Link.ONE : ชุดพัฒนา LPWAN แบบ all-in-one รองรับการเชื่อมต่อ LTE-M, NB-IoT และ LoRaWAN, สามารถเขียนโปรแกรมด้วย Arduino IDE

RAKwireless Link.ONE เป็นชุดพัฒนา LPWAN แบบ all-in-one ที่รองรับการเขียนโปรแกรมด้วย Arduino IDE และชิป nRF52840 Cortex-M4F 2.4 GHz multi-protocol wireless microcontroller, Semtech SX1262 LoRa RF transceiver, และโมดูล Quectel BG77 LTE-M และ NB-IoT และโดยมีองค์ประกอบจากแพลตฟอร์มอุปกรณ์ต้นแบบ WisBlock IoT ของบริษัท

นอกจากโมดูล WisBlock แล้ว ชุดนี้รวมถึงอุปกรณ์ที่จำเป็นต่างๆ เพื่อเริ่มต้นการใช้งาน เช่น สายอากาศ 4 อัน สำหรับการเชื่อมต่อ LTE-IoT, LoRaWAN, GNSS และ Bluetooth, สาย USB สำหรับจ่ายไฟและโปรแกรม และ Monogoto SIM card ที่ครอบคลุมทั่วโลกและข้อมูล 500MB ที่ใช้ได้เป็นเวลา 10 ปี รองรับ DTAC, Real Future (True), และ AWN (AIS) เครือข่าย 2G ถึงสูงสุด 4G

สเปค Link.ONE hardware:

  • บอร์ดฐาน RAK19007 WisBlock พร้อมพอร์ต USB และเที่ชาร์จ Li-ion
  •  โมดูลหลัก RAK4631 WisBlock พร้อมด้วย
    • Nordic Semiconductor nRF52840 32-bit Arm Cortex-M4F microcontroller @ 64 MHz พร้อมแฟลช 1 MB Flash, 256 KB RAM, Bluetooth Low Energy 5.0 protocol stack
    • Semtech SX1262 LoRa/LoRaWAN RF transceiver พร้อม LoRaWAN 1.0.2 protocol stack (รองรับ Class A & C), รองรับการครอบคลุมทั่วโลก: RU864, IN865, EU868, US915, AU915, KR920, AS923
    • I/Os – I2C, SPI, analog inputs, digital inputs และ outputs
    • สายอากาศ LoRaWAN และ BLE
  • RAK5860 เป็นโมดูลอินเทอร์เฟส Wisblock พร้อม
    • โมดูล Quectel BG77 NB-IoT (Cat NB2), LTE-M (Cat M1) และ GNSS ที่เชื่อมต่อผ่าน UART ไปยัง MCU nRF52840
    • รองรับความเร็ว downlink สูงสุด 588Kbps และ uplink 1,119Kbps
    • คอนเนกเตอร์ IPEX สำหรับสายอากาศ LTE และ GPS ภายนอก, มีสายอากาศ LTE ภายนอก 3dBi ให้ในชุด
    • ตัวเลือก Nano SIM และ ESIM
  • ตัวเลือก กลอ่งเคส “Unify” IP65 ขนาด 100x75x38 มม.

Ken YU, CEO ของ RAKwireless ได้บอกกับ CNX Software ถึงเหตุผลในการสร้าง Link.ONE devkit และศักยภาพการใช้งานที่เป็นไปได้ดังนี้

… เราพบว่ามีนักพัฒนาหลายคนที่ต้องการใช้งาน LoRa/LoRaWAN และ Cellular ในผลิตภัณฑ์เดียว โดยเฉพาะสำหรับอุตสาหกรรม IoT การใช้งานอาจมีดังนี้
Use case 1: คุณสามารถตั้งค่าให้ LoRaWAN เป็นอุปกรณ์หลักและ Cellular NB-IoT เป็นอุปกรณ์รอง หรือคุณสามารถตั้งค่า Cellular เป็นอุปกรณ์หลักและ LoRaWAN เป็นอุปกรณ์รอง
Use case 2: คุณสามารถใช้ Cellular เป็นการส่งข้อมูลกลับ (backhaul) แต่ใช้ LoRa เป็น Peer-to-Peer เพื่อปลุกให้อุปกรณ์เหล่านั้นตื่นขึ้นมา
Use case 3: การติดตั้ง Cellular modem ในอุปกรณ์ทุกเครื่องมีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป (แต่ละอุปกรณ์ต้องใช้ SIM card) ดังนั้นใช้เซ็นเซอร์หลายตัวสามารถแชร์ Cellular modem หนึ่งอันโดยการส่งข้อมูลผ่าน LoRa Peer-to-Peer

เอกสารประกอบให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ วิธีการประกอบชุด และคำแนะนำในการเริ่มต้นใช้งาน Arduino IDE และ RAKwireless BSP สำหรับ Arduino Board Manager

RAKwireless Link.ONE all-in-one LPWAN development kit สามารถซื้อได้ในราค$56(~1,900฿) แต่จะไม่มีกล่องเคส Unify และถ้าต้องต้องการกล่องเคส IP65 รวมชุดคิทราคา $94 (~3,200฿)

แปลจากบทความภาษาอังกฤษ : Link.ONE LTE-M, NB-IoT, and LoRaWAN all-in-one LPWAN devkit is programmable with the Arduino IDE

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

โฆษณา
โฆษณา