ESP32-H2-DevKitM-1 – บอร์ดพัฒนา ESP32-H2 ราคาประมาณ 340฿

ESP32 H2 DevKitM 1

Espressif Systems ได้เปิดตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-H2 Bluetooth 5.2 LE & 802.15.4 RISC-V เมื่อเดือนสิงหาคม 2021 และบอร์ดพัฒนา ESP32-H2-DevKitM-1 ที่ใช้โมดูล ESP32-H2-MINI-1 ได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อไม่กี่สัปดาห์ ซึ่งขายเฉพาะที่ร้าน Espressif’s Aliexpress ราคา $9.90 (~340฿) บอร์ดพัฒนา ESP32-H2-DevKitM-1 ช่วยให้สามารถพัฒนาแอปพลิเคชันการเชื่อมต่อกับ Bluetooth 5.2 LE, Zigbee, Thread และ/หรือ Matter โดยมีพอร์ต USB Type-C จำนวน 2 พอร์ต ปุ่ม Boot & Reset และ RGB LED และมีขา Pin Headers แบบ 2×15 ขา ทั้งหมดจากโมดูล ESP32-H2-MINI-1 สเปค ESP32-H2-DevKitM-1: โมดูลสื่อไร้สาย – ESP32-H2-MINI-1 MCU – ไมโครคอนโทรลเลอร์ Espressif Systems ESP32-H2 ใช้ RISC-V 32 บิตที่ความเร็วสูงสุด 96 MHz พร้อม SRAM 320 […]

LattePanda Sigma เป็น SBC ใช้ชิป Intel Core i5-1340P Raptor Lake

LattePanda Sigma

LattePanda Sigma เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว (SBC) มีขนาด 3.5 นิ้ว ใช้ชิปโปรเซสเซอร์ Intel Core i5-1340P Raptor Lake-P และไมโครคอนโทรลเลอร์ Microchip ATmega32U4 เพื่อควบคุมขา I/O ด้วยการเขียนโปรแกรม Arduino บอร์ดมาพร้อมกับ RAM LPDDR5 ขนาด 16GB, รองรับ M.2 NVMe/SATA SSD และ SATA drives เพื่อเก็บข้อมูล, มีเอาต์พุตวิดีโอ HDMI 2.1, eDP และ USB-C DisplayPort, การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ Dual 2.5GbE, พอร์ต Thunderbolt 4 จำนวน 2 พอร์ต และ ช่อง M.2 sockets จำนวน 3 ช่องสำหรับการขยาย เช่น WiFi หรือโมดูล 4G/5G สเปค LattePanda Sigma SoC – Intel Core i5-1340P 12-core (4P+8E)/16-thread Raptor Lake hybrid processor @ สูงสุด 4.6 GHz (Performance cores), 3.4GHz (Efficient cores), 12MB L2 Cache, 80EU Intel Iris Xe Graphics @ สูงถึง […]

Sonatino – บอร์ด Audio ESP32-S3 มีขนาดเท่า Raspberry Pi Zero

Raspberry Pi Zero ESP32 S3 audio board

Sonatino ของบริษัท Lumination Labs เป็นบอร์ด ESP32-S3 ออกแบบมาสำหรับการใช้งานเสียง (Audio) มีขนาดเท่า Raspberry Pi Zero เพื่อให้สามารถใช้กับเคสบางรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับ Raspberry Pi Zero ได้ บอร์ด Audio สื่อสารไร้สายมี Cirrus Logic WM8524 audio DAC และ WM8782 audio DAC ที่สามารถส่งสัญญาณเสียง stereo 24-bit 192kHz และรับสัญญาณเสียง mono เข้าระบบได้ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีเครื่องขยายเสียงสำหรับลำโพงและขาต่อสำหรับลำโพงอีก 2 ขา พร้อมทั้งมีช่องเสียง audio jack 3.5 มม. และช่อง  microSD card slot เพื่อเก็บข้อมูลเสียงหรือข้อมูลอื่น ๆ สเปค Sonatino: โมดูลสื่อสารไร้สาย – ESP32-S3-WROOM-1 พร้อม SoC – ESP32-S3 dual-core LX7 microprocessor @ สูงสุด 240 MHz พร้อม Vector extension สำหรับ machine learning หน่วยความจำ – PSRAM 2MB […]

