Adafruit Sparkle Motion – บอร์ดควบคุมไฟ LED แบบ addressable ที่ใช้ชิป ESP32 พร้อมเอาต์พุต 4 ช่อง, พอร์ตจ่ายไฟ USB-C 100W และรองรับ WLED/xLights

Adafruit Sparkle Motion

Adafruit Sparkle Motion เป็นบอร์ดควบคุมไฟ LED ที่ใช้ชิป ESP32 ซึ่งออกแบบมาเพื่อควบคุมไฟ LED แบบ addressable เช่น WS2812B, APA102, SK6812, LPD8806, UCS2904 และ SM16704 โดยรองรับการใช้งานร่วมกับทั้งโครงการ WLED และ xLights และมาพร้อมพอร์ต USB-C PD ที่รองรับกำลังไฟสูงถึง 100W เพื่อรองรับการใช้งานกับไฟ LED ที่ต้องการแรงดันสูงได้ บอร์ดนี้รองรับการจ่ายไฟได้ 2 แบบ ได้แก่ พอร์ต USB-C PD (เลือกได้ระหว่าง 5V, 12V และ 20V) และแจ็ค DC ขนาด 2.1 มม. มีฟิวส์ขนาด 5A และขั้วต่อสัญญาณขาออกที่มีการแปลงระดับแรงดันไฟ (level-shifted) เพื่อควบคุมไฟ LED แบบ addressable นอกจากนี้บอร์ดยังมีไมโครโฟนดิจิทัล I2S ในตัว, ตัวรับสัญญาณอินฟราเรด (IR), พอร์ต Stemma QT สำหรับ I2C, ระบบ USB-Serial พร้อมวงจรรีเซตอัตโนมัติ, GPIO breakout pads, NeoPi […]

Arduino Cloud Editor เพิ่ม AI assistant ที่ใช้ Claude เพื่อช่วยสร้างโค้ด, แก้ไขข้อผิดพลาด และอื่น ๆ

Arduino Cloud editor with the new Arduino AI Assistant.jpg

Arduino ประกาศว่า Cloud Editor ได้เพิ่ม AI assistant ที่ใช้ Claude large language model (LLM) ของ Anthropic, โดย AI assistant ถูกออกแบบมาเพื่อทำให้ประสบการณ์การเขียนโค้ดราบรื่นยิ่งขึ้น ด้วยการให้ความช่วยเหลืออย่างชาญฉลาดและตรงตามบริบทภายใน Cloud Editor โดยตรง เครื่องมือนี้สามารถเข้าใจบอร์ดที่คุณใช้งาน ไลบรารีที่เลือกใช้ และการตั้งค่าโปรเจกต์ของคุณ เพื่อสร้างโค้ด ช่วยแก้ไขข้อผิดพลาด และอธิบายฟังก์ชันต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องออกจากสภาพแวดล้อมการพัฒนา นอกจากนี้ยังช่วยลดงานที่ทำซ้ำ ๆ ด้วยการสร้างโค้ดโครงสร้างพื้นฐาน (boilerplate code) ที่เชื่อถือได้ และเร่งความเร็วในการพัฒนาด้วยการสร้างสเก็ตช์จากคำสั่งภาษาอังกฤษ การดีบักแบบทันที และคำอธิบายโค้ดอย่างละเอียด ฟีเจอร์เหล่านี้ทำให้เครื่องมือนี้เหมาะสำหรับทั้งผู้ที่ทำโปรเจกต์ […]

โมดูล Zalmotek RA6M1, RA8M1 และ RZ/A3U ใช้ฟอร์มแฟกเตอร์ของ Adafruit Feather สำหรับงานหุ่นยนต์และควบคุมอุตสาหกรรม

