STM32C0 ไมโครคอนโทรลเลอร์ 32 บิต ราคาถูกเพื่อแทนที่ MCU 8 บิต

STM32C0 block diagram

เรายังเห็น MCU 8 บิตในการออกแบบจำนวนมาก แต่ด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ประเภท low-cost รุ่นใหม่ 48MHz STM32C0 32-บิต Arm Cortex-M0+,  STMicroelectronics ตั้งเป้าหมายที่จะให้แทนที่ไมโครคอนโทรลเลอร์ 8 บิตด้วย “ผลกระทบน้อยที่สุดต่อโครงสร้างต้นทุน” และการรองรับที่ได้รับการปรับปรุงโดยระบบนิเวศ STM32 (STM32 ecosystem) STM32C0 เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32 ที่ราคาถูกที่สุด แฟลชได้สูงสุด 32 KB, RAM 6 หรือ 12 KB และอินเทอร์เฟซ I/O เช่น UART, I2C, SPI, ADC 12 บิต และอื่นๆ MCU STM32C0 มีจำหน่ายในแพ็คเกจ 8 ถึง 48 พิน เช่น WLCSP12, UFQFPN และแพ็คเกจ WLCSP12 ที่มีขนาดเล็กมากเพียง 1.70 x 1.42 มม. คุณลักษณะและสเปคที่สำคัญของ STMicro STM32C0: MCU Core -Arm 32-bit Cortex-M0+ CPU @ สูงสุด 48 MHz หน่วยความจำ – 6KB ( STM32C011 x […]

INEX POP-32 : บอร์ด STM32 เพื่อการเรียนรู้ด้าน STEM และสร้างหุ่นยนต์

pop-32 MCU

INEX POP-32 เป็นบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ 32 บิต ที่ใช้ชิป STM32F103CBT6 ของ STMicroelectronics มีหน่วยความจำแฟลช 128KB แรม 20KB ความเร็ว 72 MHz พร้อมหน้าจอแสดงผล OLED 1.5 นิ้ว รองรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C เป็นบอร์ดเพื่อการเรียนรู้ด้าน STEM และสร้างหุ่นยนต์ มีวงจรเชื่อมต่อพอร์ต USB เพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูลและดาวน์โหลดโปรแกรมได้ในตัว POP-32 ได้เลือกใช้ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของ Arduino แบบโอเพ่นซอร์สแล้วมาปรับปรุงต่อ โดยมีไลบรารีฟังก์ชั่นภาษา C สำหรับติดต่อกับฮาร์ดแวร์จำนวนมากไว้ให้ ทำให้เขียนโปรแกรมสั่งงานอุปกรณ์ต่างๆ ได้ง่าย สเปคของบอร์ด POP-32 MCU – ไมโครคอนโทรลเลอร์ขนาด 32 บิตรุ่น STM32F103CBT6 ของ STMicroelectronics มีหน่วยความจำแฟลช 128KB โปรแกรมใหม่ได้ 10,000 ครั้ง มีหน่วยความจำข้อมูลแรม 20KB จอแสดง […]

Espressif ESP32-P4 – ไมโครคอนโทรลเลอร์ ที่ใช้ RISC-V dual-core ความเร็ว 400 MHz

ESP32 P4

ESP32-P4 เป็นชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ ของ Espressif ที่ใช้ RISC-V dual-core ชนิดใช้งานทั่วไป (general-purpose) มีความเร็วสูงสุด 400 MHz พร้อมส่วนขยายคำสั่ง AI, ,มีขา I/O จำนวนมาก และด้านความปลอดภัย (security) นอกจากนี้ ESP32-P4 เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ตัวแรกจาก Espressif Systems ที่ไม่รองรับการสื่อสารไร้สาย ดังนั้นจึงน่าจะถูกมองว่าเป็นทางเลือกแทน STM32F7/H7 microcontrollers หรือ NXP i.RT crossover processors ที่ใช้ Arm Cortex-M7 และมีราคาที่ถูกกว่า นอกจากนี้ยังมีการใช้พลังงานที่ต่ำกว่าชิป ESP32 อื่น ๆ ด้วยส่วนหนึ่งมาจาก third RISC-V core โอเวอร์คล็อกที่ 40 MHz ที่สามารถทำให้ระบบทำงานต่อไปได้ ในขณะที่สอง high-performance cores หยุดทำงาน คุณลักษณะและข้อมูลจำเพาะที่สำคัญของ ESP32-P4: MCU subsystems CPU Dual-core RISC-V H […]

