หลังจากที่เราได้ดูสเปค แกะกล่องใช้งาน มินิพีซี GEEKOM Mini Air12 Lite ที่ใช้ซีพียู Intel Processor N100 โดยมีคุณสมบัติพิเศษคือมีพอร์ต expansion header 9-pin ที่ภายนอกเพื่อการขยายเผื่อไว้ทำปุ่มเปิด/ปิดเครื่องเพิ่มเติมนั้น (นอกจากปุ่ม power ด้านหน้า) เป็นโซลูชันราคาประหยัดที่สามารถนำไปติดกับจอภาพเพื่อโฆษณา หรือใช้เป็นเครื่องให้บริการอัตโนมัติ (ตู้ Kiosk) ตามสเปคที่ GEEKOM ระบุมินิพีซีมาพร้อมหน่วยความจำ DDR4-3200 8GB, SATA SSD 256GB, พอร์ต HDMI กับ DisplayPort ให้อย่างละ 1 ช่อง, การเชื่อมต่อ Gigabit Ethernet, การเชื่อมต่อไร้สายก็มี WiFi 5 และ Bluetooth 5.1 และ และพอร์ต USB 3.2/2.0 Type-A จำนวน 6 พอร์ต ในบทความนี้เราจะทำการทดสอบมินิพีซี บนระบบปฏิบัติการ Windows 11 Pro โดยเราจะดูภาพรวมซอฟต์แวร์และการทดสอบคุณสมบัติ, […]
AMPCOM เปิดตัวสวิตช์ 2.5GbE แบบจัดการได้ 8 พอร์ตพร้อมช่อง 10GbE SFP+
AMPCOM เปิดตัวสวิตช์ 2.5GbE แบบจัดการได้ 8 พอร์ต ที่ไม่มีพัดลม พร้อมช่อง 10GbE SFP+ หนึ่งช่องในราคาต่ำกว่า $60 (~2,000฿) บน Aliexpress หรือ ที่ Shopee 2,300฿ การอัปเกรดเครือข่ายภายในบ้านหรือสำนักงานเป็น 10GbE (10 Gbps Ethernet) มีค่าใช้จ่ายสูง โดยสวิตช์ 10GbE หลายรุ่นที่ขายบน Amazon มีราคา $200(~7,000฿) ถึง $400(~14,000฿) และรุ่นที่ถูกที่สุดมีราคา $120(~4,000฿) แต่ถ้าคุณไม่ต้องการพอร์ต 10GbE หลายพอร์ตในสวิตช์ เราได้ข้อมูลเกี่ยวกับสวิตช์แบบจัดการได้ราคาถูก 8 พอร์ต 2.5GbE พร้อมช่อง 10GbE SFP+ หนึ่งช่อง และเมื่อพิจารณากับมินิพีซี/เราเตอร์ขนาดเล็กแบบ 10GbE สองพอร์ตมีราคา $299(~10,000฿) รุ่น Barebone ทำให้การอัปเกรดเครือข่ายเป็น 10GbE เริ่มเข้าถึงได้มากขึ้น สเปคของ AMPCOM ZX-SWTGW218AS AMPCOM ZX-SWTGW218AS สวิตช์แบบ […]
รีวิว : มินิพีซี Maxtang T0-FP750 ที่ใช้ AMD Ryzen 7 8845HS – Part 3 : ทดสอบประสิทธิภาพบน Ubuntu 24.04
หลังจากที่เราได้แกะกล่องและเปิดใช้งาน Part 1 และทดสอบประสิทธิภาพบน Windows 11 (Part2) ของมินิพีซี Maxtang T0-FP750 ที่ใช้ AMD Ryzen 7 8845HS พร้อม RAM DDR5 32 GB, SSD M.2 512GB ที่มาพร้อมกับปฏิบัติการ Windows 11 Pro ในบทความนี้เราจะทำการทดสอบกับระบบปฏิบัติการ Ubuntu 24.04 Linux โดยเราจะดูภาพรวมซอฟต์แวร์และการทดสอบคุณสมบัติ, ทดสอบประสิทธิภาพ Benchmarks, การทดสอบประสิทธิภาพของที่เก็บข้อมูล (SSD และพอร์ต USB), ทดสอบประสิทธิภาพของระบบเครือข่าย, การทดสอบ Stress test และอุณหภูมิ CPU, เสียงของพัดลม และการใช้พลังงานของมินิพีซี พร้อมทั้งจะทำการเปรียบเทียบกับมินิพีซี Maxtang MTN-FP750 ใช้ซีพียู AMD Ryzen 7 7735HS ข้อมูลระบบบน Ubuntu 24.04 เมนู Settings About ใน Ubuntu 24.04.1 ยืนยันว่ามินิพีซี Maxtang T0-FP750 พร้อมซีพีย […]
Axiomtek CEM710 : โมดูล COM Express ที่ใช้ Intel Xeon D-1700 SoC รองรับการเชื่อมต่อ Ethernet ที่ความเร็วสูงสุด 100Gbps
