งานเฉพาะทางมากกว่า เนื่องจากถูกออกแบบมาสำหรับแอปพลิเคชันเสียงผ่าน Bluetooth โดยเฉพาะ คุณสมบัติและสเปคหลักของ Bestechnic BES2700YP: CPU Subsystem […]
บอร์ดพัฒนาที่ใช้ ESP32-P4 พร้อมหน้าจอสัมผัสแบบ IPS ทรงกลม ขนาด 3.4 นิ้ว หรือ 4 นิ้ว
Waveshare ESP32-P4-WIFI6-Touch-LCD-3.4C และ ESP32-P4-WIFI6-Touch-LCD-4C บอร์ดพัฒนาใช้ชิป ESP32-P4 มาพร้อมกับหน้าจอ IPS แบบวงกลมขนาด 3.4 นิ้ว และ 4 นิ้ว ตามลำดับ รองรับระบบสัมผัสแบบ capacitive 10 จุด และมีมุมมองกว้างถึง 170 องศา บอร์ดทั้งสองรุ่นยังมาพร้อมไมโครโฟนคู่ที่มีระบบตัดเสียงสะท้อน (echo cancellation) เพื่อรองรับการใช้งานด้าน voice AI และมีการเชื่อมต่อ Wi-Fi 6 และ Bluetooth 5 (LE) ผ่านโมดูล ESP32-C6 ออกแบบมาสำหรับโครงการ AIoT และ HMI (Human-Machine Interface) โดยมีฟีเจอร์เพิ่มเติม เช่น พอร์ต USB, ขั้วต่อกล้อง, ขั้วต่อลำโพง, และช่องใส่ microSD card โดยมีแอปพลิเคชันเป้าหมาย ได้แก่ แผงควบคุมสมาร์ทโฮม, อินเทอร์เฟซควบคุมด้วยเสียง, แดชบอร์ดดิจิทัล, ระบบตรวจวัดสิ่งแวดล้อมภายในอาคาร, หน้าจอมอนิเตอร์สถานะคอมพิวเตอ […]
Radxa ROCK 4D – บอร์ด SBC มีหน้าตาคล้าย Raspberry Pi แต่ใช้ชิป Rockchip RK3576 พร้อม AI accelerator 6 TOPS
Radxa ROCK 4D เป็นบอร์ด SBC อีกตัวหนึ่งที่ใช้ชิป Rockchip RK3576 โดยมาในขนาดเท่าบัตรเครดิต คล้ายกับ Raspberry Pi 3 รุ่นปกติ พร้อม GPIO header 40 พิน, พอร์ต Gigabit Ethernet และพอร์ต USB จำนวน 4 พอร์ต เราเริ่มเห็น ROCK 4D ครั้งแรกตอนเขียนข่าวเกี่ยวกับ Radxa Dual 2.5G Router HAT และเพิ่งสังเกตว่า Linux 6.15 เริ่มรองรับบอร์ดนี้แล้ว คิดว่าน่าจะถึงเวลาแล้วที่เราจะพูดถึงโดยเฉพาะอย่างยิ่งตอนนี้มีวางจำหน่ายแล้วบน เว็บไซต์ Allnet ในราคาเริ่มต้นที่ $31 (~1,000฿) ยังไม่รวมค่าขนส่ง สเปคของ Radxa ROCK 4D: SoC – Rockchip RK3576 หรือ RK3576J (เวอร์ชันเกรดอุตสาหกรรม) CPU – ซีพียู Octa-core ประกอบด้วย Cortex-A72 cores ที่ 2.2 GHz, 4x Cortex-A53 cores ที่ 2.0 GHz GPU – Arm Mali-G52 MC3 GPU รองรรับ OpenGL ES 1.1, 2.0, 3.2, OpenCL […]
NanoPi M5 – บอร์ด SBC ที่ใช้ Rockchip RK3576 พร้อม HDMI, พอร์ต Gigabit Ethernet คู่, ช่องเสียบ M.2 NVMe และ SDIO WiFi
ตอนนี้ดูเหมือนว่าหลายบริษัทต่างก็เปิดตัวฮาร์ดแวร์ที่ใช้ชิป SoC Rockchip RK3576, ซึ่งเป็นรุ่นน้องของ RK3588 โดยใช้คอร์ Cortex-A72/A53 แทน Cortex-A76/A55 มีการรองรับวิดีโอเอาต์พุตระดับ 4K และใช้ GPU Mali-G52 ซึ่งอยู่ในระดับกลาง แต่ยังคงรองรับอินเทอร์เฟซต่าง ๆ ได้ใกล้เคียงกับรุ่นพี่ ล่าสุด FriendlyELEC ก็เข้าร่วมในตลาดนี้ด้วยบอร์ด NanoPi M5 SBC ที่มาพร้อมกับแรม LPDDR4x 4GB หรือ LPDDR5 16GB , มีซ็อกเก็ตสำหรับโมดูล UFS และ M.2 NVMe SSD, อินเทอร์เฟซแสดงผลแบบ HDMI 2.0 และ MIPI DSI, คอนเนกเตอร์กล้อง MIPI CSI สองช่อง,พอร์ต Gigabit Ethernet สองพอร์ต, ช่องเสียบหูฟัง 3.5 มม. พอร์ต USB 3.0 สองพอร์ต, GPIO header 30 พิน และอื่น ๆ NanoPi M5 specifications: SoC – Rockchip RK3576 CPU – ซีพียูแบบ 8 คอร์ (Octa-core) ประกอบด้วย 4x […]
