LattePanda Mu เป็น Compute Module/system-on-module ที่ใช้ซีพียู Intel Processor N100 quad-core Alder Lake-N ที่ได้รับความนิยม สามารถรันระบบปฏิบัติการ Windows หรือ Linux ได้ และเน้นให้ทรงพลังมากกว่า Raspberry Pi 5 และ Raspberry Pi CM5 (Compute Module 5) ที่กำลังจะเปิดตัวเร็วๆ นี้
LattePanda Mu ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐาน SoM ใดๆ แต่มีฟอร์มแฟกเตอร์แบบกำหนดเอง 69.6 x 60 มม. โดยใช้คอนเนกเตอร์ขอบ SO-DIMM 260 ขา โมดูลนี้มาพร้อมกับ RAM 8GB และ eMMC flash 64GB ตามค่าเริ่มต้น และอินเทอร์เฟสแบบ expose ผ่านคอนเนกเตอร์ Edge (PCIe, USB, Ethernet, HDMI…) ทำให้เหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย เช่นอุปกรณ์ IoT, หุ่นยนต์, ป้ายโฆษณาดิจิทัล และ Edge computing ผ่านบอร์ดฐาน (carrier boards)
สเปคของ LattePanda Mu:
- SoC – โปรเซสเซอร์ Intel Processor N100 quad-core Alder Lake-N @ สูงสุด 3.4 GHz (Turbo) พร้อมcache 6MB, Intel HD graphics 24EU @ 750 MHz; ค่า TDP: 6W
- หน่วยความจำระบบ – LPDDR5-4800 8GB พร้อม In-Band-ECC
- ที่เก็บข้อมูล – แฟลช eMMC 5.1 ขนาด 64GB
- คอนเนกเตอร์ขอบ SO-DIMM 260 ขา
- พื้นที่เก็บข้อมูล – สูงสุด 2x อินเทอร์เฟส SATA III 6 Gbps (มัลติเพล็กซ์กับ PCIe)
- อินเตอร์เฟสการแสดงผล
- 1x eDP1.4
- 3x HDMI 2.0/DisplayPort 1.4
- รองรับจอแสดงผลแยกได้ 3 จอ
- USB – สูงสุด 4x USB 3.2 Gen2 (10Gbps), 8x USB 2.0 (มัลติเพล็กซ์พร้อม PCIe)
- PCIe – สูงสุด 9x PCIe Gen3 lanes
- 4x UART, 4x I2C
- สูงสุด 64x GPIO
- แหล่งจ่ายไฟ – 9 ถึง 20V DC
- ขนาด – 69.6 x 60 มม.
- ช่วงอุณหภูมิ – 0 ถึง 60°C
- ความชื้นสัมพัทธ์ – 0 ถึง 80%
LattePanda มีไดรเวอร์ Windows 10/11 สำหรับโมดูล Mu และแนะนำให้ใช้ Linux distributions ที่มี kernel 5.18 หรือสูงกว่า (แนะนำ Linux 6.1 +) และบริษัทได้ออกแบบบอร์ดฐาน “Lite” และ “Full function” เพื่อให้ผู้ใช้สามารถประเมินโมดูลได้อย่างรวดเร็ว, BIOS, ไดรเวอร์, ไฟล์การออกแบบกลไก และไฟล์การออกแบบฮาร์ดแวร์ KiCAD ของบอร์ดฐาน (carrier board) สามารถดูได้บน GitHub ไฟล์การออกแบบของบอร์ดผู้ฐาน สามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับลูกค้าในการออกแบบบอร์ดของ carrier board สำหรับโซลูชัน NAS, cluster, router, หรือ AI (พร้อม GPU แยก)
โมดูลประเภท Compute Module ไม่ใช่เรื่องใหม่อย่างแน่นอน เราเคยเขียนเกี่ยวกับโมดูล system-on-modules (SoM) บ่อยมากและเเราเคยพูดถึง TQ-Embedded TQMxE41S system-on-module ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Alder Lake-N และ เป็นไปตามมาตรฐาน SMARC 2.1 สิ่งที่แตกต่างคือ LattePanda Mu จะสามารถหาซื้อได้ง่ายเหมือนกับ Raspberry Pi Compute Module 4 (ถ้ามีสินค้าในสต็อก) ส่วนใหญ่บริษัทผู้ผลิตระบบสมองกลฝังตัว (Embedded Systems) จะเน้นการทำการค้าระหว่างธุรกิจทำกับธุรกิจด้วยกัน (B2B) โดยมีข้อยกเว้นบางรายการ เช่น ชุดเครื่องมือพัฒนา i-Pi ของ ADLINK ที่สามารถซื้อได้กับผู้ที่มีบัตรเครดิตหรือบัญชี PayPal
DFRobot เน้นให้เเป็นบอร์ดทางเลือกแทน Raspberry Pi 5 ด้วยประสิทธิภาพของ single-core และ multi-core ที่เร็วกว่ามากในการทดสอบ Benchmarks เช่น Geekbench 6 ซึ่งจะเป็นทางเลือกแทน Raspberry Pi CM5 ที่จะเปิดตัวในปลายปีนี้
โมดูล LattePanda Mu จะขายในราคา $139 (~5,100฿) แต่ในช่วงสัปดาห์แรกบริษัทจะขายโมดูล ในราคา $99 (~3,600฿) และ LattePanda Mu Kit พร้อมบอร์ด LattePanda Mu, LattePanda Mu Lite Carrier และระบายความร้อนแบบแอคทีฟจะขายในราคา $149 (~5,400฿) ให้กับผู้ใช้ 100 คนแรก หลังจากนั้นจะกลับมาเป็นราคาปกติ $190 (~7,000฿) ซึ่งน่าสนใจสำหรับผู้ที่วางแผนจะใช้คุณสมบัติของโมดูลในโครงการของตน เนื่องจากมินิพีซี Intel N100 มีราคาใกล้เคียงกัน สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในหน้าผลิตภัณฑ์
แปลจากบทความภาษาอังกฤษ : LattePanda Mu is an x86 Compute Module based on Intel Processor N100 CPU
บรรณาธิการข่าวและบทความภาษาไทย CNX Software ได้มีความสนใจในด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะ Smart Home และ IoT