iBASE IB962 : บอร์ด SBC ขนาด 3.5 นิ้วที่ใช้ Intel Core Ultra 5/7 SoC พร้อมหน่วยความจำ SODIMM สูงสุด 64GB และช่อง M.2 สามช่อง

iBASE IB962 3.5 inch SBC

iBASE Technology เปิดตัว IB962 เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว (SBC) ขนาด 3.5 นิ้ว ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Intel Core Ultra 5/7 100 Series (หรือ Meteor Lake U/H) โดยมีการออกแบบที่สมดุลลงตัวระหว่างประสิทธิภาพและการใช้พลังงาน”   บอร์ด IB962 SBC ขนาด 3.5 นิ้วมีการออกแบบคล้ายกับ บอร์ด IB961 แต่เพิ่มตัวเลือก SoC ที่ทรงพลังขึ้น รองรับหน่วยความจำระบบมากขึ้น และมาพร้อมพอร์ต HDMI 2.0 ที่รองรับความละเอียด 4K ที่ 60Hz บอร์ดนี้มีการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบ Gigabit Ethernet คู่, พอร์ต USB 3.2 สามช่อง (สองช่องเชื่อมต่อผ่าน pin header), พอร์ต USB 2.0 สามช่อง, และช่องเสียบ M.2 สามช่อง (M-Key + E-Key + B-Key) สำหรับเครือข่าย, การเก็บข้อมูล และการสื่อสารเซลลูลาร์ ถ้าดูวิเคราะห์แล้ว IB962 จะไม่ถือว่าเป็นบอร์ด SBC เนื่องจากใช้ซ็อกเก็ […]

Axiomtek CEM710 : โมดูล COM Express ที่ใช้ Intel Xeon D-1700 SoC รองรับการเชื่อมต่อ Ethernet ที่ความเร็วสูงสุด 100Gbps

Axiomtek CEM710 COM Express 100Gbps

ในปี 2022 เราเคยกล่าวถึงตระกูลโปรเซสเซอร์ Intel Xeon D (Ice Lake-D) ซึ่งรวมถึงรุ่น D-2700 และ D-1700 โปรเซสเซอร์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับพัฒนาระบบเครือข่ายในรูปแบบ Software-Defined Network และ Edge, โดยมีความสามารถในระดับดาต้าเซ็นเตอร์สำหรับการประมวลผล คุณสมบัติเด่นของรุ่นนี้ได้แก่ การเร่งความเร็ว AI และการเข้ารหัสในตัว การรองรับ Ethernet รวมถึงการรองรับเทคโนโลยี Intel Time Coordinated Computing (TCC) และ Time-Sensitive Networking (TSN) เพื่อความเชื่อถือได้สูง บริษัทต่างๆ เช่น ADLINK Technology และ Congatec ได้พัฒนาโมดูลเซิร์ฟเวอร์ COM-HPC และโมดูล COM Express Type 7 โดยใช้โปรเซสเซอร์ Xeon D รุ่นใหม่ Axiomtek CEM710 เป็นโมดูล COM Express Type 7 แบบ Basic Module ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Intel Xeon D-1700 Series ออ […]

MSI MS-CF17 : บอร์ด SCB แบบ Fanless ขนาด 3.5 นิ้วที่ใช้ Intel Raptor Lake-P SoC

MSI MS-CF17 3.5 inch Raptor Lake-P SBC

MSI MS-CF17 เป็นคอมพิวเตอร์แบบบอร์ดเดี่ยวขนาด 3.5 นิ้วแบบไม่มีพัดลม (Fanless) ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Intel 13th Gen Raptor Lake-P series โดยมีตัวเลือกหลายรุ่นสำหรับการใช้งาน embedded และอุตสาหกรรม บอร์ดนี้รองรับหน่วยความจำ DDR5 SODIMM สูงสุด 32GB และมาพร้อมกับช่อง M.2 M Key (PCIe Gen4) และสล็อตสำหรับเก็บข้อมูลแบบ SATA III นอกจากนี้ยังมีพอร์ต 2.5GbE ถึง 4 พอร์ต, พอร์ต COM ภายใน 4 พอร์ตฅ พอร์ต USB 8 พอร์ต และช่องเสียบ M.2 Key-B และ Key-E สำหรับการขยายแบบไร้สาย บอร์ดนี้รองรับการแสดงผลอิสระ 4 จอผ่านพอร์ต HDMI 2.0 จำนวน 4 พอร์ต และมีอินเทอร์เฟซการแสดงผล eDP/LDVS การใช้งานที่เป็นไปได้สำหรับคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยวแบบไม่มีพัดลมนี้รวมถึงการใช้งานในระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม, ป้ายดิจิทัล, การประมวลผล Edge computing, ระบบขนส่ง แ […]

