Quectel LG290P เป็นโมดูล GNSS แบบ quad-band (L1, L2, L5 และ E6) ตัวแรกของโลก

Quectel LG290P Multi constellation and multi Band GNSS module

Quectel LG290P เป็นโมดูลระบุตำแหน่ง GNSS แบบ quad-band ที่มีความแม่นยำสูงและสามารถทำงานแบบ real-time kinematic (RTK) รองรับระบบดาวเทียม GPS, GLONASS, Galileo, BDS, QZSS, และ NavIC, โมดูล GNSS ทั่วไป เช่น SparkFun GNSS L1/L5 สามารถทำงานร่วมกับหนึ่งหรือสองคลื่นสัญญาณ แต่โมดูล Quectel สามารถทำงานร่วมกับคลื่นสัญญาณทั้ง L1, L2, L5, และ E6 ได้พร้อมกันและมีเทคโนโลยีป้องกันการรบกวนสัญญาณในตัวเพื่อปรับปรุงการรับสัญญาณในสภาพแวดล้อมที่ท้าทาย การออกแบบทั้งหมดนี้ทำให้ชิปนี้เหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น หุ่นยนต์อัตโนมัติ, UAVs, เกษตรแม่นยำ, การสำรวจและทำแผนที่, และการขับขี่อัตโนมัติ ก่อนหน้านี้เราได้เขียนเกี่ยวกับ โมดูล GPS ที่มีความแม่นยำสูง เช่น โมดูล SparkFun RTK EVK, โมดูล SparkFun RTK Torch , โมดูล Ca […]

โมดูล Forlinx FET3576-C ที่ใช้ Rockchip RK3576 พร้อมบอร์ดพัฒนา OK3576-C สำหรับแอปพลิเคชันด้าน AIoT

Forlinx FET3576 C SoM and Carrier Board

Forlinx FET3576-C เป็นโมดูล (SoM หรือ System-on-Module) ที่ใช้ Rockchip RK3576 SoC ซึ่งมีคอร์ Arm Cortex-A72 จำนวนสี่คอร์และคอร์ Cortex-A53 อีกสี่คอร์, เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต lithography 22 นาโนเมตร(nm), โมดูลมี RAM LPDDR4 ให้เลือกความจุ 2GB หรือ 4GB และมีที่เก็บข้อมูล eMMC สูงสุด 32GB นอกจากนี้ยังมี NPU ที่มีพลังการประมวลผล 6 TOPS และรองรับอุปกรณ์ต่อพ่วงมาตรฐาน เช่น GbE Ethernet, Wifi, Bluetooth, LVDS, MIPI DSI และอื่นๆ  ด้วยคุณสมบัติทั้งหมดนี้ทำให้อุปกรณ์นี้เหมาะสมสำหรับการใช้งานด้าน IoT, edge computing, digital signage และแอปพลิเคชันอื่นๆ โมดูล FET3576-C และบอร์ดพัฒนา OK3576-C นั้นดูคล้ายกับโมดูล Forlinx FET3562J-C และบอร์ดบอร์ดฐาน (Carrier board) ที่เราเคยกล่าวถึงเมื่อต้นเดือนนี้ แต่ความแตกต่างหลักระหว่าง […]

รีวิว LattePanda Mu : Compute Module x86 ที่ใช้ซีพียู Intel N100 พร้อมทดสอบประสิทธิภาพบน Ubuntu 24.04

LattePanda mu ubuntu benchmark review

หลังจากที่เราได้แกะกล่องและทดสอบ LattePanda Mu พร้อมอุปกรณ์เสริมไปแล้วบน Windows ซึ่งได้ทดสอบการใช้งาน Lite Carrier Board และ Full-Function Evaluation ไปแล้วในรีวิวแกะกล่องและทดสอบการใช้งานบน Windows นั้น ในรีวิวนี้เราจะมาทดสอบใช้งาน LattePanda Mu บนระบบปฎิบัติการ Ubuntu 24.04 กัน โดยทำการทดสอบมาตรฐานเช่นเดียวกันกับบอร์ดอื่น ๆ คือ การตรวจสอบข้อมูลระบบเบื้องต้น การทดสอบ Benchmark CPU Disk Peripherals Network การทดสอบการใช้งานเว็บและมัลติมีเดียร์ การตรวจสอบการใช้พลังงาน และเนื่องจาก LattePanda Mu เป็นสถาปัตยกรรม X64 ทำให้เราสามารถสร้าง boot disk เพื่อทำการติดตั้ง Ubuntu 24.04 ได้เหมือนการติดตั้งทั่วไปเลย โดยหลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว เราจะมาตรวจสอบข้อมูลระบบเบื้องต้นกันในหัวข้อด้านล่าง ข้อมูลระบบเบื้องต้น [crayon-67 […]