เปิดตัว Linux 6.3 กับเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรม Arm, RISC-V และ MIPS

Linux 6.3 release

Linux Torvalds ได้ประกาศเปิดตัว Linux 6.3 บน Linux Kernel Mailing List (LKML) เมื่อประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมาได้เปิดตัว Linux 6.2 พร้อมกับมีเปลี่ยนแปลงที่สำคัญเกี่ยวกับมีการปรับปรุงในการแก้ไขช่องโหว่ Retbleed ที่เกิดจาก speculative execution บน x86-64 และ ARM processors ให้เร็วขึ้น, มีเครื่องมือ Runtime Verification (RV ให้ใช้งาน), (ตัวเลือก) การปรับปรุงการล็อก RCU ที่ดีขึ้น ช่วยประหยัดพลังงานได้มากขึ้น (ในอุปกรณ์ Android และ Chrome OS), และมีการสร้างไฟล์และไดเรกทอรีอย่างรวดเร็วขึ้นด้วย  exFAT บน Linux 6.2 และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อีกมากมาย จุดเด่นของ Linux 6.3 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของ Linux 6.3 คือ การดำเนินการของกลไกการป้องกันการโจมตี Spectre ของ AMD ที่เรียกว่า “automatic IBRS” โดยใช้ restricts indirect-branch […]

ArduPico – บอร์ดฐานเหมือน Arduino UNO ออกแบบมาสำหรับ Raspberry Pi Pico

wisdPi ArduPico Raspberry Pi Pico Arduino baseboard

WisdPi ArduPico เป็นบอร์ดฐาน (Baseboard) ที่มีรูปทรงเแบบ Arduino UNO ออกแบบมาสำหรับใช้กับ Raspberry Pi Pico และสามารถใช้งานเหมือนกัน ซึ่งช่วยให้ผู้ผลิตสามารถนำบอร์ด Arduino shield ที่มีในท้องตลาดกลับมาใช้ใหม่ได้ และยังเพิ่ม I/O และคุณสมบัติบางอย่างเพิ่มด้วย สเปค ArduPico: บอร์ดที่เข้ากันได้ – Raspberry Pi Pico , Pico H, Pico W , Pico WH และบอร์ดเหมือนกับ Pi Pico อื่นๆ บัดกรีโดยใช้รู Through หรือรู Castellated การขยาย Header ที่เหมือนกับ Arduino UNO ใช้งานได้กับบอร์ด Shield Pin-header 5 ขาและ 6 ขา สำหรับ GPIO และ 3.3V, GND GPIO ของ Raspberry Pi Pico การดีบัก – SWD Header อื่น ๆ – ปุ่ม Pico RESET, WS2812 RGB LED แหล่งจ่ายไฟ – 7 ถึง 15V DC ผ่าน DC jack ขนาด – 68.6 x 53.3 x 11.6 มม. (form fa […]

บอร์ด Cool Pi CM5 evaluation board มี System-on-Module ที่ใช้ชิป Rockchip RK3588/RK3588J