รีวิว Radxa X4 Kit : บอร์ด SBC ที่ใช้ Intel N100 – ทดสอบประสิทธิภาพและ GPIO บน Ubuntu 24.04 (Part 2)

review Radxa X4 SBC Ubuntu 24.04

หลังจากที่เราได้แกะกล่องและทดสอบ  Radxa X4 Kit เบื้องต้นไปแล้ว ในรีวิวนี้เราจะมาทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งาน Radxa X4 Kit บนระบบปฎิบัติการ Ubuntu 24.04 กัน โดยทำการทดสอบมาตรฐานและเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับซิงเกิ้ลบอร์ดยอดนิยมอย่าง Raspberry Pi 5 โดยใช้การทดสอบตามหัวข้อดังนี้ การตรวจสอบข้อมูลระบบเบื้องต้น การทดสอบ Benchmark CPU Disk Peripherals Network การทดสอบการใช้งานเว็บและมัลติมีเดียร์ การตรวจสอบการใช้พลังงาน และหลังจากนั้นเรายังจะทดสอบการใช้งานขา GPIO จำนวน 40 ขาที่เชื่อมต่อกับ MCU RP2040 ที่ติดตั้งบนบอร์ดให้เห็นกันว่าถ้าต้องการจะใช้งานจะทำได้อย่างไร ข้อมูลระบบเบื้องต้น

โดยเราทำการติดตั้ง Ubuntu 24.04 ลงไปบน SSD ขนาด 128GB และแรมขนาด 8GB  จากนั้นเราทำการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมด้วย […]

Vecow TGS-1000 – คอมพิวเตอร์ฝังตัวแบบ fanless ที่ใช้ Intel Core Ultra Meteor Lake SoC และตัวเลือกเครือข่าย, serial, wireless ที่สามารถนำมาวางซ้อนกันได้

Vecow TGS-1000 fanless embedded computer

Vecow TGS-1000 Series เป็นคอมพิวเตอร์ฝังตัว (embedded computer) แบบ fanless มีขนาดเล็กและสามารถวางซ้อนได้ มี 2 รุ่นประกอบด้วย TGS-1000 และ TGS-1500 ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Intel Core Ultra Metero Lake รุ่นล่าสุดพร้อม CPU, GPU และ NPU ในตัว รองรับหน่วยความจำแรม DDR5 สูงสุด 96GB และตัวเลือกการขยายแบบซ้อนได้สำหรับเครือข่าย, serial, wireless และอื่นๆ ซีรีส์นี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อใช้ในแอปพลิเคชัน Edge AI โดยให้ประสิทธิภาพการทำงานของ CPU ที่เพิ่มขึ้นถึง 14% และความสามารถด้านกราฟิกที่ดีขั้น TGS-1000 Series รองรับการแสดงผลแยกสูงสุด 5 จอผ่านพอร์ต HDMI 2 พอร์ตและพอร์ต DP 3 พอร์ต มีการเชื่อมต่อ I/O หลากหลายรวมถึงพอร์ต USB 3.0 สูงสุด 5 พอร์ต (4x Type-A และ 1x Type-C) และ LAN 2.5GbE หนึ่งพอร์ตที่รองรับ TSN ทำให้เหมาะสำหรับการใช […]

รีวิว LattePanda Mu : Compute Module x86 ที่ใช้ซีพียู Intel N100 พร้อมทดสอบประสิทธิภาพบน Ubuntu 24.04

