รีวิว Creality Ender-3 S1 Pro 2-in-1 เครื่องพิมพ์ 3D printer และเครื่องแกะสลักเลเซอร์ – part 1: แกะกล่องและประกอบเครื่อง

Creality Ender-3 S1 Pro เป็นเครื่อมพิมพ์ 3D printer ที่สามารถแปลงเป็นเครื่องแกะสลักเลเซอร์ได้ด้วยตัวเลือกโมดูลเลเซอร์ 1.6W, 5W และ 10W ซึ่งทำให้เป็นเครื่องประหยัดพื้นที่ สามารถพิมพ์วัตถุ 3 มิติและสามารถแกะสลักและตัดวัสดุได้

บริษัทส่งชุดอุปกรณ์เต็มรูปแบบพร้อมโมดูลเลเซอร์ 10W ให้ฉัน เมื่อดูข้อมูลสเปคของเครื่อง 3D Printer แล้ว ฉันจะตรวจสอบแพ็คเกจต่างๆ และรายงานประสบการณ์ของฉันในการประกอบเครื่อง 3D Printer และแปลงเป็นเครื่องแกะสลักเลเซอร์ในบทความนี้ และจะทดสอบฟังก์ชันของทั้งสองใน Part 2 ของบทความต่อไป, Karl ได้เริ่มตรวจสอบเครื่อง 3D Printer Ender-3 Pro เมื่อสองปีที่แล้ว ฉันถามถึงความแตกต่างและได้รับแจ้งว่าเครื่องพิมพ์รุ่นใหม่ได้รับการปรับปรุงหลายอย่าง เช่น Direct Extruder ตัวดันเส้นพลาสติก, การปรับระดับฐานพิมพ์ หรือ Bed-leveling อัตโนมัติด้วย CR-Touch และการรองรับการพิมพ์ที่อุณหภูมิสูง

สเปค Creality Ender-3 S1 Pro

  • เทคโนโลยี – ระบบ FDM (Fused Deposition Modeling) คือการให้ความร้อนที่หัวฉีด และฉีดพลาสติกที่มีความหนืด ออกมาจากหัวฉีดที่มีขนาดเล็ก ทับซ้อนกันไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นรูปวัตถุ 3 มิติขึ้นมา
  • ปริมาณการพิมพ์สูงสุด – 220 x 220 x 270 มม.
  • ความแม่นยำในการพิมพ์ – ±0.1 มม
  • เส้นผ่านศูนย์กลางหัวฉีด – 0.4 มม
  • อุณหภูมิหัวฉีด – สูงถึง 300°C
  • ความเร็วในการพิมพ์ – สูงสุด 150 มม./วินาที
  • ความหนาของชั้น – 0.1-0.4 มม
  • คุณสมบัติ – พิมพ์ต่อได้, เซนเซอร์ตรวจจับเส้นพลาสติก
  • การอัดขึ้นรูป (Extrusion) – “Sprite” เครื่องอัดรีด full-metal dual-gear แบบตรง  พร้อมอัตราส่วน  1:3.5
  • อุณหภูมิ Hotbed – สูงถึง 110°C
  • ฐานพิมพ์ชิ้นงาน) – ฐานพิมพ์เป็นแม่เหล็กที่มีพื้นเป็นโลหะสเปริงปรับระดับและเคลือบด้วย PEI
  • เส้นใยการพิมพ์ – PLA, ABS, PVA, ไม้, TPU90-95, PETG, PA
  • เส้นผ่านศูนย์กลางไส้ – 1.75 มม
  • อินเทอร์เฟซโฮสต์ – พอร์ต USB Type-C หรือ SD card
  • กำลังไฟ – 350W
  • แหล่งจ่ายไฟ – 24V/350W
  • ขนาด – 490 x 455 x 625 มม.
  • น้ำหนัก – 8.6 กก.

