Mercury X1 : หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ล้อเลื่อน ที่ใช้คอนโทรลเลอร์ AI NVIDIA Jetson Xavier NX และบอร์ดควบคุมมอเตอร์ ESP32

Mercury X1 wheeled humanoid robot

Elephant Robotics Mercury X1 เป็นหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ล้อเลื่อน (Wheeled Humanoid Robot) สูง 1.2 เมตร ที่มาพร้อมแขนกล 2 แขนที่ใช้ NVIDIA Jetson Xavier NX เป็นตัวควบคุมหลักและไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32 สำหรับการควบคุมมอเตอร์ เหมาะสำหรับการวิจัย การศึกษา งานบริการ ความบันเทิง และการควบคุมระยะไกล หุ่นยนต์ตัวนี้มีอิสระในการเคลื่อนไหวถึง 19 องศา สามารถยกน้ำหนักได้สูงสุด 1 กิโลกรัม ทำงานได้ต่อเนื่องนานถึง 8 ชั่วโมงต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง และเคลื่อนที่ได้ด้วยความเร็วสูงสุด 1.2 เมตร/วินาที หรือประมาณ 4.3 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยพัฒนาต่อยอดจากหุ่นยนต์แขนคู่ Mercury B1 ของบริษัท พร้อมฐานเคลื่อนที่ประสิทธิภาพสูง สเปคของ Mercury X1: คอนโทรลเลอร์หลัก – NVIDIA Jetson Xavier NX CPU – โปรเซสเซอร์ NVIDIA Carmel ARM v8.2 แบบ 64 บิต 6-core […]

CYOBot v2 แพลตฟอร์มหุ่นยนต์โมดูลาร์แบบโอเพนซอร์สที่ใช้ ESP32-S3 รองรับเซอร์โวได้สูงสุด 16 ตัว

cyobot modular robotics platform

Create Your Own Bot (CYOBot) v2 เป็นแพลตฟอร์มหุ่นยนต์โมดูลาร์แบบโอเพ่นซอร์สสำหรับนักเรียน, ครูผู้สอน, ผู้ที่สนใจทำกิจกรรมเกี่ยวกับหุ่นยนต์ และวิศวกรในอนาคต โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP32-S3 และรองรับการควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ได้สูงสุดถึง 16 ตัว เพื่อการควบคุมที่ซับซ้อน CYOBot v2 เป็นการพัฒนาต่อจากแพลตฟอร์มหุ่นยนต์สี่ขาจากบริษัทเดียวกัน โดยเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น การออกแบบโมดูลาร์, การอัปเกรดไปใช้ชิป ESP32-S3, ช่องมอเตอร์ที่มากขึ้น, และบล็อกขยายที่รองรับอุปกรณ์เสริมมากขึ้น นอกจากนี้ยังรองรับการรวมระบบ AI เช่น ChatGPT เพื่อเพิ่มฟังก์ชันการใช้งาน CYOBot รองรับการตั้งค่า 3 รูปแบบผ่าน CYOBrain ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนแพลตฟอร์มหุ่นยนต์และควบคุมเซอร์โวมอเตอร์ รวมถึงส่วนประกอบที่พิมพ์ 3D แยกต่างหาก รูปแบบ CYOBot Crawler คือหุ่ […]

กิจกรรม Giveaway Week 2024 : แจกบอร์ด Cytron MOTION 2350 Pro

Cytron MOTION 2350 PRO

สัปดาห์นี้ทาง CNX Software (https://th.cnx-software.com) ได้จัดกิจกรรม Giveaway Week 2024 ถ้าคุณยังไม่มีบอร์ด Cytron MOTION 2350 Pro ในมือนี่เป็นโอกาสของคุณ รางวัลที่ 1 ของสัปดาห์ MOTION 2350 Pro เป็นบอร์ดที่ใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 ออกแบบมาสำหรับหุ่นยนต์และควบคุมมอเตอร์ บอร์ดนี้มาพร้อมกับ DC motor driver สำหรับขับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง 4 ตัวเป็นแบบ brushed โดยมีช่วงแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 3.6V ถึง 16V นอกจากนี้ยังมีพอร์ตเซอร์โว 5V จำนวน 8 พอร์ต, พอร์ต GPIO จำนวน 8 พอร์ต และพอร์ต Maker จำนวน 3 พอร์ตสำหรับโมดูลเซนเซอร์หรือ Actuator โดยขา I/O แต่ละขาจะจับคู่กับ LED ของตัวเอง ซึ่งทำให้บอร์ดเหมาะสำหรับตลาดการศึกษาและยังช่วยในการดีบักได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีพอร์ต USB 1.1 host สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น RF dongl […]

