รีวิวเริ่มต้นใช้งาน Maker Uno RP2040 ด้วย CircuitPython พร้อมกับ Micro Servo Motor, Maker Soil Module, โมดูล Ultrasonic

หลังจากที่เราได้ดูสเปคของ Cytron Maker Uno RP2040 และใช้งานบนโปรแกรม Arduino IDE พร้อมเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ใช้งานง่ายเหมาะสำหรับสำหรับผู้เริ่มต้นและผู้ใช้ขั้นสูงที่สามารถนำไปต่อยอดพัฒนาต่อไป

Cytron Maker Uno RP2040 review CircuitPython

วันนี้เราจะทดลองใช้บอร์ด Maker Uno RP2040 พร้อมใช้งานบน Thonny IDE ด้วย CircuitPython โดยเริ่มจากติดตั้งโปรแกรม Thonny IDE แล้วทำการเชื่อมต่อบอร์ด, การเขียนโปรแกรม Blink ไฟกระพริบ, ไฟ LED แบบ RGB, กดปุ่มไฟติด, buzzer ทำให้มีเสียง, ใช้งานร่วมกับ Micro Servo Motor, อ่านค่าเซนเซอร์วัดความชื้นด้วย Maker Soil Module และวัดระยะห่างวัดถุด้วยโมดูลเซนเซอร์ Ultrasonic HC-SR04

การติดตั้งโปรแกรม Thonny IDE

โดยการทดสอบกับบอร์ด Maker Uno RP2040 จะใช้  Thonny เป็น Python IDE ระดับสำหรับเริ่มต้น ซึ่งออกแบบมาเหมาะสำหรับการเรียนรู้และการสอนการเขียนโปรแกรม Cytron มี Tutorials บทช่วยสอนที่มีคำแนะนำวิธีการติดตั้งและตัวอย่างการใช้งานอย่างละเอียด

เริ่มด้วย Download โปรแกรม Thonny IDE จากเว็บ https://thonny.org/ แล้วกดติดตั้งโปรแกรม thonny-4.1.4.exe สำหรับ Windows

thonnydownload

เมื่อเราการติดตั้งโปรแกรม Thonny IDE ทำการการเพิ่มบอร์ด Maker Uno RP2040 โดย…

  • กดปุ่ม BOOT ค้างไว้  และกดปุ่ม RESET พร้อมกัน
  • กดปุ่ม BOOT  ค้างไว้จนกระทั่งเราจะเห็นไดรฟ์ RPI-RP2 แสดงขึ้นมา

RPI RP2

  • เปิด Thonny IDE ที่มุมขวาล่าง เลือก ‘ติดตั้ง CircuitPython’ แล้วเลือกตัวเลือก CircuitPython ที่ถูกต้อง จากนั้นคลิก Install

installcircuitpython

  • ตั้งค่าตามนี้

settingcrcuit

  • เมื่อติดตั้งเรียบร้อยไดรฟ์ RPI-RP2 จะเปลี่ยนเป็น CIRCUITPY

circuitpy

  • เลือก CIRCUITPYTHON ตรงมุมล่างขวาของ Thonny

circuitpython(generic)

ต่อไปเราจะทดสอบการใช้งานกับบอร์ด

เปิดโปรแกรม thonny และ เลือกไฟล์ code.py ในไดรฟ์ของคุณ หรือเพียงแค่ ”open with’ code.py โดยใช้ Thonny IDE

code.pycircuitpython

คัดลอกและวางโค้ดตามนี้


เมื่อตรวจสอบว่าโค้ดถูกต้องให้กดที่ run

runled1&2 is light upp

สิ่งที่ได้คือจะมี LED ไฟกะพริบบนบอร์ด 2 ดวง (GP0 และ GP1) สลับกันทุกๆ 0.5 วินาที

Maker Uno RP2040 blink CircuitPython

ทดสอบเขียนโปรแกรมไฟ LED แบบ RGB

เปิดโปรแกรม Thonny และ เลือกไฟล์ code.py ในไดรฟ์ของคุณ หรือเพียงแค่ ”open with’ code.py โดยใช้ Thonny IDE และคัดลอกและวางโค้ดตามนี้


เมื่อตรวจสอบว่าโค้ดถูกต้องให้กดที่ run สิ่งที่ได้คือ การกระพริบของ LED RGB บนบอร์ดมีสีแดงทั้งสองดวง โดยแต่ละดวงจะกะพริบทุกๆ 1 วินาที

