LILYGO T-TWR : บอร์ดที่ใช้ ESP32-S3 พร้อมโมดูลวิทยุสื่อสาร SA868

ESP32 S3 Walkie Talkie board

LILYGO T-TWR เป็นบอร์ดพัฒนา ESP32-S3 ที่มาพร้อมโมดูล SA868 สำหรับวิทยุสื่อสาร (Walkie-Talkie) และสายอากาศ UHF หรือ VHF, ลำโพง, ไมโครโฟน, จอ OLED ขนาดเล็ก 0.96 นิ้ว และช่องใส่แบตเตอรี่ 18650 รวมทั้ง I/O เพื่อการขยายตัวพอร์ตอื่นๆ LILYGO T-TWR มาพร้อมโมดูล ESP32-S3-WROOM-1-16NR8 มีการเชื่อมต่อ WiFi 4 และ Bluetooth 5.0 โปรเซสเซอร์ dual-core พร้อมหน่วยความจำแฟลช 16MB และ PSRAM 8MB ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้สามารถออกแบบวิทยุสื่อสารของตัวเองได้ รวมถึงความสามารถในการขยายพอร์ตเพื่อควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ สเปคของของ LILYGO T-TWR: โมดูลไร้สาย – โมดูล Espressif ESP32-S3-WROOM-1-N16R8 พร้อมไมโครโปรเซสเซอร์ ESP32-S3 dual-core LX7 ที่ความเร็วสูงสุด 240 MHz พร้อม Vector extension สำหรับ Machine learning, หน่วยความจำแฟลช 16MB, PSRAM 8MB , Wi […]

ePulse Feather : บอร์ดพัฒนาใช้ ESP32 และประหยัดพลังงานในโหมด Deep Sleep

ePulse Feather

Thingpulse ePulse Feather เป็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ ESP32 ตาม form factor ของ Adafruit Feather และปรับให้มีการประหยัดพลังงานหรือ Lower-power ในโหมด Deep Sleep อยู่ที่ 12 ถึง 27 uA บอร์ด ePulse Feather ใช้โมดูล ESP32-WROVER ที่มี Flash 8MB และ SPRAM 8MB  และมาพร้อมกับพอร์ต USB-C สำหรับชาร์จแบตเตอรี่และโปรแกรมผ่านชิป CH9102F UART, สามารถเชื่อมต่อขา I/Os headers ที่มาจาก Feather form factor, บอร์ดนี้สามารถนำมาใช้ในรีโมตคอนโทรลเพื่อเชื่อมต่อ WiFi ที่ทำงานด้วยแบตเตอรี่สำหรับระบบอัตโนมัติในบ้านหรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในโหมด sleep จนกว่าผู้ใช้จะกดปุ่มใดปุ่มหนึ่ง สเปคของ ThingPulse ePulse Feather: โมดูลไร้สาย – โมดูล Espressif Systems ESP32-WROVER-E-N8R8 พร้อมไมโครคอนโทรลเลอร์ dual-core ESP32-D0WD-V3 หร […]

SONOFF MINI Extreme (MINIR4) : สวิตช์อัจฉริยะ WiFi ขนาดจิ๋วใช้ ESP32 MCU

SONOFF MINI Extreme 1

SONOFF MINI Extreme (หรือ MINIR4) เป็นสวิตช์อัจฉริยะ WiFi ขนาดจิ๋ว ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ไร้สาย ESP32 และออกแบบมาเพื่อเชื่อมต่อกับโหลด เช่น หลอดไฟและสวิตช์ผนังที่สามารถเป็นสวิตช์ Momentary, สวิตช์ Door exit, สวิตช์ SPDT, สวิตช์แบบ Latching  หรือเซ็นเซอร์สัมผัส ด้วยรูปทรงขนาดจิ๋ว (39.5×33 x16.8 มม.) ทำให้สวิตช์อัจฉริยะ WiFi สามารถใส่ลงในบล็อคไฟต่างๆ ได้ รวมถึงบล็อคไฟขนาดเล็กของยุโรป และเช่นเดียวกับอุปกรณ์ระบบอัตโนมัติในบ้าน SONOFF อื่นๆ MINIR4 สามารถใช้งานกับแอปพลิเคชั่นมือถือ eWelink แต่ยังมีฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจ เช่น โหมด ‘Detach Relay’ สเปคของ SONOFF MINI Extreme (MINIR4) : MCU – Espressif Systems ESP32 dual-core wireless microcontroller การเชื่อมต่อ WiFi 4 ความถี่ 2.4 GHz Bluetooth LE ใช้สำหรับจับคู่ อินพุต […]