บริษัทมีซอฟต์แวร์ Creality slicing สำหรับ Windows, macOS และ Linux แต่เครื่อง 3D Printer ยังสามารถใช้งานร่วมกับ Cura, Repetier-Host และ Simplify3D เมื่อเปลี่ยนเป็นเครื่องแกะสลักเลเซอร์ บริษัทแสดงวิธีใช้ระบบโดยใช้ Lightburn

แกะกล่อง Creality Ender-3 S1 Pro และอุปกรณ์เสริม

ฉันได้รับ 3 กล่องจากบริษัท Creality เราจะเริ่มแกะจากกล่องเล็กที่สุดไปจนถึงใหญ่ที่สุด

Creality Ender S1 Pro 3D Printer Laser Engraver packages

กล่องแรกมาพร้อมกับเส้นใยพลาสติก Creality CR-PLA SILK 3D printing filament ที่มีหลายสี น้ำหนัก 1 กิโลกรัม

creality filament

กล่องที่สองข้างในมีกล่องขนาดเล็กกว่าสามกล่องสำหรับโมดูลเลเซอร์ 10W

Ender Laser Engraver Package

นั่นเป็นสิ่งที่ไม่คาดคิด บริษัทไม่ได้ส่งเพียงแค่โมดูลเลเซอร์ 10W และอุปกรณ์ติดตั้งโมดูลเลเซอร์บนเครื่อง 3D Printer เท่านั้น แต่ยังส่งชุดเป่าลม (Air assist system) และแผ่นรังผึ้งสำหรับการตัดด้วยเลเซอร์ด้วย

Creality laser engraver kit

ฃุดเป่าลม Air Assist จะใช้เป่าลมไล่เขม่าเพื่อให้แน่ใจว่าการตัดนั้นสะอาด จากการเผาไหม้ของไม้ ด้านล่างเป็นตัวอย่างการตัดด้วย เครื่องแกะสลักเลเซอร์ TwoTrees TS2 ที่ทำได้โดยไม่ได้เชื่อมต่อปั๊มเป่าลมกับโมดูลเลเซอร์

laser cutting no air assist

รอยตัดบนไม้พลาสวูดดูเหมือนไหม้รอบๆ บริเวณที่ตัด และการใช้ชุดเป่าลม (air assis) ไม่ให้เกิดคราบเขม่า งานสวย

Creality JD MP56 L Air Assist

โมเดลรุ่นในชุดชื่อ JD-MP56-L และมีกำลังไฟสูงสุด 17W สามารถปรับได้ด้วยสวิตซ์เข้ารหัสแบบหมุนบนสายไฟ

Ender 3 S1 Pro laser module

โมดูลเลเซอร์ มีความยาวคลื่น 455 นาโนเมตร และมีกำลังไฟฟ้าสูงสุดถึง 10 วัตต์

Creality Ender S1 Pro unboxing

กล่องที่สามคือเครื่อง Ender-3 S1 Pro 3D printer ซึ่งมีการประกอบล่วงหน้าบางส่วนและมีเครื่องมือ เช่น ใบมีดโลหะและคีมตัด รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการประกอบเครื่อง 3D printer

Creality nozzle head
Ender-3 S1 pro’s hotend

เครื่องรองรับอินพุต 230 หรือ 115V แต่สิ่งสำคัญคือการตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าที่เหมาะสมก่อนที่จะเชื่อมต่อเครื่องเข้ากับไฟฟ้า สำหรับกรณีของผู้ใช้งานในประเทศไทยที่มีแรงดันไฟฟ้าเป็น 220-240V ดังนั้นฉันจึงไม่ต้องเปลี่ยนอะไร

Creality 3D printer 230V 115V

ประกอบเครื่อง Ender-3 S1 Pro 3D Printer

เครื่อง 3D Printer มาพร้อมกับคู่มือผู้ใช้และระบุว่าการประกอบจะใช้เวลา 5 ถึง 20 นาที แต่นั่นเป็นสำหรับผู้มีประสบการณ์ที่การประกอบ Ender-3 S1 Pro เป็นงานประจำวัน หรือได้ผ่านขั้นตอนบางอย่างมาแล้ว ฉันลองศึกษาดูในคู่มือมีบางขั้นตอนก็ยากใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงในการสร้างให้เสร็จ

Ender 3 S1 Pro assembly instructions

ขั้นตอนแรกคือการติดตั้งอุปกรณ์ Hotend และขันสกรูหัวหกเหลี่ยมสี่ตัวให้แน่น

Nozzle module installation

เราต้องหนีบคลิปลวดเข้ากับมอเตอร์แกน X ด้วย

3D printer wire clamp

เมื่อเสร็จแล้ว เราสามารถติดตั้งโครงเสา โดยใช้สกรูหัวหกเหลี่ยมสี่ตัวพร้อมแหวนรองสปริงที่ยึดไว้ใต้โมดูล chassis ก่อนที่จะติดตั้งจอแสดงผลควบคุมและขาแขวนเส้นใย filament  ฉันเสียเวลาไปเล็กน้อยที่นี่เพื่อจัดตำแหน่งโครงเสาให้ถูกต้อง จากนั้นฉันก็มีปัญหากับการจัดตำแหน่งตัวยึดหน้าจอ มีสกรูตัวหนึ่งไม่สามารถเข้าได้