SagireEdge AI 600 : โมดูล SMARC และบอร์ดพัฒนาที่ใช้โปรเซสเซอร์ Qualcomm QCS6490 AIoT สำหรับใช้งานด้าน Edge AI

Qualcomm QCS6490 SMARC SoM

SagireEdge AI 600 ของ Sagire AI เป็นโมดูล (System-on-Module หรือ SoM) ตามมาตรฐาน SMARC และชุดพัฒนาที่ใช้โปรเซสเซอร์ Qualcomm QCS6490 octa-core Cortex-A78/A55 IoT และออกแบบมาสำหรับใช้งานด้าน Edge AI โมดูลนี้มาพร้อมกับหน่วยความจำ RAM LPDDR5 8GB และ UFS 128GB, โมดูลไร้สาย WiFi 6E และ Bluetooth 5.5, ตัวควบคุม CAN Bus และและคอนเนกเตอร์กล้องและเสียงบนโมดูล. MXM 3.0 edge connector เชื่อมต่อกล้องเพิ่ม, อินเทอร์เฟสจอ MIPI DSI, PCIe Gen3 x2, gigabit Ethernet, พอร์ต USB, และขา I/O แบบ low-speed สเปคของ SagireEdge AI 600 SoM: SoC – Qualcomm QCS6490 CPU – Octa-core Kryo 670 พร้อม 1x Gold Plus core (Cortex-A78) @ 2.7 GHz, 3x Gold cores (Cortex-A78) @ 2.4 GHz, 4x Silver cores (Cortex-A55) @ สูงสุด 1.9 GHz GPU – Adreno 643L GP […]

Acelink SM81 : โมดูลที่ใช้ MediaTek Filogic 820 รองรับ WiFi 6 รันระบบปฏิบัติการ OpenWrt 23.05 หรือ Debian 11

ACELINK SM81 MediaTek Filogic 820 system on module

Acelink SM81 เป็นโมดูล (system-on-module) ขนาดเล็กกะทัดรัด (50×36 มม.) ที่ใช้โปรเซสเซอร์ MediaTek Filogic 820 (MT7981A/B) พร้อมการเชื่อมต่อ WiFi 6 และ Ethernet ออกแบบมาสำหรับการใช้งาน IoT เช่น เราเตอร์, Access Point, และเกตเวย์ โมดูลไร้สายมาพร้อมกับหน่วยความจำ DDR4 สูงสุด 1GB, NOR flash 2MB สำหรับ bootloader, eMMC flash 32GB สำหรับ Linux หรือ NAND flash ที่เป็นอุปกรณ์เสริม และแสดง I/O ต่างๆ เช่น gigabit Ethernet, USB 3.0, PCIe 2.1, UART และอื่นๆ ผ่านรูแบบ castellated สเปคของ Acelink SM81: SoC (สามารถเลือกได้ 1 โปรเซสเซอร์) โปรเซสเซอร์ MediaTek MT7981AA (Filogic 820) dual-core @ 1.3 GHz โปรเซสเซอร์ MediaTek MT7981BA (Filogic 820) dual-core @ 1.3 GHz โดยไม่มีอินเทอร์เฟส PCIe หน่วยความจำ – DDR4 @ 2133 Mbps 1G […]

โมดูล MYC-LR3568 ที่ใช้ RK3568 พร้อม RAM สูงสุด 8GB, ที่เก็บข้อมูล 32GB สำหรับใช้งานด้าน Edge AI