Badger 2040 W : ป้ายชื่อหน้าจอ e-Paper สามารถเชื่อมต่อ WiFi และ Bluetooth ที่ใช้ Raspberry Pi Pico W

Badger RP2040 W

Pimoroni Badger 2040 W เป็นป้ายชื่อหน้าจอ e-Paper แบบไร้สายที่สามารถเขียนโปรแกรมได้  มาพร้อมกับจอ E-Ink ขาว-ดำ ขนาด 2.9 นิ้ว และบอร์ด Raspberry Pi Pico W สำหรับการเชื่อมต่อ WiFi (และ Bluetooth) เป็นการอัปเดตสำหรับ Pimoroni Badger 2040 โดยมีจอที่เหมือนเดิม แต่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi Pico W แทน RP2040 ที่ด้านหลังของบอร์ด ซึ่ง Pimoroni อาจติดตั้งเพื่อหลีกเลี่ยงการรับรอง FCC และ CE สเปคของ Badger 2040 W: บอร์ด MCU – บอร์ด Raspberry Pi Pico W พร้อม: Raspberry Pi RP2040 dual-core Arm Cortex M0+ ที่ทำงานได้สูงสุด 133Mhz พร้อม SRAM 264kB จัดเก็บข้อมูล – QSPI flash 2MB สื่อสารไร้สาย – 802.11b/g/n WiFi 4 และ Bluetooth Classic+LE พร้อมสายอากาศ ABRACON onboard (Infineon CYW43439 เชื่อมต่อผ่าน SPI) จอแสดงผล […]

การเปิดตัว Linux 6.2 – กับเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรม Arm, RISC-V และ MIPS

Linux 6.2 release

Linus Torvalds ได้เปิดตัว Linux 6.2 พร้อมกับการประกาศบน LKML ตามปกติ Linux 6.1 รุ่นก่อนหน้านี้ได้เปิดตัวเป็น LTS (Long Term Support) kernel พร้อมรองรับภาษาโปรแกรม Rust และ KMSAN kernel memory sanitizer รวมถึงการปรับปรุง Multi-gen LRU (MG-LRU) เพื่อการจัดการ swap file/partition ที่ดีขึ้น และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อีกมากมาย จุดเด่นของลินุกซ์ 6.2 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน Linux 6.2 ประกอบด้วย: Linux 6.2 มีการปรับปรุงในการแก้ไขช่องโหว่ Retbleed ที่เกิดจาก speculative execution บน x86-64 และ ARM processors ให้เร็วขึ้น และ FineIBT –ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อประสิทธิภาพของระบบ แต่ Linux 6.2 ได้พัฒนาวิธีการแก้ไขที่เบากว่าด้วยการใช้ซอฟต์แวร์เท่านั้นสำหรับชุดคำสั่ง Skylake-based cores โดยที่การเปิดใช้งาน IBRS จะไม่มีผลกระทบต่ […]

ชิปเซ็ต MediaTek Dimensity 7200 ที่ใช้ Armv9 Cortex-A715/A510 เพื่อสมาร์ทโฟน 5G ระดับกลาง