Creality Ender 3 S1 Pro Assembly display filament holder

ขั้นตอนสุดท้ายจากคู่มือผู้ใช้คือการเดินสายไฟ เราจะต้องเสียบสายเข้ากับคลิปลวด

Creality Ender 3 S1 Pro cabling

เชื่อมต่อสายไฟต่างๆ:

  1. สายเคเบิล 24 พินที่ด้านบนของ hotend
  2. สายเคเบิล 6 พินสำหรับสเต็ปเปอร์มอเตอร์ () แกน X และ Z
  3. สายเคเบิล 3 พินสำหรับลิมิตเตอร์ (Limiter) แกน X
  4. สายเคเบิล 3 พินสำหรับการตรวจจับเส้นใย filament
  5. สายเคเบิล 3 พิน (2 สาย) สำหรับบอร์ดขยาย
  6. สายเคเบิลสำหรับหน้าจอควบคุม

Z Axis Expansion interface Filament detector

สายเคเบิลส่วนใหญ่มีฉลากสีเหลืองกำกับไว้อย่างชัดเจน แต่ฉันต้องใช้เวลาสักครู่เพื่อค้นหาสายตรวจจับเส้นใย filament และสายเชื่อมต่อส่วนขยาย เนื่องจากสายเหล่านี้ซ่อนอยู่ในแกนด้านซ้ายของโครงเสา

Ender 3 S1 assembly instructrions leveling

คู่มือผู้ใช้จะจบที่นี่และขั้นตอนต่อไป ได้แก่ การปรับระดับและการติดตั้ง filament สามารถพบได้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ฉันจะทำในภายหลังเพราะฉันต้องการตรวจสอบโมดูลเลเซอร์ก่อน และฉันต้องหาพื้นที่วาง 3D Printer และทำการตรวจสอบเครื่องแกะสลักเลเซอร์ TS2 ให้เสร็จ

Ender 3 S1 Pro 3D Printer vs TwoTrees TS2 laser engraver

แม้ว่าการใช้เครื่อง 2-in-1 สำหรับ3D Printer และการแกะสลักเลเซอร์จะช่วยประหยัดพื้นที่ได้อย่างแน่นอน แต่พื้นที่ในการแกะสลักก็ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับเครื่องแกะสลักเลเซอร์เลเซอร์แบบดั้งเดิม แต่ในฐานะคนที่อาศัยอยู่ในห้องขนาด 8 ตร.ม. ในฮ่องกงมาหนึ่งปีครึ่ง ฉันเข้าใจว่าทำไมบางคนอาจต้องการประหยัดพื้นที่

ชุดเป่าลม Air assist และการประกอบโมดูลเลเซอร์

แม้ว่าเครื่อง 3D Printer จะมีคู่มือผู้ใช้หลายภาษาแต่ไม่สมบูรณ์สำหรับขั้นตอนการประกอบหลัก แต่โมดูลเลเซอร์ไม่ได้จัดส่งมาพร้อมกับอุปกรณ์ใดๆ ดังนั้นฉันจึงเริ่มต้นด้วยการเชื่อมต่อโมดูลเลเซอร์กับ air Assist เนื่องจากมาพร้อมกับคำแนะนำในการประกอบ

Creality air assist user manual

ฉันต้องถอดหน้าต่างป้องกันออกจากโมดูลเลเซอร์ และติดตั้งหน้าต่างป้องกันและหัวฉีดอากาศของ air assist พร้อมตรวจสอบให้แน่ใจว่าท่ออยู่ในแนวเดียวกับสติกเกอร์คำเตือนสีเหลือง จากนั้นจึงขันสกรูสองตัวที่ด้านข้างให้แน่นเพื่อยึดทุกอย่างเข้ากับโมดูลเลเซอร์

Laser module air assist protective window air nozzle

ขั้นตอนต่อไปคือการติดตั้งฝาครอบป้องกันเลเซอร์แม่เหล็ก (สีแดง) และท่อซิลิโคนระหว่างโมดูลเลเซอร์และอุปกรณ์เป่าลม air assist

Creality 10W Laser Air Assist connection

ส่วนนั้นง่ายมาก แต่ฉันต้องค้นหาเอกสารเพิ่มเติมทางออนไลน์ เพื่อติดตั้งโมดูลเลเซอร์บนเครื่อง 3D Printer