Zalmotek RZ A3UL RA8M1 and RA6M1 SoM 1

บริษัท Zalmotek จากโรมาเนียได้เปิดตัวโมดูล (SoM) ใหม่สามรุ่น ได้แก่ RA6M1, RA8M1, และ RZ/A3UL พร้อม carrier board แบบโมดูลาร์ ที่ออกแบบมาสำหรับงานสมรรถนะสูง เช่น หุ่นยนต์ควบคุมอุตสาหกรรม และงานด้าน Edge Computing สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับชุดนี้ก็คือ โมดูล ทั้งหมดมาในฟอร์มแฟกเตอร์ของ Adafruit Feather ซึ่งหมายความว่าสามารถใช้งานร่วมกับบอร์ดเสริมต่าง ๆ ของ  Adafruit FeatherWings นอกจากนี้ carrier board แบบโมดูลาร์ยังรองรับ โมดูลขับมอเตอร์ Dynamixel, Particle M-SoM breakout module, Ethernet และ CAN modules. RA6M1 Feather SoM ใช้โปรเซสเซอร์ Renesas RA6M1 Arm Cortex-M4 ความเร็วสูงสุด 120 MHz พร้อมหน่วยความจำแฟลชขนาด 512 KB และ SRAM ขนาด 96 KB ขณะที่ RA8M1 Feather SoM ใช้โปรเซสเซอร์ Renesas RA8M1 64-bit Arm Cortex-M85 ค […]

LILYGO T-Echo Lite – บอร์ดที่มีหน้าจอ e-Paper ขนาด 1.22 นิ้ว ที่ใช้ชิป nRF52840 พร้อมชิป LoRa และโมดูล GPS

LILYGO T-Echo Lite

LILYGO T-Echo Lite เป็นบอร์ดขนาดเล็กที่ใช้ชิป Nordic Semiconductor nRF52840 มาพร้อมกับหน้าจอ e-Paper ขนาด 1.22 นิ้ว, ชิป Semtech SX1262 LoRa transceiver และโมดูล GPS L76K โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหมาะสำหรับใช้งานร่วมกับเฟิร์มแวร์ Meshtastic สำหรับการส่งข้อความแบบ off-grid (ไม่ต้องพึ่งพาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหรือเซลลูลาร์) และยังดูเหมือนว่าน่าจะสามารถดัดแปลงเป็น “นาฬิกา Meshtastic” ได้อีกด้วย T-Echo Lite เป็นเวอร์ชัน lightweight ของบอร์ด T-Echo รุ่นก่อนหน้าที่มีหน้าจอ e-Paper ที่ใหญ่กว่า (1.54 นิ้ว) โดย T-Echo Lite มีให้เลือก 3 รุ่น ดังนี้ T-Echo Lite Core – โมดูลแบบขอบบัดกรี (castellated) ที่รวมชิป nRF52840, โมดูล LoRa, วงจรจัดการพลังงาน และวงจรจัดการแบตเตอรี่ไว้ในตัว T-Echo Lite Base – เป็น breakout board […]

ESPuno Pi Zero : บอร์ด ESP32-C6 สามารถรับอินพุต DC 60V มาพร้อมอินเทอร์เฟซ RS-485

ESPuno Pi Zero

ESPuno Pi Zero เป็นบอร์ดขนาดเท่ากับ Raspberry Pi Zero ที่ใช้โมดูล ESP32-C6-MINI-1 รองรับ Wi-Fi 6, Bluetooth Low Energy (BLE) และการเชื่อมต่อไร้สายแบบ 802.15.4 พร้อมด้วยวงจรแปลงไฟ SMPS ที่สามารถรับไฟเลี้ยง DC ได้สูงสุด 60V ผ่านขั้วต่อแบบ 2 ขา (2-pin terminal block) บอร์ดยังมาพร้อมกับพอร์ต USB-C จำนวน 2 พอร์ต โดยพอร์ตหนึ่งเชื่อมต่อกับ ESP32-C6 ส่วนอีกพอร์ตเชื่อมกับชิป USB-to-serial รุ่น CH343P, GPIO header แบบ 40 ขา, คอนเนกเตอร์ Grove, terminal block แบบ 3 ขาสำหรับ RS-485, DMX, Profibus และยังมีปุ่มและไฟ LED สเปค ESPuno Pi Zero: ESP32-C6-MINI-1-N4 หรือ ESP32-C6-MINI-1U-N4 SoC – Espressif Systems ESP32-C6 single-core 32-bit RISC-V clocked สูงสุด 160 MHz, ROM 320KB, SRAM 512KB, low-power RISC-V core @ สูงสุด 20 MHz […]

บอร์ดพัฒนา CAN ขนาดเท่ากับ Raspberry Pi Pico ใช้ชิป RP2350 มาพร้อม clone ของ MCP2515 CAN Bus controller