Bluetooth LE บน Raspberry Pi Pico W จะสามารถใช้งานได้ในเร็วๆ นี้

Raspberry Pi Pico W Bluetooth LE

ในเดือนมิถุนายน 2022 บอร์ดRaspberry Pi Pico W ได้เปิดตัว พร้อมกับโมดูล WiFi 4 และ Bluetooth 5.2 LE ที่ใช้ชิป Wireless ของ CYW43439 จาก Infineon และฉันได้เขียนรีวิวหลังจากเปิดตัวเพียงไม่กี่วัน โดยได้แสดงวิธีการเชื่อมต่อกับ WiFi แต่สำหรับ Bluetooth ยังไม่สามารถเชื่อมต่อได้ นั่นเป็นเพราะในขณะนั้นการรรองรับ Bluetooth บนบอร์ด Raspberry Pi Pico W ยังไม่พร้อมใช้งานได้ แต่อาจจะสามารถใช้งานได้ในอนาคต  ตอนนี้มีข่าวดีจาก Alasdair Allan เป็นผู้รับผิดชอบเอกสาร Raspberry Pi กล่าวว่าการรองรับ Bluetooth LE มีกำหนดการสำหรับ Pico C SDK รุ่น 1.5.0 กำลังจะเปิดตัว ขณะนี้มี ticket เปิดบน GitHub สำหรับการรองรับ Bluetooth ที่เพิ่มเข้ามาในการกำหนด milestone ของรุ่น 1.5.0 ในขณะที่เขียนมีข้อเสนอแนะ อยู่ 14 issua ที่ไม่มีวันครบกำหนด แต่ A […]

Bouffalo Lab BL616/BL618 : MCU RISC-V รองรับ WiFi 6, Bluetooth 5.2 และ Zigbee

Sipeed BL616 module

BL616/BL618 ของ Bouffalo Lab เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ไร้สาย RISC-V 32 บิตที่รองรับการใช้งาน 2.4 GHz WiFi 6, Bluetooth 5.2 dual-mode และ IEEE 802.15.4 สำหรับ Zigbee, Thread และ Matter ที่ออกแบบมาสำหรับแอปพลิเคชัน IoT เราเจอ BL616 RISC-V IoT MCU ครั้งแรกในช่วงเปิดตัว BL602/BL606 ในเดือนพฤศจิกายน 2020 แต่จนถึงตอนนี้เราแทบไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมันเลย ดูเหมือนว่าทั้ง BL616 และ BL618 จะเปิดตัวในเดือนหน้าโดยมีความแตกต่างหลักระหว่างสองรุ่นคือ BL616 มี GPIO 19 ขา และ BL618 มี GPIO 35 ขา สเปคของ Bouffalo Lab BL616 และ BL618: MCU core – CPU RISC-V 32-บิต (RV32GCP) ที่ความเร็วสูงสุด 384 MHz (Datasheet ระบุว่า 320 MHz) พร้อม FPU และ DSP, คำสั่ง cache 32KB และข้อมูล cache 16KB VPU – ตัวเข้ารหัสวิดีโอ MJPEG หน่วยความจำ – […]

