Things Industries ได้เปิดตัว The Things Indoor Gateway ครั้งแรกเมื่อปี 2019 ซึ่งเป็นเกตเวย์ (gateway) สำหรับการรับส่งข้อมูลแบบ LoRaWAN แบบหลายช่องสัญญาณที่มีราคาไม่แพง ออกแบบมาเพื่อใช้งานในเครือข่าย IoT แม้ว่าจะมีแบบช่องสัญญาณเดียวราคาถูก เช่น Dragino OLG01 ที่มีราคา $83.50(~2,700฿) แต่เกตเวย์เหล่านี้มักพบปัญหาในการเชื่อมต่อในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้ช่องสัญญาณร่วมกัน, The Things Indoor Gateway ที่มีราคาอยู่ประมาณ $111(~3,600฿) จึงเป็นโซลูชันที่เชื่อถือได้สำหรับการใช้งาน IoT ในขนาดใหญ่ ด้วยความสำเร็จที่ได้รับจากรุ่นก่อนบริษัทได้เปิดตัวเกตเวย์รุ่นใหม่ Things Indoor Gateway Pro ซึ่งเป็น LoRaWAN gateway ที่ออกแบบมาเพื่อการติดตั้งเครือข่าย IoT ที่ราบรื่น โดยมีฟีเจอร์ zero-touch provisioning (การกำหนดค่าอัตโนมัติ), การ […]
เปิดตัว Raspberry Pi AI Camera ที่ใช้เซนเซอร์ Sony IMX500 AI และ MCU RP2040
เราเคยได้เขียนบทความเกี่ยวกับ Raspberry Pi ได้จัดแสดง Raspberry Pi Zero 2W พร้อมกล้อง Raspberry Pi AI Camera ที่ใช้เซนเซอร์ Sony IMX500 intelligent vision ในงาน Embedded World 2024 แต่ในขณะนั้นยังไม่มีวางจำหน่าย และตอนนี้กล้อง AI Camera ของ Raspberry Pi วางจำหน่ายแล้ว และต่อมาได้มีการเปิดตัว Raspberry Pi AI Kit ที่ทรงพลังยิ่งขึ้น ซึ่งออกแบบมาสำหรับ Raspberry Pi 5 โดยมาพร้อมกับ Hailo-8L NPU 13 TOPS ที่เชื่อมต่อผ่าน PCIe, ส่วนกล้อง AI Camera ที่ใช้เซนเซอร์ Sony IMX500 และมีไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 ช่วยจัดการ Neural Network และเฟิร์มแวร์ แม้จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่า แต่ก็ยังสามารถทำงานหลายอย่างได้ เช่น การตรวจจับวัตถุและจำแนกร่างกาย และสามารถใช้งานได้กับ Raspberry Pi SBC ทุกรุ่นที่มีตัวเชื่อมต่อ MIPI CS […]
ThunderScope เป็นออสซิลโลสโคปแบบโอเพ่นซอร์สพร้อมพอร์ต Thunderbolt และ PCIe มีอัตราการสุ่มตัวอย่างข้อมูล 1 GS/s
ThunderScope เป็นเครื่องมือวัดออสซิลโลสโคป (Oscilloscope) แบบโอเพ่นซอร์สเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านทาง Thunderbolt/USB4 และ PCIe โดยมีอัตราการสุ่มตัวอย่างสูงสุด 1 GS/s สามารถพกพาสะดวก เป็นทางเลือกโอเพ่นซอร์สที่มีราคาไม่แพงเมื่อเทียบกับออสซิลโลสโคปแบบตั้งโต๊ะและแบบใช้พีซีราคาแพง และยังมีอัตราการสุ่มตัวอย่างที่สูงกว่าออสซิลโลสโคปแบบ USB ส่วนใหญ่ ThunderScope สตรีมข้อมูลตัวอย่างไปยังคอมพิวเตอร์ของคุณเพื่อการประมวลผลและการวิเคราะห์สัญญาณ ซึ่งแตกต่างจากออสซิลโลสโคปแบบดั้งเดิมที่ “ถูกจำกัดด้วยความสามารถในการประมวลผลภายในและอินเทอร์เฟสผู้ใช้ที่จำกัด” โดย ThunderScope ใช้อินเทอร์เฟสที่เร็วที่สุดอย่าง Thunderbolt ในการสตรีมข้อมูล ทำให้สามารถใช้ศักยภาพของคอมพิวเตอร์ของคุณได้อย่างเต็มที่ ThunderScope ยังเป็น & […]
MYiR Tech MYC-LD25X : โมดูลที่ใช้ STM32MP25 ขนาดเล็กสามารถรันบน Debian 12