NXP OrangeBox 2.0 : แพลตฟอร์ม Automotive Domain Controller สำหรับระบบ V2X ที่ใช้ชิป NXP i.MX 94
NXP OrangeBox 2.0 เป็นแพลตฟอร์มพัฒนา Automotive Domain Controller สำหรับระบบ V2X (Vehicle-to-Everything) ที่ใช้โปรเซสเซอร์ NXP i.MX 94 ซึ่งออกแบบมาสำหรับยานยนต์รุ่นใหม่โดยเฉพาะ โดยทำหน้าที่เป็นคอนโทรลเลอร์ศูนย์กลางระหว่าง Gateway ของรถยนต์กับเทคโนโลยีการเชื่อมต่อทั้งแบบใช้สายและไร้สาย พร้อมรองรับฟีเจอร์ เช่น Wi-Fi 6/6E, Bluetooth 5.3, UWB, 5G Cellular และระบบ Secure Car Access ที่เหมาะสำหรับการควบคุมโซนของยานยนต์ (Automotive Zone Controller), ระบบ Smart Car Access และการสื่อสาร V2X นี่เป็นครั้งแรกที่เรากล่าวถึงแพลตฟอร์มที่ใช้ i.MX 94 โดย NXP ระบุว่า OrangeBox 2.0 มีประสิทธิภาพมากกว่ารุ่นก่อนหน้าที่ใช้ NXP i.MX 8XLite SoC ถึง 4 เท่า โดยชิป i.MX 94 มีแกนประมวลผล Cortex-A55, Cortex-M7 และ Cortex-M33 พร้อมด้วยหน่วย […]
Radxa NIO 5A : บอร์ด SBC ขนาดเท่าบัตรเครดิตที่ใช้ชิป Mediatek Genio 520 เปิดตัวโชว์ครั้งแรกในงาน Computex 2025
Radxa NIO 5A เป็นบอร์ด SBC (Single Board Computer) รุ่นใหม่ที่กำลังจะเปิดตัว ซึ่งใช้ชิป MediaTek Genio 520 มีขนาดกะทัดรัดเท่าบัตรเครดิตและมาในฟอร์มแฟคเตอร์ Raspberry Pi โดยมีจุดเด่นที่ราคาทำให้เข้าถึงได้ง่ายกว่า Radxa NIO 12L ที่ใช้ชิป MediaTek Genio 1200 ระดับไฮเอนด์ แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางการของบอร์ดนี้เผยแพร่ทางออนไลน์ แต่เราได้รับภาพถ่ายของบอร์ดจากบูธของ MediaTek ในงาน Computex 2025 ซึ่งเผยให้เห็นว่าบอร์ดรุ่นนี้ใช้ชิป Genio 520 ที่เป็นซีพียูแบบ octa-core (8 แกน) ผสมระหว่าง Cortex-A78 และ Cortex-A55 พร้อมหน่วยประมวลผล AI ที่ให้กำลังถึง 10 TOPS และมาพร้อมกับหน่วยความจำและพื้นที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ในบทความนี้เราจะลองวิเคราะห์จากภาพถ่ายของบอร์ดและใช้ข้อมูลสาธารณะเกี่ยวกับชิป Genio 520 เพื่อคาดเดาสเปกโดย […]
รีวิว M5Stack Tab5 – Part 1: แกะกล่อง, แกะเครื่องและลองใช้งานเบื้องต้นของชุดพัฒนา IoT ขนาด 5 นิ้วที่ใช้ ESP32-P4 และ ESP32-C6
เราได้รับ M5Stack Tab5 ชุดพัฒนา IoT ที่ใช้ชิป ESP32-P4 สำหรับรีวิว, ซึ่งดูเหมือนแท็บเล็ตขนาดเล็ก มาพร้อมกับหน้าจอสัมผัสขนาด 5 นิ้ว กล้องหน้า 2MP โมดูลไร้สาย ESP32-C6 ที่รองรับ WiFi 6, Bluetooth และ 802.15.4 รวมถึงมีอินเทอร์เฟซสำหรับการขยายต่างๆ วันนี้เราจะมาแกะกล่อง แกะเครื่องบางส่วน และลองใช้งานเฟิร์มแวร์และ GUI ที่ติดมากับตัวเครื่องคร่าวๆ ก่อนจะไปดูวิธีการเขียนโปรแกรมให้กับอุปกรณ์นี้ใน Part 2 แกะกล่อง M5Stack Tab5 เราได้รับ Tab5 มาในกล่องแพ็กเกจสำหรับวางจำหน่าย พร้อมกับเทปใสแบรนด์ M5Stack ม้วนหนึ่ง (ยังไม่แน่ใจว่าให้มาทำไม แต่ก็ขอบคุณนะ M5Stack เพราะเทปใสนั้นมีประโยชน์เสมอ!) ด้านล่างของกล่องบรรจุมีการระบุคุณสมบัติเด่นและสเปคทั้งหมด ซึ่งเราได้กล่าวถึงไปแล้วในบทความก่อนหน้านี้เกี่ยวกับ Tab5 ภายในกล่องประกอบด้วย […]