SenseCraft เฟิร์มแวร์ตัวใหม่แสดงผลเซ็นเซอร์โดยไม่ต้องเขียนโค้ด

nocode

อ้างอิงจากรีวิว SenseCAP K1100 Sensor Prototype ด้วย LoRaWAN และ Vision AI ผู้เขียนได้เสนอแนะไว้ในบทสรุปความคิดเห็นส่วนตัว ประโยคหนึ่งกล่าวว่า “หากทางบริษัท SeeedStudio พัฒนา Firmware ตัวใหม่ออกมาที่สามารถเชื่อมต่อโดยไม่ต้อง Coding ก็จะดีมากๆ” มาบัดนี้สิ่งที่คาดหวังไว้ก็กลายเป็นจริงซะที เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 ทางบริษัท SeeedStudio ได้พัฒนาเฟิร์มแวร์ภายใต้โครงการชื่อว่า SenseCraft – The Project of No-Code Smart Sensor Builder เป็นการใช้งานบอร์ด Wio Terminal ร่วมกับ Grove Module ต่างๆ โดยไม่ต้องเขียนโค้ดแต่อย่างใด เราจะมาลองทดสอบเฟิร์มแวร์ SenseCraft ตัวใหม่นี้ด้วยกันครับ

refthai

refeng

ปุ่มควบคุมทิศทางของ SenseCraft

stick

ใช้ Joy Stick ควบคุม 4 ทิศทาง ดังนี้
1. Left : เลื่อนไปทางซ้าย
2. Right : เลื่อนไปทางขวา
3. Up : ย้อนกลับไปยังรายการก่อนหน้า
4. Enter : กดเลือกรายการ

ปุ่มฟังก์ชั่นของ SenseCraft

button

ประกอบด้วยปุ่ม 3 หน้าที่หลักดังนี้
1. Sense : แสดงผลค่าต่างๆ จากเซ็นเซอร์ที่อยู่ภายในบอร์ด Wio Terminal ได้แก่ Light, Sound, IMU และเซ็นเซอร์ที่จะนำมาต่อเพิ่มจากภายนอก (Grove Module) โดยต่อที่ช่องด้านขวามือ บอร์ด Wio Terminal จะแสดงค่าตามชนิดของเซ็นเซอร์โดยอัตโนมัติ
2. Process : เป็นส่วนของการประมวลผลข้อมูล โดยสามารถเชื่อมต่อกับ Grove Vision AI Module เพื่อประมวลผลภาพที่ได้จากกล้องด้วยวิธีการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning)
3. Uplink : ส่วนของการเชื่อมต่อแบบไร้สาย LoRa และ WiFi เพื่อส่งข้อมูลจากเซ็นเซอร์ไปเก็บไว้ที่ Cloud Server ต่อไป

การเตรียมการเบื้องต้น

Step 1 : ดาวน์โหลดเฟิร์มแวร์เวอร์ชั่นล่าสุด ในปัจจุบันนี้คือ “SenseCraft-v0.3.uf2
Step 2 : ต่อสาย USB Type-C เข้าที่บอร์ด Wio Terminal ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์
Step 3 : เลื่อนสวิทซ์ไปยังตำแหน่ง “ON” จากนั้นเลื่อนสวิทซ์ไปข้างหน้า 2 ครั้งติดๆ กันเร็วๆ เพื่อเข้าสู่ Bootloader Mode.

bootloader

Step 4 : จะปรากฏยูเอสบีไดร์ที่ชื่อ “Arduino” เพิ่มขึ้นมาใหม่ดังรูป

drive1
Step 5 : ลากไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ “SenseCraft-v0.3.uf2” ไปปล่อยวางไว้ที่ยูเอสบีไดร์ที่ชื่อ “Arduino

firmware
Step 6 : หลังจากคัดลอกไฟล์เสร็จแล้ว Wio Terminal จะทำการเปลี่ยน Flash Bootloader ตามเฟิร์มแวร์เวอร์ชั่นใหม่ จะทำการรีสตาร์ทตัวเองโดยอัตโนมัติ และทำงานตาม Bootloader ใหม่แบบ No-Code ทันที โดยจะสร้างไฟล์ชื่อ “config.txt” ไว้ที่ยูเอสบีไดร์

drive2

ทดลองใช้งาน SenseCraft

เนื่องจากทางผู้เขียนมีผลิตภัณฑ์ของ SeeedStudio ในรุ่น SenseCAP K1100 จึงสามารถทดลองต่อเซ็นเซอร์ได้แค่ 4 บอร์ดดังนี้

  • แสดงผลข้อมูลที่อยู่ภายในบอร์ด Wio Terminal ได้แก่ Light, Sound, IMU Sensor

wio

  • เชื่อมต่อกับ Grove Soil Moisture Sensor

soil

  • เชื่อมต่อกับ Grove VOC and eCO2 Gas Sensor

voc

  • เชื่อมต่อกับ Grove Temperature & Humidity Sensor

sht

  • เชื่อมต่อกับ Grove Vision AI Module : Face Detection

vision1

vision2

หมายเหตุ:- เป็นการทดลองฟังก์ชั่น SenseCraft เฉพาะในส่วนของ Sense และ Process เท่านั้น ไม่ได้ทดสอบ Uplink เนื่องจาก Firmware SenseCraft ในส่วนของ Uplink ยังไม่ครอบคลุมดังนี้…
1. ไม่มีให้เลือกความถี่ LoRaWAN สำหรับประเทศไทย AS923 มีให้เลือกแค่ US915, EU868, AU915 เท่านั้น
2. ต้องเชื่อมต่อกับ LoRaWAN Cloud Server เท่านั้น ยังไม่รองรับ Private LoRaWAN Network Server

บทสรุป

โครงการ SenseCraft ทำให้เราไม่ต้องเขียนโค้ดแต่อย่างใด เพียงแค่หาเซ็นเซอร์มาเชื่อมต่อ SenseCraft ก็จะแสดงผลข้อมูลให้โดยอัตโนมัติ เหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่ไม่ถนัดในการเขียนโค้ด ก็สามารถนำ Wio Terminal ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างง่ายดาย หวังว่าทางทีมงานโครงการ SenseCraft – The Project of No-Code Smart Sensor Builder จะพัฒนาเวอร์ชั่นใหม่ๆ ออกมาอีกนะตรับ

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
โฆษณา