MYC-LD25X ของ MYiR Tech เป็นโมดูล (system-on-module) ขนาดเล็กกะทัดรัด 39×37 มม. ที่ออกแบบโดยใช้ STMicro STM32MP25 dual-core Cortex-A35 SoC ทำงานที่ความเร็ว 1.5GHz พร้อมด้วย Cortex-M33 core และ NPU ที่สามารถประมวลผลได้ถึง 1.35 TOPS โมดูลนี้มาพร้อมกับ RAM LPDDR4 สูงสุด 2GB, หน่วยความจำ eMMC ขนาด 8GB และตัวเลือกการเชื่อมต่อหลากหลาย เช่น Gigabit Ethernet, Edge computing, ระบบพลังงาน และระบบอัตโนมัติ, MYC-LD25X เหมาะสำหรับแอปพลิเคชันที่ต้องการประสิทธิภาพสูงในสาขาเหล่านี้ ก่อนหน้านี้เราเขียนบทความเกี่ยวกับบอร์ดพัฒนาอื่นๆ จาก MYiR เช่น MYD-J7A100T, MYD-YG2UL, MYD-YG2LX และ MYD-J1028X นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึง system-in-package และโมดูล system-on-module ที่ใช้ STM32MP25 เช่น Digi ConnectCore MP25 และ Octavo OSD32MP2 […]
รีวิว Radxa X4 Kit : บอร์ด SBC ที่ใช้ Intel N100 – ทดสอบประสิทธิภาพและ GPIO บน Ubuntu 24.04 (Part 2)
หลังจากที่เราได้แกะกล่องและทดสอบ Radxa X4 Kit เบื้องต้นไปแล้ว ในรีวิวนี้เราจะมาทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งาน Radxa X4 Kit บนระบบปฎิบัติการ Ubuntu 24.04 กัน โดยทำการทดสอบมาตรฐานและเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับซิงเกิ้ลบอร์ดยอดนิยมอย่าง Raspberry Pi 5 โดยใช้การทดสอบตามหัวข้อดังนี้ การตรวจสอบข้อมูลระบบเบื้องต้น การทดสอบ Benchmark CPU Disk Peripherals Network การทดสอบการใช้งานเว็บและมัลติมีเดียร์ การตรวจสอบการใช้พลังงาน และหลังจากนั้นเรายังจะทดสอบการใช้งานขา GPIO จำนวน 40 ขาที่เชื่อมต่อกับ MCU RP2040 ที่ติดตั้งบนบอร์ดให้เห็นกันว่าถ้าต้องการจะใช้งานจะทำได้อย่างไร ข้อมูลระบบเบื้องต้น
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 |
unoiot@radxa-x4:~/sbc-bench$ cat /etc/lsb-release DISTRIB_ID=Ubuntu DISTRIB_RELEASE=24.04 DISTRIB_CODENAME=noble DISTRIB_DESCRIPTION="Ubuntu 24.04 LTS" unoiot@radxa-x4:~/sbc-bench$ uname -a Linux radxa-x4 6.8.0-40-generic #40-Ubuntu SMP PREEMPT_DYNAMIC Fri Jul 5 10:34:03 UTC 2024 x86_64 x86_64 x86_64 GNU/Linux unoiot@radxa-x4:~/sbc-bench$ df -mh Filesystem Size Used Avail Use% Mounted on tmpfs 772M 2.3M 770M 1% /run /dev/nvme0n1p2 116G 12G 99G 11% / tmpfs 3.8G 4.0K 3.8G 1% /dev/shm tmpfs 5.0M 8.0K 5.0M 1% /run/lock efivarfs 192K 84K 104K 45% /sys/firmware/efi/efivars /dev/nvme0n1p1 1.1G 6.2M 1.1G 1% /boot/efi tmpfs 772M 2.6M 770M 1% /run/user/1000 |
โดยเราทำการติดตั้ง Ubuntu 24.04 ลงไปบน SSD ขนาด 128GB และแรมขนาด 8GB จากนั้นเราทำการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมด้วย […]
บอร์ดพัฒนา WiFi 6 และ Bluetooth 5.0 ที่ใช้ ESP32-C6 พร้อมพอร์ต USB-C และจอแสดงผล TFT LCD 1.47 นิ้ว