บอร์ด DshanMCU Pitaya Lite พร้อม MCU MM32 Arm Cortex-M3 ราคาประมาณ 140฿

MM32 board MM32F32373G8P MCU

DshanMCU Pitaya Lite เป็นบอร์ดพัฒนา MCU ที่อ้างอิงจากทางเลือกอื่นของ STM32 : ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ MindMotion MM32 Arm Cortex-M3 ที่กล่าวกันว่าใช้แทน STM32 ได้ MCU สามารถโอเวอร์คล็อกได้สูงสุด 120 MHz, หน่วยความจำ SRAM 128KB , Flash 512KB  และบอร์ดมีพอร์ต USB Type-C 2 ช่องสำหรับการดีบัก USB และ DAP, ช่องเสียบ MicroSD card, 3 ปุ่มกด, I/O ผ่าน รูต่างๆ รวมทั้ง mini PCIe connector ที่สามารถใช้เชื่อมต่อจอได้ สเปคของ Pitaya Lite: MCU – MindMotion Microelectronics MM32F3273G8P ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arm Cortex-M3 ที่ 96MHz (มาตรฐาน) ถึง 120MHz (สูงสุด) พร้อม SRAM 128KB , Flash 512kB ; แพ็คเกจ LQFP100 ที่เก็บข้อมูล (Storage) – การ์ด MicroSD จอแสดงผล – ผ่านพอร์ต mini PCIe พร้อม FSMC (Flexible Static Memory Controller) รอ […]

Banana Pi BPI-Pico-RP2040 – clone ของ Raspberry Pi Pico เพิ่มพอร์ต USB-C, I2C และ RGB LED

Banana Pi Pico

Banana Pi BPI-Pico-RP2040 เป็น clone หรือเลียนแบบ Raspberry Pi Pico โดยเพิ่ม RGB LED และมีการเชื่อมต่อแบบ I2C 4 ขา และได้เปลี่ยนพอร์ต micro USB เป็น Type-C ส่วนที่เหลือของบอร์ด Banana Pi Pico จะเหมือนเดิมทุกอย่างแม้กระทั่งรู (through holes) และ (รู castellated holes) สำหรับ I/O และมี form factor ที่คล้ายกับ Banana Pi BPI-PicoW-S3 ที่ใช้ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ไร้สาย ESP32-S3 สเปคของ Banana Pi BPI-Pico-RP2040: MCU – ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 dual-core Cortex-M0+ ความเร็วสูงสุดที่ 133 MHz พร้อม SRAM 264KB ที่เก็บข้อมูล (Storage) – QSPI flash 2MB USB – 1x พอร์ต USB 1.1 Type-C ที่ใช้สำหรับจ่ายไฟและโหลดโปรแกรม การขยาย Pin header 2x 20-ขา ระยะห่างระหว่างพิน 2.5 มม. และรู castellated holes พร้อม 26x GPIO […]

Qualcomm QCX216 : ชิป LTE Cat1 bis รองรับการระบุตำแหน่งด้วย WiFi

Qualcomm QCX216 LTE IoT Modem

QCX216 เป็นชิปประมวลผลของ Qualcomm รองรับการเชื่อมต่อ LTE Cat1 bis มีการปรับให้เหมาะสำหรับอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุด 10 Mbps ใช้พลังงานต่ำมาก และรองรับการระบุตำแหน่งภาคพื้นดินด้วย WiFi ด้วยฐานข้อมูลของบริษัทที่มี beacon ระบุตำแหน่งทางภูมิศาสตร์หลายพันล้านรายการ LTE Cat1 bis เป็นการอัปเดตของ LTE Cat1 ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีการอัปเกรดซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์สำหรับสถานีขนส่งข้อมูล ช่วยให้สามารถออกแบบให้มีขนาดเล็กลง เรียบง่ายขึ้น และราคาถูกลงด้วยสายอากาศเดียว และมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงกว่าเทคโนโลยี LTE Cat M1 ที่ใช้ในแอปพลิเคชัน IoT ทั่วไป โมเด็ม Qualcomm QCX216 LTE IoT จะถูกใช้ในการวัดอัจฉริยะ, เครื่องมือติดตาม (tracker), ระบบการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า (e-mobility solutio […]