Olimex RVPC : คอมพิวเตอร์ RISC-V ราคา 1 ยูโร(~36฿) พร้อมคอนเนกเตอร์ VGA และ PS/2

One Euro RISC V computer

Olimex RVPC เป็นคอมพิวเตอร์ RISC-V ราคา 1 ยูโร(~36฿) ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ WCH CH32V003 RISC-V และมาพร้อมกับพอร์ต VGA สำหรับการแสดงผลวิดีโอ และคอนเนกเตอร์ PS/2 สำหรับเชื่อมต่อคีย์บอร์ด คุณอาจจะไม่สามารถทำอะไรได้มากนักกับอุปกรณ์นี้ในฐานะผู้ใช้งานทั่วไป แต่ก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะบอร์ด RVPC ซึ่งเป็นฮาร์ดแวร์โอเพ่นซอร์สนี้มีเป้าหมายหลักที่ตลาดการศึกษา โดยนำเสนอเป็นชุดคิทที่ต้องบัดกรีเอง เพื่อให้ราคาขายต่ำลงและใช้เป็นชุดเรียนรู้การบัดกรีด้วย สเปคของ Olimex RVPC: MCU – WCH CH32V003 ไมโครคอนโทรลเลอร์ RISC-V2A 32 บิต สูงสุด 48 MHz พร้อม SRAM 2KB, flash 16KB (แพ็คเกจ SOP8 พร้อม 6x GPIO) เอาท์พุตวิดีโอ – คอนเนกเตอร์ VGA (3x GPIO ใช้สำหรับ Vsync, HSync และ RGB) พอร์ตคีย์บอร์ด – คอนเนกเตอร์ PS/2 (ใช้ 2x GPIO) พอร์ตโปรแ […]

บอร์ด Pimoroni Explorer สำหรับการเรียนรู้ที่ใช้ Raspberry Pi RP2350 พร้อมจอ LCD 2.8 นิ้ว, breadboard sensors และอื่นๆ

Pimoroni Explorer Starter Kit

บอร์ด Pimoroni Explorer เป็นบอร์ดสำหรับการทดลองอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นโดยใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 มีหน้าจอ LCD ขนาด 2.8 นิ้ว, ขั้วต่อสำหรับลำโพง, และพอร์ต I/O ต่างๆ ซึ่งทำให้สามารถสร้างวงจร ทดลองโปรเจกต์ และสร้างหุ่นยนต์ขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังมีแผงต่อวงจรหรือเบรดบอร์ด Breadboard ขนาดเล็ก, ปุ่มสัมผัส และขั้วต่อแบบ crocodile clip terminals ทำให้เหมาะสำหรับทั้งผู้เริ่มต้นและผู้ที่มีประสบการณ์ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ Raspberry Pi Limited เพิ่งเปิดตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350 พร้อมกับ บอร์ด Raspberry Pi Pico ราคา $5 (~180฿) และเราได้เห็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ RP2350 มากมาย เช่น Cytron MOTION 2350 Pro, Bus Pirate 5XL และ 6 รวมถึงบอร์ดพัฒนาอื่นๆ, Pimoroni Explorer เป็นอีกหนึ่งบอร์ดพัฒนาที่ใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350 สเปคขอ […]

Cytron MOTION 2350 Pro – บอร์ด Raspberry Pi RP2350 สำหรับหุ่นยนต์และควบคุมมอเตอร์