MYIR MYD-LR3568 development board

MYIR Tech ได้เปิดตัว MYC-LR3568 เป็นโมดูล (SoM) Edge AI  ที่ใช้ Rockchip RK3568 มาพร้อมกับการออกแบบแพ็คเกจ LGA ขยาย 381 ขามี RAM LPDDR4 สูงสุด 8GB, ที่เก็บข้อมูล eMMC flash 32GB, วงจรรวมการจัดการพลังงาน และตัวเลือกการเชื่อมต่อต่างๆ การกำหนดค่าพื้นฐานของโมดูล MYC-LR3568 มี RAM เพียง 2GB และที่เก็บข้อมูล 16GB แต่โมดูลนี้รองรับ RAM ได้สูงสุด 8GB และที่เก็บข้อมูล eMMC 32GB รองรับตัวถอดรหัสวิดีโอหลายตัว รวมถึงการถอดรหัส 4K 60fps H.265/H.264/VP9 และการเข้ารหัส 1080P 60fps H.265/H.264 เพื่อการเล่นและบันทึกวิดีโอคุณภาพสูง โมดูล MYC-LR3568 ทำงานร่วมกับระบบปฏิบัติการ Debian และ Linux ได้รับการออกแบบมาสำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมที่เน้นช่วยลดต้นทุน เช่น เกตเวย์ IoT, การจัดเก็บข้อมูล NVR, การควบคุมอุตสาหกรรม, human-machine […]

AAEON AQ7-ADN – โมดูล Qseven 2.1 ที่ใช้ซีพียู Intel Alder Lake-N พร้อมอินเทอร์เฟส PCIe Gen 3 x1 สี่ตัว

AAEON AQ7-ADN Alder Lake N Qseven system on module

AAEON AQ7-ADN เป็นโมดูล (System-on-Module หรือ SoM) ตามมาตรฐาน Qseven 2.1 ที่ใช้ซีพียู Alder Lake N-series หลายตัวเลือก เช่น Atom x7425E, Intel Processor N หรือโปรเซสเซอร์ Intel Core i3-N305 พร้อม LPDDR5x สูงสุด 8GB และที่เก็บข้อมูล eMMC flash 64GB AAEON เคยเปิดตัวโมดูล Alder Lake-N COM Express และ SMARC คือ COM-ADNC6 และ uCOM-ADN และ AQ7-ADN ยังเพิ่มมาตรฐาน system-on-module อีกหนึ่งแบบในรายการโมดูล Alder Lake N-Series ด้วย Qseven 2.1 SoM พร้อมอินเทอร์เฟส PCIe Gen x1 4 ช่องและอินเทอร์เฟสที่เก็บข้อมูล SATA สเปคของ AAEON AQ7-ADN: Alder Lake N-series SoC (เลือกได้ 1 โปรเซสเซอร์) โปรเซสเซอร์ Intel Atom x7425E Quad-core สูงสุด 3.4 GHz พร้อม 6MB cache, 24EU Intel UHD Graphics @ 1.00 GHz; TDP: 12W โปรเซสเซอร์ Intel Pr […]

เปิดตัว Linux 6.10 พร้อมเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสถาปัตยกรรม Arm, RISC-V และ MIPS

Linux 6.10 Release Changelog

Linux Torvalds ได้ประกาศเปิดตัว Linux 6.10 บน LKML (Linux kernel mailing list), เมื่อประมาณ 2 เดือนทีผ่านมาได้เปิดตัว Linux 6.9 โดยเพิ่มการรองรับ Intel Flexible Return and Event Delivery (FRED), การรองรับการรัน AMD Secure Nested Paging (SNP) guests, การแก้ไขปัญหา “Register File Data Sampling” (RFDS) ซึ่งเป็นช่องโหว่ทางฮาร์ดแวร์ที่มีผลกระทบกับ Intel Atom CPUs, ฟีเจอร์ named address spaces ของ GCC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูล per-CPU, และการรองรับเบื้องต้นสำหรับ FUSE passthrough รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน Linux 6.10 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญบางส่วนใน Linux 6.10: การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่าย – เพิ่มประสิทธิภาพการส่งแบบ zero-copy โดยใช้ io_uring และการรวมหล […]