Ender 3 S1 Pro remove hotend

ฉันทำตามคำแนะนำโดยถอดสาย 24 พินออกจาก Hotend และถอด Hotend ออกจากโครงเสา ฉันไม่คิดว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ดี เพราะถ้าคุณต้องทำบ่อยๆ จะทำให้สกรูบางตัวหลุดหรือหายได้ง่าย จากนั้นฉันก็รู้ว่าเอกสาร PDF เป็นของเครื่องพิมพ์เครื่องอื่น และในที่สุด Creality ก็บอกให้ฉันดูวิดีโอ  มันทำงานได้

Ender 3 S1 Pro laser module installation

เราต้องใส่โมดูลเลเซอร์ลงในแผ่นยึดเลเซอร์ จากนั้นใส่แผ่นลงในแกน X และยึดด้วยสกรูที่แสดงในภาพด้านบน จากนั้นจะสามารถปรับตำแหน่งแนวตั้งของโมดูลเลเซอร์ได้ด้วยมือและยึดให้แน่นโดยขันตะปูสองข้างให้แน่น หมายเหตุไม่มีโปรบที่ใช้สำหรับปรับโฟกัสแนวแกน Z เหมือนกับ TS2 ดังนั้นจะต้องทำด้วยมือโดยใช้อุปกรณ์ที่มากับโมดูลเลเซอร์

Y axis cables

งถอดสายไฟแกน X และ Y สำหรับสเต็ปเปอร์มอเตอร์และลิมิตสวิตช์ออกและเปลี่ยนด้วยสายที่มาจากตัวควบคุมโมดูลเลเซอร์ Falcon ต้องเชื่อมต่อสายเคเบิลที่มีเครื่องหมาย Z เข้ากับโมดูลเลเซอร์

X axis Y axis cables

ไม่ควรเสียบและถอดสายเคเบิลโดยตรงจากสเต็ปเปอร์มอเตอร์ อาจทำให้ตัวคอนเนกเตอร์เสียหายได้ง่าย และดังนั้นจึงมีสายอะแดปเตอร์สั้น ดังนั้นครั้งต่อไปที่เราต้องการใช้เครื่อง 3D Printer สามารถชื่อมต่อเครื่อง 3D Printer กับสายอะแดปเตอร์แทนการเชื่อมต่อกับสเต็ปเปอร์มอเตอร์โดยตรง

Ender 3 S1 Pro 3D printer converted laser engraver

นี่คือการแปลงเครื่อง 3D Printer เป็นเครื่องแกะสลักเลเซอร์ แพคเกจนี้ยังรวมถึง เคเบิ้ลไทร์ และCable management belt ซึ่งฉันไม่ได้ใช้ในภาพด้านบน ฉันชอบอุปกรณ์เครื่องเดียวทำหน้าที่เป็นเครื่อง 3D Printer และเครื่องแกะสลักเลเซอร์ การสลับไปมาระหว่างอุปกรณ์ทั้งสองด้วยการออกแบบนี้ค่อนข้างยุ่งยากเล็กน้อย คงจะดีไม่ถ้าระบบเข้ากันได้ด้วยด้วยคอนโทรลเลอร์ตัวเดียวและกลไกที่ใช้งานง่ายเพื่อสลับระหว่างโมดูลเลเซอร์และ hotend ภายในเวลาไม่ถึงนาที เครื่อง Creality Ender-3 S1 Pro 3D Printer แบบ 2-in-1  และเครื่องแกะสลักเลเซอร์อาจเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในที่แคบ หากทำงานได้ตามปกติ เราจะรีวิวในส่วนที่สองต่อไป

ฉันขอขอบคุณบริษัท Creality ที่ส่ง Ender-3 S1 Pro มาให้ตรวจสอบพร้อมกับโมดูลเลเซอร์ 10W และCR-Laser Falcon air assist, เครื่อง 3D Printer สามารถซื้อได้ราคา $479 (~฿16,000) ที่ร้านค้าออนไลน์ของบริษัทหรือที่ Amazon, โมดูลเลเซอร์ Creality 10W ราคา $199 (~6,700฿) และ CR-Laser Falcon air Assist ราคา $79 (~2,600฿), ชุดครบเซตที่รีวิวไปนี้มีราคาประมาณราคา $780 (~26,000฿) พร้อม CR-PLA filament 1 กก.

แปลจากบทความภาษาอังกฤษ : Review of Creality Ender-3 S1 Pro 2-in-1 3D printer & laser engraver – Part 1: Unboxing and assembly

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
โฆษณา