Waveshare RP2350 CAN Development Board

Waveshare เปิดตัว RP2350-CAN ซึ่งเป็นบอร์ดพัฒนา CAN ที่ใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 โดยมาพร้อมกับคอนโทรลเลอร์ CAN Bus รุ่น XL2515 และทรานซีฟเวอร์ CAN รุ่น SIT65HVD230 ตัวบอร์ดรองรับโปรโตคอล CAN V2.0B ที่ความเร็วสูงสุด 1 Mbps โดยชิป XL2515 ดูเหมือนจะเป็นชิป clone ยอดนิยมอย่าง Microchip MCP2515 บอร์ดนี้มีขา GPIO แบบมัลติฟังก์ชันจำนวน 26 ขา และพอร์ต USB-C เหมือนกับที่พบใน Raspberry Pi Pico 2 ฟีเจอร์อื่น ๆ ได้แก่ วงจรแปลงแรงดันแบบ buck-boost (MP28164), ปุ่ม BOOT และ RESET, ไฟ LED สำหรับผู้ใช้งาน, ตัวต้านทานปลายสาย CAN ขนาด 120Ω ที่สามารถเลือกเปิด/ปิดได้ และ CAN screw terminals, บอร์ด CAN Bus เหมาะสำหรับการใช้งานในด้านยานยนต์, ระบบควบคุมอุตสาหกรรม และหุ่นยนต์ สเปคของ Waveshare RP2350 CAN: SoC – Raspberry Pi RP2350A CP […]

Renesas RA0E2 : ไมโครคอนโทรลเลอร์ Arm Cortex-M23 แบบประหยัดพลังงานและต้นทุนต่ำ สามารถทำงานได้ช่วงอุณหภูมิกว้าง (-40°C ถึง +125°C)

Renesas RA0E2 Arm Cortex M23 MCU

Renesas RA0E2 เป็นไมโครคอนโทรลเลอร์ (MCU) แบบประหยัดพลังงานและต้นทุนต่ำ ที่ใช้คอร์ Arm Cortex-M23 ซึ่งเป็น สมาชิกกลุ่ม RA0 รุ่นใหม่ เปิดตัวในปี 2024 โดยสามารถทำงานได้ในช่วงอุณหภูมิที่กว้างตั้งแต่ -40°C ถึง +125°C และมาพร้อมกับฟังก์ชันอุปกรณ์ต่อพ่วงและฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยหลากหลาย RA0E2 สืบต่อจาก RA0E1 ซึ่งเป็นรุ่นแรกของตระกูล RA0 ที่ออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน เครื่องมือไฟฟ้า การตรวจสอบในอุตสาหกรรม และแอปพลิเคชันอื่น ๆ รวมถึงอุปกรณ์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ โดย RA0E2 สามารถใช้งานร่วมกับ RA0E1 ได้ทั้งในระดับซอฟต์แวร์และการเข้ากันได้ของขาอุปกรณ์ (pin-to-pin compatibility) สำหรับแพ็กเกจแบบ 32 ขา, แต่ RA0E2 ได้รับการปรับปรุงให้มีหน่วยความจำและพื้นที่จัดเก็บข้อมูลมากข […]

ANAVI Miracle Emitter – คอนโทรลเลอร์ RGB LED ที่รองรับ WiFi และ BLE ใช้งานร่วมกับ Home Assistant หรือเฟิร์มแวร์ WLED

ANAVI Miracle Emitter

ANAVI Miracle Emitter เป็น open source hardware (OSHW) ที่ใช้ชิป ESP32-C3 รองรับทั้ง WiFi และ Bluetooth Low Energy (BLE) ออกแบบมาเพื่อควบคุมแถบไฟ RGB LED strips แบบ Addressable ที่ใช้ไฟ 5V โดยสามารถใช้งานร่วมกับ Home Assistant ผ่านโปรโตคอล MQTT และยังรองรับเฟิร์มแวร์ยอดนิยมอย่าง WLED ที่ช่วยให้สามารถควบคุมแถบไฟ LED strips ได้ง่ายผ่านเว็บอินเทอร์เฟซ บอร์ดยังมี I2C headers จำนวน 4 ช่อง สำหรับเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์และจอ OLED ขนาดเล็ก, UART header และ GPIO header. เป็นการอัปเดตจาก Leon ANAVI Miracle Controller รุ่นก่อนหน้าที่เปิดตัวในปี 2019 ซึ่งใช้ชิป ESP8266 โดยในปัจจุบันการควบคุมแถบไฟ RGB LED strips ด้วยซอฟต์แวร์และเฟิร์มแวร์โอเพ่นซอร์สนั้นง่ายกว่า สเปคของ ANAVI Miracle Emitter : Wireless Module – Seeed Studio XI […]