Cytron MOTION 2350 PRO

ตามที่กล่าวไว้ในบทความ Raspberry Pi Pico 2 มีบริษัทอื่นที่ได้พัฒนาบอร์ดและใช้ชิป RP2350 อีกหลายบริษัทและหนึ่งในนั้นคือบอร์ด MOTION 2350 Pro จาก Cytron ที่ออกแบบมาสำหรับหุ่นยนต์และควบคุมมอเตอร์ บอร์ดนี้มาพร้อมกับ DC motor driver สำหรับขับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง 4 ตัวเป็นแบบ brushed โดยมีช่วงแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 3.6V ถึง 16V นอกจากนี้ยังมีพอร์ตเซอร์โว 5V จำนวน 8 พอร์ต, พอร์ต GPIO จำนวน 8 พอร์ต และพอร์ต Maker จำนวน 3 พอร์ตสำหรับโมดูลเซนเซอร์หรือ Actuator โดยขา I/O แต่ละขาจะจับคู่กับ LED ของตัวเอง ซึ่งทำให้บอร์ดเหมาะสำหรับตลาดการศึกษาและยังช่วยในการดีบักได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีพอร์ต USB 1.1 host สำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น RF dongle สำหรับจอยสติ๊กหรือคีย์บอร์ด สเปคของ Cytron MOTION 2350 Pro: ไมโครคอนโทรลเลอร์ – […]

MechDog หุ่นยนต์สุนัข AI ที่ใช้ ESP32-S3 รองรับการเขียนโปรแกรม Scratch, Python และ Arduino

MechDog AI Robot Dog

MechDog ของ Hiwonder เป็นหุ่นยนต์สุนัข AI ขนาดเล็กกะทัดรัดที่ใช้ ESP32-S3 เป็นตัวควบคุมมีเซอร์โวมอเตอร์ไร้แกนความเร็วสูง 8 ตัว หุ่นยนต์ตัวมีระบบการคำนวน inverse kinematics ในตัวสำหรับการเคลื่อนไหวที่แม่นยำและคล่องตัว และมีพอร์ตสำหรับเซนเซอร์ I2C ต่างๆ เช่น เซนเซอร์อัลตราโซนิกและ IMU หุ่นยนต์ตัวนี้ใช้โครงสร้างเป็นอะลูมิเนียมอัลลอยด์ที่ทนทานและแบตเตอรี่ลิเธียม 7.4V 1,500mAh ที่สามารถถอดออกได้เพื่อจ่ายพลังงาน MechDog ใช้โมดูล AI Vision ของ ESP32-S3 ซึ่งรองรับการสื่อสารเครือข่ายแบบสองโหมด คือ โหมด AP Hotspot Direct Connection หรือ STA LAN Mode เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงหน้าเว็บที่กำหนดผ่านแอปมือถือหรือคอมพิวเตอร์สำหรับการตรวจสอบแบบเรียลไทม์โดยใช้กล้องความละเอียดสูง นอกจากนี้ หุ่นยนต์สุนัขนี้ยังรองรับโมดูลเซนเซอร์ต […]

M5Stamp Fly : โดรน WiFi ที่ใช้ ESP32-S3 พร้อมจอยสติ๊ก และใช้โปรโตคอล ESPNOW สำหรับการสื่อสาร

M5Stamp Fly ESP32 Drone

M5Stamp Fly ของ M5Stack เป็นโดรน WiFi ขนาดจิ๋วที่ใช้โมดูล M5Stamp S3 WiFi 4 และ BLE IoT ของบริษัทที่ใช้ ESP32-S3 ซึ่งมีมอเตอร์ 4 ตัวและเซนเซอร์หลายตัว และสามารถควบคุมได้ด้วยจอยสติ๊ก M5Atom WiFi joystick controller โดยใช้ชิป ESP32-S3 WiSoC เช่นกัน เมื่อไม่นานมานี้เราได้เห็นโดรน WiFi ขนาดจิ๋วที่ใช้ ESP32 หรือ ESP8266 เช่นโดรน DIY ที่ใช้ ESP32 และโดรน PiWings 2.0 แต่ M5Stamp Fly เหนือกว่า โดยมีเซนเซอร์ทั้งหมด 6 ตัว ซึ่งได้แก่ Barometer (วัดความดันบรรยากาศ), เซ็นเซอร์วัดระยะทางแบบ time-of-flight 2 ตัว, 6-axis IMU, 3-axis magnetometer  และเซนเซอร์ล็อคตำแหน่ง (optical flow sensor) นอกจากนี้ยังมีพอร์ต Grove 2 พอร์ตสำหรับเซนเซอร์หรือโมดูลเพิ่มเติม สเปคของ M5Stamp Fly (K138) : ตัวควบคุมหลัก – โมดูล M5Stamp S3 WiSoC – Es […]

Exit mobile version