Maker Uno RP2040 RGB CircuitPython

และคุณจะสามารถควบคุมไฟ LED WS2812 RGB บนบอร์ดเปลี่ยนสีทั้งสองดวงมีสีเดียวกันและแยก โดยคัดลอกและวางโค้ดตามนี้


เมื่อตรวจสอบว่าโค้ดถูกต้องให้กดที่ run สิ่งที่ได้คือ การกระพริบของ LED RGB บนบอร์ดทั้งสองดวงเเปลี่ยนสีมีสีเดียวกันและแยก

Maker Uno RP2040 WS2812 RGB LED CircuitPython

ทดสอบเขียนโปรแกรมการควบคุม LED ด้วยกดปุ่ม USER

เปิดโปรแกรม Thonny และ เลือกไฟล์ code.py ในไดรฟ์ของคุณ หรือเพียงแค่ ”open with’ code.py โดยใช้ Thonny IDE ทำการคัดลอกและวางโค้ดตามนี้


เมื่อตรวจสอบว่าโค้ดถูกต้องให้กดที่ run สิ่งที่ได้คือ กดปุ่ม USER  1 ครั้งจะทำให้ไฟ LED (GP0) ติดขึ้นเป็นเวลา 0.5 วินาทีแล้วจึงดับลง

Maker Uno RP2040 button CircuitPython

และสามารถสลับของไฟ LED บนบอร์ด 2 ดวงในการกดปุ่ม USER แต่ละครั้ง โดยคัดลอกและวางโค้ดตามนี้


เมื่อตรวจสอบว่าโค้ดถูกต้องให้กดที่ run สิ่งที่ได้คือไฟ LED GP0 กับ GP1 จะสลับกัน สลับ

button CircuitPython

ทดสอบเขียนโปรแกรมทำให้มีเสียง

เปิดโปรแกรม Thonny และ เลือกไฟล์ code.py ในไดรฟ์ของคุณ หรือเพียงแค่ ”open with’ code.py โดยใช้ Thonny IDE ทำการคัดลอกและวางโค้ดตามนี้


เมื่อตรวจสอบว่าโค้ดถูกต้องให้กดที่ run สิ่งที่ได้คือ เมื่อกดปุ่ม USER จะมีบอร์ดจะเล่นเมโลดี้

ทดสอบเขียนโปรแกรมกับ Micro Servo Motor

วิธีการใช้และควบคุมไมโครเซอร์โวที่เชื่อมต่อกับพอร์ตเซอร์โวของ Maker Uno RP2040 พินสัญญาณของพอร์ตเซอร์โวออนบอร์ดคือ GP14, GP15, GP16 และ GP17 แรงดันไฟฟ้าของเซอร์โว

Maker Uno RP2040 servo

เชื่อมต่อไมโครเซอร์โวมอเตอร์เข้ากับพอร์ตเซอร์โวพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง ตัวอย่างเช่น คุณสามารถเชื่อมต่อ Micro Servo SG90 เข้ากับพอร์ต S1 บน Maker Uno RP2040

Maker Uno RP2040 Micro Servo

เปิดโปรแกรม Thonny และ เลือกไฟล์ code.py ในไดรฟ์ของคุณ หรือเพียงแค่ ”open with’ code.py โดยใช้ Thonny IDE ทำการคัดลอกและวางโค้ดตามนี้


เมื่อตรวจสอบว่าโค้ดถูกต้องให้กดที่ run สิ่งที่ได้คือ หมุนผ่านลำดับมุม 0°, 180°, 90° และกลับไปที่ 0° องศาในลูปอย่างต่อเนื่อง

Micro Servo Thonny)

หรือเราสามารถปรับความเร็วได้โดยการปรับเวลาพักระหว่างแต่ละมุม ทำการคัดลอกและวางโค้ดตามนี้ สิ่งที่ได้คือ


เมื่อตรวจสอบว่าโค้ดถูกต้องให้กดที่ run สิ่งที่ได้คือ เซอร์โวมอเตอร์จะหมุนจาก 0° ถึง 180° โดยมีการเพิ่มมุมทีละ 5° แต่ละตัวจะหมุนด้วยความเร็วที่ต่างกัน หลังจากเซอร์โวมอเตอร์แต่ละตัวหมุนถึง 180° แล้วจะรอ 0.5 วินาทีก่อนจะเริ่มหมุนตัวถัดไป

Maker Uno RP2040 Micro Servo Motor

ทดสอบเขียนโปรแกรมอ่านค่าเซนเซอร์ด้วย Maker Soil Module และ HC-SR04 Ultrasonic Sensor