Cool Pi CM5 SBC

Cool Pi CM5 คือ System-on-Module ที่ใช้ตัวประมวลผล Rockchip RK3588 (ใช้ในงานทั่วไป) หรือ RK3588J (อุตสาหกรรม) octa-core Arm Cortex-A76/A55 พร้อม RAM สูงสุด 32GB,  eMMC flash 256GB โดยโมดูลนี้มาพร้อมกับบอร์ดพัฒนาที่มีพอร์ตเชื่อมต่อ GbE คู่, มีพอร์ต HDMI 2.1 ความละเอียด 8K จำนวน 2 ช่อง, PCIe 3.0 x2 slot, M.2 NVMe และ SATA storage และอื่นๆ เมื่อปลายปีที่แล้ว เราได้เขียนบทความเกี่ยวกับ Cool Pi 4 ว่าเป็นบอร์ดทางเลือกและเร็วกว่า Raspberry Pi 4 SBC และตอนนี้บริษัทได้เปิดตัว Cool Pi CM5 system-on-module ทางเลือก Raspberry Pi CM4 หรือ Radxa CM5 แต่ใช้ MXM 3.0 edge connector และมาพร้อมกับบอร์ด Evaluation board (EVB) ที่มีคุณสมบัติมากมาย สเปค Cool Pi CM5 EVB: System-on-Module SoC – โปรเซสเซอร์ Rockchip RK3588(J) 8 คอร์ พร […]

บอร์ด Challenger RP2040 UWB มีโมดูล DWM3000 สำหรับระบุตำแหน่งภายในอาคาร, รับส่งข้อมูลสูงสุด 10 Mbps

Challenger RP2040 UWB

บอร์ด Challenger RP2040 UWB มาพร้อมกับไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 กับโมดูล DWM300 UWB (Ultra-Wide Band) ใน form factor ของ Adafruit Feather และถูกออกแบบมาสำหรับการระบุตำแหน่งภายในอาคาร (Indoor Positioning) และวัดระยะห่างด้วยความแม่นยำสูงสุดถึง 10 เซนติเมตร และสามารถรับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดถึง 10 Mbps บอร์ด Challenger RP2040 ตัวแรกของบริษัท iLabs (Invector Labs) เปิดตัวในปี 2021 พร้อมกับชิป WiFi ESP8285 ตามมาด้วย Challenger RP2040 LoRa ที่มีโมดูล RFM95W LoRa และบริษัทฯ ยังมีรุ่นอื่นๆที่รองรับ NFC และการเชื่อมต่อเซลลูลาร์ (Cellular) อีกด้วย บริษัทสวีเดนได้เปิดตัวบอร์ด Challenger รุ่นล่าสุดที่มี Challenger RP2040 UWB โดยใช้เทคโนโลยี UWB  ในการพัฒนา สเปคเบื้องต้นของบอร์ด Challenger RP2040 LoRa: M […]

รีวิว Cytron CM4 Maker Board – Part 2 : ทดสอบ NVMe SSD, RTC, Buzzer, Grove modules, ChatGPT…

Cytron CM4 Maker board Review

ใน Part 1 ได้ตรวจสอบ CM4 Maker Board สำหรับ Raspberry Pi CM4 และบูตด้วยการใส่ “MAKERDISK” microSD card Class A1 ขนาด 32GB ที่มี Raspberry Pi OS ติดตั้งอยู่ล่วงหน้า, สำหรับ Part 2 ของการรีวิว CM4 Maker เราจะใช้ NVMe SSD ขนาด 128GB ของบริษัทที่ให้มา และทดสอบคุณสมบัติอื่น ๆ ของบอร์ดรวมถึง RTC, Buzzer, โมดูล Grove จาก Seeed Studio และเข้า ChatGPT ให้ช่วยเขียนโปรแกรม Python เพื่อนำมาใช้งาน การบูต Cytron CM4 Maker Board ด้วย “MAKERDISK” NVMe SSD เริ่มจากเชื่อมต่อโมดูล Grove หลายตัวด้วยอินเทอร์เฟซ GPIO และ I2C, Raspberry Pi Camera Module 3, สาย Ethernet, RF dongle 2 ตัวสำหรับคีย์บอร์ดและเมาส์ไร้สาย, สาย HDMI เข้ากับจอภาพ และจอมอนิเตอร์ และเสียบปลั๊กอะแดปเตอร์ USB-C 5V/3.5A ที่ให้มา MAKERDISK SSD มาพร้อมกับ Raspberry P […]