MediaTek Dimensity 7200

เปิดตัวชิปเซ็ต MediaTek Dimensity 7200 ใหม่ล่าสุดที่ใช้กระบวนการผลิตด้วย 4 นาโนเมตร ที่ออกแบบมาสำหรับสมาร์ทโฟนระดับกลาง และมีตัวประมวลผล Armv9 Octa-core ประกอบด้วย Cortex-A715 สองคอร์, Cortex-A510 หกคอร์ พร้อมกับ GPU Mali-G610 MC4 สามารถการเชื่อมต่อ 5G, WiFi 6E และ Bluetooth 5.3  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนถึงตอนนี้ ฉันได้เห็นเพียง Armv9 SoCs ที่มีคอร์ Cortex-A510 “LITTLE” ร่วมกับ,คอร์ Cortex-A710 /A715 “big” และคอร์ Cortex-X2 หรือ Cortex-X3 “flagship cores” ที่พบในตัวประมวลผล Dimensity 9200 แต่ Dimensity 7200 เป็นหนึ่งในตัวประมวลผล Armv9 รุ่นแรกที่ไม่มีคอร์ Cortex-X เพื่อให้เป็นตัวเลือกที่มีราคาถูกกว่าและที่เห็นอีกตัวหนึ่งคือ Snapdragon 7 Gen 1 สเปคของ MediaTek Dimensity 7200: CPU 2x Arm Cortex-A715 สูงสุด 2.8GHz […]

โมเดม Snapdragon X75 รองรับ 5G Advanced สำหรับสมาร์ทโฟน, IoT และเราเตอร์ FWA

Snapdragon X75 5G Advanced modem

Qualcomm Snapdragon X75 เป็น 5G Modem-RF System ล่าสุดจากบริษัทรองรับการเชื่อมต่อ 5G Advanced สำหรับสมาร์ทโฟน, รถยนต์, พีซี, อุปกรณ์ IoT ระดับอุตสาหกรรม  และเราเตอร์ 5G Fixed Wireless Access (FWA) การใช้เทคโนโลยี 5G กำลังเป็นเรื่องที่สับสนมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่นานนี้ Qualcomm เพิ่งเปิดตัวโมเดม 5G NR-Light สำหรับสมาร์ทวอทช์, อุปกรณ์ IoT อุตสาหกรรม และแว่นตา XR, และล่าสุด Qualcomm ก็ได้เปิดตัวได้เปิดตัวโมเดม Snapdragon X75 เป็นโมเดมตัวแรกของโลกที่รองรับมาตรฐาน “5G Advanced”  เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของตลาดในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่เอื้อต่อการเพิ่มความเร็ว พื้นที่ครอบคลุม ความคล่องตัว ประสิทธิภาพการใช้พลังงานและอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ด้วยการใช้ 5G NR Release 18 ที่มีการปรับปรุงขึ้น คุณสมบัติและเสปคที่สำคัญของโมเดม […]

M5Stamp S3 : โมดูล IoT รองรับ WiFi และ BLE, GPIO 23 ขา ระยะห่าง 2.54 และ 1.27 มม.

M5Stamp S3

M5Stamp S3 หรือ M5Stamp ESP32S2 หรือ Stamp S3 เป็นโมดูล IoT ที่ใช้ ESP32-S3 ขนาดจิ๋ว รองรับ WiFi และ Bluetooth LE (BLE) มีพอร์ต USB Type-C, มีขา I/O มากกว่า 20 ขา Pin Header มีระยะห่าง 2.54 มม. และ 1.27 มม. และเป็นรูแบบ Castellated holes และเคสกันความร้อน ในปัจจุบันมีการเปิดตัวแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์ ESP32-S3 “ใหม่” จำนวนมาก ซึ่งเป็นการอัพเดตจากการออกแบบ ESP32 และ M5Stamp S3 ของ M5Stack ก็สร้างขึ้นจาก M5Stamp Pico รุ่นก่อน และรุ่น ต่างๆของ ESP32-C3 ได้แก่ M5Stamp C3 และ C3U สเปคของ M5Stamp S3: WiSoC – Espressif Systems ESP32-S3FN8  ใช้ตัวประมวลผล Xtensa LX7 dual-core 32-บิต  พร้อมชุดคำสั่ง vector ในประมวลผลด้าน AI สูงสุด 240MHz, มี RISC-V ULP เป็น co-processor, SRAM 512KB , WiFi 2.4GHz (802.11b/g/n), Bluetooth 5.0 B […]