LattePanda mu ubuntu benchmark review

หลังจากที่เราได้แกะกล่องและทดสอบ LattePanda Mu พร้อมอุปกรณ์เสริมไปแล้วบน Windows ซึ่งได้ทดสอบการใช้งาน Lite Carrier Board และ Full-Function Evaluation ไปแล้วในรีวิวแกะกล่องและทดสอบการใช้งานบน Windows นั้น ในรีวิวนี้เราจะมาทดสอบใช้งาน LattePanda Mu บนระบบปฎิบัติการ Ubuntu 24.04 กัน โดยทำการทดสอบมาตรฐานเช่นเดียวกันกับบอร์ดอื่น ๆ คือ การตรวจสอบข้อมูลระบบเบื้องต้น การทดสอบ Benchmark CPU Disk Peripherals Network การทดสอบการใช้งานเว็บและมัลติมีเดียร์ การตรวจสอบการใช้พลังงาน และเนื่องจาก LattePanda Mu เป็นสถาปัตยกรรม X64 ทำให้เราสามารถสร้าง boot disk เพื่อทำการติดตั้ง Ubuntu 24.04 ได้เหมือนการติดตั้งทั่วไปเลย โดยหลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว เราจะมาตรวจสอบข้อมูลระบบเบื้องต้นกันในหัวข้อด้านล่าง ข้อมูลระบบเบื้องต้น [crayon-67 […]

รีวิวแกะกล่อง LattePanda Mu : Compute Module x86 ที่ใช้ซีพียู Intel N100 พร้อมใช้งานบน Windows 11

LattePanda Mu review

ทางบริษัท DFRobot ได้เปิดตัวบอร์ด LattePanda Mu มาระยะหนึ่งแล้ว โดยความน่าสนใจคือการออกแบบบอร์ดให้เป็น compute module ให้เราสามารถนำไปใช้สร้างสรรค์ carrier บอร์ดของเราเองได้โดยไม่ต้องใช้ความชำนาญมาก โดยบอร์ด LattePanda Mu นั้นจะอยู่ในฟอร์มแฟคเตอร์ SO-DIMM DDR4 และบนตัว LattePanda Mu มี connector สำหรับต่อจอภาพและกล้องติดตั้งมาในตัว ซึ่งทาง DFRobot  ก็ได้ส่งทั้งบอร์ด LattePanda Mu และ carrier board ทั้งสองแบบคือแบบ Lite และแบบ Full function พร้อมกับระบบระบายความร้อนทั้งสองแบบคือแบบ Passive เป็น Heatsink และแบบ Active มีพัดลมระบายความร้อยติดตั้งมาด้วย เรามาชมภาพรวมของบอร์ดและอุปกรณ์เสริมจาก DFRobot กันเลยดีกว่า แกะกล่องบอร์ด LattePanda Mu พร้อมอุปกรณ์เสริม พัสดุแกะออกมาพบกับกล่องทั้งหมด 3 กล่อง เราจะมาแกะกล่องทีล […]

เปิดตัว Linux 6.9 – มีการปลี่ยนแปลงหลักของสถาปัตยกรรม Arm, RISC-V และ MIPS

Linux 6.9 release

Linus Torvalds ได้ประกาศเปิดตัว Linux 6.9 บน LKML (Linux kernel mailing list), เมื่อประมาณ 2 เดือนทีผ่านมาได้เปิดตัว Linux 6.8 โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ รองรับไดร์ฟเวอร์กราฟฟิค Intel Xer ที่เป็นรุ่นทดลองใหม่ซึ่งมีเป้าหมายที่จะแทนที่ไดรเวอร์ i915 รุ่นเก่าสำหรับ GPU Intel, zswap subsystem เพิ่มความสามารถที่บังคับให้ข้อมูลที่ไม่ค่อยได้ใช้งานที่อยู่ในแรม ไปเก็บไว้ใน Swap เมื่อมีการใช้งานจนแรมเต็มแล้ว, เพิ่มการรองรับภาษา Rust สำหรับการสร้างไดรเวอร์ PHY ในเครือข่าย, โครงสร้างข้อมูลในส่วนหลักของเครือข่ายได้รับการจัดระเบียบใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแคช และการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ อีกมากมาย Linux 6.8 ยังเป็นเคอร์เนลเริ่มต้นในระบบปฏิบัติการ Ubuntu 24.04 การเปลี่ยนแปลงสำคัญใน Linux 6.9 บางบางส่วนของการเปลี่ยนแปลงที่สำค […]

Exit mobile version