โดยเชื่อมต่อโมดูลเซนเซอร์ของคุณเข้ากับพอร์ต Grove ของ Maker Uno เราจะใช้ Maker Soil และเชื่อมต่อกับพอร์ต Grove 5 ของ Maker Uno RP2040

Maker Uno RP2040 Maker Soil

เปิดโปรแกรม Thonny และ เลือกไฟล์ code.py ในไดรฟ์ของคุณ หรือเพียงแค่ ”open with’ code.py โดยใช้ Thonny IDE ทำการคัดลอกและวางโค้ดตามนี้


เมื่อรวจสอบว่าโค้ดถูกต้องให้กดที่ run อ่านค่าจาก Maker Soil Module (หรือเซนเซอร์อะนาล็อกอื่นๆ) และแสดงผลการอ่านค่าใน REPL panel ทุก ๆ 1 วินาที

ทดสอบความชื้นในอากาศ

Maker Soil reading sensor

แสดงค่าความชื้นเป็น 2.334456

ทดสอบความชื้นที่ผิวน้ำ

soil sensor moist

แสดงค่าความชื้นเป็น 1.96224

ทดสอบความชื้นที่จุ่มน้ำ

soil sensor wet

แสดงค่าความชื้นเป็น 1.55528

เริ่มจากเชื่อมต่อเซ็นเซอร์อัลตราโซนิกเข้ากับพอร์ต Grove 2 ของ Maker Uno RP2040 ผ่านสายเคเบิล Grove ถึง 4 female โดยเซนเซอร์ Ultrasonic HC-SR04P ในการอ่านและวัดระยะทาง และแสดงผลระยะทางใน REPL (Read-Eval-Print Loop)

Maker Uno RP2040 HC-SR04 Ultrasonic Sensor

เปิดโปรแกรม Thonny และ เลือกไฟล์ code.py ในไดรฟ์ของคุณ หรือเพียงแค่ ”open with’ code.py โดยใช้ Thonny IDE ทำการคัดลอกและวางโค้ดตามนี้


เมื่อตรวจสอบว่าโค้ดถูกต้องให้กดที่ จะขึ้นดังนี้

HC-SR04 Ultrasonic Sensor reading distance Thonny IDE

โดยแสดงค่าระยะห่างจากกล่อง 13 – 14 cm

สรุป

Maker Uno RP2040 เริ่มต้นใช้งานบน Thonny IDE ด้วย CircuitPython ระดับสำหรับเริ่มต้น ซึ่งออกแบบมาเหมาะสำหรับการเรียนรู้และการสอนการเขียนโปรแกรม ทดสอบการเขียนโปรแกรม Blink ไฟกระพริบ, ไฟ LED แบบ RGB, กดปุ่มไฟติด, buzzer ทำให้มีเสียง, ใช้งานร่วมกับ Micro Servo Motor เพื่อทดสอบการหมุนของเซอร์โวมอเตอร์, การอ่านค่าเซนเซอร์ด้วย Maker Soil Module วัดความชื้นในอากาศ ผิวน้ำ และความชื้นที่จุ่มน้ำ, การอ่านค่าเซนเซอร์วัดระยะห่างวัดถุด้วยโมดูลเซนเซอร์ Ultrasonic HC-SR04 สามารถนำไปใช้งานได้ง่าย สะดวก ไม่ซับซ้อนพร้อมมี Tutorials บทช่วยสอนที่มีคำแนะนำวิธีการติดตั้งและตัวอย่างการใช้งานอย่างละเอียด เหมาะสำหรับเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานในการศึกษา ไม่เพียงเท่านั้นคุณยังสามารถนำไปต่อยอด ใช้บอร์ดร่วมกับอุปกรณ์เสริมที่มีประโยชน์อื่นๆ เพื่อยกระดับประสบการณ์การเรียนรู้และจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ในระดับสูงต่อไปได้

ขอขอบคุณ Cytron ที่ส่งชุด Maker Uno RP2040 kid มาให้เราได้ทำการรีวิว สามารถซื้อบอร์ด Maker Uno RP2040 ราคาประมาณ 500฿, Maker Soil Moisture Sensor ราคา 160฿, HC-SR04 Ultrasonic Sensor ราคาประมาณ 30฿, SG90 Micro Servo ราคา 58฿, OLED I2C 0.96Inch 128×64 Blue Display ราคา 190฿ บนเว็ปไซด์ของ Cytron (Thailand)

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Inline Feedbacks
View all comments
โฆษณา