Waveshare เปิดตัวบอร์ดพัฒนา ESP32-C6-LCD-1.47 ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-C6 RISC-V ซึ่งรองรับ WiFi 6 และการเชื่อมต่อ Bluetooth 5 และมาพร้อมกับจอแสดงผลขนาด 1.47 นิ้วความละเอียด 172×320 พิกเซล พร้อม flash 4MB, LED RGB และช่องเสียบการ์ด microSD สำหรับเก็บข้อมูลเพิ่มเติม บอร์ดนี้เหมาะสำหรับโครงการที่ต้องการจอแสดงผลขนาดเล็ก การใช้พลังงานต่ำ และการเชื่อมต่อไร้สาย เช่น แอปพลิเคชัน AIoT และ และ Human-Machine Interfaces (HMI) เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับ ESP32-S3 USB dongle ซึ่งเป็นบอร์ดพัฒนาอีกตัวหนึ่งจาก Waveshare ที่ออกแบบมาสำหรับแอปพลิเคชัน HMI โดยมีหน้าจอขนาด 1.47 นิ้วความละเอียด 172×320 พิกเซล แต่มีพอร์ต USB Type-A และเราเคยกล่าวถึงบอร์ดพัฒนาอื่นๆ ที่ใช้ ESP32 สำหรับแอปพลิเคชัน HMI เช่น LILYGO T-HMI, ESP32-S3-Tou […]
Arduino เปิดตัว Power Management Library สำหรับโมดูล Arduino Pro เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
Arduino ได้ปล่อย Power Management Library ใหม่ที่ออกแบบมาสำหรับโมดูล Arduino Pro เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบการใช้แบตเตอรี่, ปรับแต่งพารามิเตอร์การชาร์จ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโค้ด Arduino โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปิดใช้งานโหมด sleep และ standby บนอุปกรณ์ที่รองรับ ปัจจุบันบอร์ด Arduino Portenta H7, Arduino Portenta C33 และโมดูล Nicla Vision รองรับ Power Management Library ใหม่นี้ โดยบริษัทอธิบายว่าบอร์ดบางรุ่นใช้พลังงานน้อยกว่า 100 ไมโครแอมป์ในโหมด deep sleep ซึ่งช่วยให้สามารถทำงานต่อเนื่องได้หลายเดือนหรือแม้กระทั่งเป็นปีด้วยการชาร์จเพียงครั้งเดียว ดังนั้นการใช้ฟีเจอร์เหล่านี้ช่วยให้ประหยัดพลังงานของอุปกรณ์ IoT และอุปกรณ์สวมใส่ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ ฟีเจอร์สำคัญของ Power Management Library สำห […]
บอร์ด Adafruit Feather RP2350 พร้อมพอร์ต HSTX รองรับการแสดงผลวิดีโอและการเชื่อมต่อหน้าจอ
“Adafruit Feather RP2350 with HSTX port” เป็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ที่มีพอร์ตอินเทอร์เฟส HSTX (High-Speed Serial Transmit) ขนาด 22 พินบนบอร์ด นอกจากนี้บอร์ดยังมีที่ชาร์จ LiPo 200mA+ ในตัว, ไฟ LED RGB, คอนเนกเตอร์ STEMMA QT และพอร์ต USB Type-C สำหรับการจ่ายไฟและการเขียนโปรแกรม บอร์ดนี้สามารถใช้งานร่วมกับ FeatherWings และรองรับการพัฒนาด้วยภาษาการเขียนโปรแกรมต่าง ๆ ฟีเจอร์เหล่านี้ทำให้บอร์ดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่โปรเจกต์ฝังตัว อุปกรณ์ IoT ไปจนถึงการศึกษาและการสร้างต้นแบบ ก่อนหน้านี้เราเคยกล่าวถึงบอร์ดพัฒนาที่ใช้ RP2350 หลากหลายรุ่น เช่น MOTION 2350 Pro ที่ออกแบบมาสำหรับควบคุมหุ่นยนต์และมอเตอร์, โมดูล RP2350 Stamp ของ Solder Party สำหรับการใช้งานที่มีพื้นที่จำ […]