ในปี 2022 เราเคยกล่าวถึงตระกูลโปรเซสเซอร์ Intel Xeon D (Ice Lake-D) ซึ่งรวมถึงรุ่น D-2700 และ D-1700 โปรเซสเซอร์เหล่านี้ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับพัฒนาระบบเครือข่ายในรูปแบบ Software-Defined Network และ Edge, โดยมีความสามารถในระดับดาต้าเซ็นเตอร์สำหรับการประมวลผล คุณสมบัติเด่นของรุ่นนี้ได้แก่ การเร่งความเร็ว AI และการเข้ารหัสในตัว การรองรับ Ethernet รวมถึงการรองรับเทคโนโลยี Intel Time Coordinated Computing (TCC) และ Time-Sensitive Networking (TSN) เพื่อความเชื่อถือได้สูง บริษัทต่างๆ เช่น ADLINK Technology และ Congatec ได้พัฒนาโมดูลเซิร์ฟเวอร์ COM-HPC และโมดูล COM Express Type 7 โดยใช้โปรเซสเซอร์ Xeon D รุ่นใหม่ Axiomtek CEM710 เป็นโมดูล COM Express Type 7 แบบ Basic Module ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Intel Xeon D-1700 Series ออ […]
Forlinx เปิดตัวโมดูลและบอร์ดพัฒนาที่ใช้ NXP i.MX 95 การเชื่อมต่อ 10GbE, CAN Bus, RS485 และอื่นๆ
Forlinx FET-MX95xx-C เป็นโมดูล (SoM หรือ system-on-module) ที่ใช้ NXP i.MX 95 SoC ที่มีซีพียู Arm Cortex-A55 สูงสุด 6 คอร์ พร้อมด้วยคอร์ Arm Cortex-M7 สำหรับงานเรียลไทม์ที่มีความถี่ 800 MHz และคอร์ Arm Cortex-M33 “ความปลอดภัย” ที่ทำงานที่ 333 MHz อีกทั้งยังติดตั้งหน่วยความจำ LPDDR4x ขนาด 8GB และ eMMC flash ขนาด 64GB นอกจากนี้ Forlinx ยังมีบอร์ดพัฒนารุ่น OK-MX95xx-C ที่อัดแน่นด้วยฟีเจอร์ต่างๆ โดยบอร์ดพัฒนานี้สร้างขึ้นบนโมดูล i.MX 95 และมาพร้อมอินเทอร์เฟสที่หลากหลาย เช่น Dual GbE, ช่องใส่ 10GbE SFP+, ขั้วต่อ Terminal blocks ที่รองรับ RS485 และ CAN Bus, พอร์ต USB Type-A สามพอร์ต, สล็อต PCIe สองช่อง และอื่นๆ โมดูล Forlinx FET-MX95xx-C สเปค: ชิป SoC – NXP i.MX 9596 ซีพียู 6x คอร์ Arm Cortex-A55 สำหรับการ […]
บอร์ด Wiznet W55RP20-EVB-Pico ที่ใช้ชิป W55RP20 SiP โดยรวมคอนโทรลเลอร์ Ethernet W5500 และ MCU RP2040
Wiznet เปิดตัวบอร์ดพัฒนา W55RP20-EVB-Pico ซึ่งเป็นบอร์ดขนาดเล็กกะทัดรัดที่ใช้ชิป W55RP20 เป็นประเภท SiP (System-in-a-Package) โดยรวมไอซี 2 วงจรไว้ในแพคเกจเดียวกัน ได้แก่ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 และคอนโทรลเลอร์ W5500 Ethernet นอกจากนี้ยังมีชิปแฟลชขนาด 2MB สำหรับเก็บเฟิร์มแวร์ เราเคยเขียนบทความเกี่ยวกับบอร์ดพัฒนา W5100S-EVB-Pico2 และ W5500-EVB-Pico2 ซึ่งทั้งสองบอร์ดใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 รุ่นใหม่และคอนโทรลเลอร์ Ethernet ภายนอก (W5500 หรือ W5100S) โดยที่ RP2350 มีฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น หน่วยความจำ One Time Programmable (OTP), การบู๊ตอย่างปลอดภัย (Secure Boot) และเทคโนโลยี Arm TrustZone ทำให้เหมาะสมกับแอปพลิเคชันที่ต้องการความปลอดภัยมากขึ้น ในทางกลับกัน W55RP20 ได้รวมคอน […]
รีวิว BeagleY-AI SBC พร้อมทดสอบประสิทธิภาพและทดลองใช้งานบน Debian
BeagleY-AI เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว (single board computer : SBC) แบบ open-source ของ BeagleBoard.org โดยบอร์ด BeagleY-AI นี้ถูกออกแบบมาเพื่อการประยุกต์ด้านปัญญาประดิษฐ์ โดยมีหน่วยประมวลผลหลักคือ ARM Coretex-A53 จำนวน 4 แกน ทำงานที่ความเร็ว 1.4 GHz นอกจากนั้นยังมี ARM Cortex-R5F ทำงานที่ความเร็ว 800MHz สำหรับการใช้งานทั่วไป รวมไปถึงการใช้งานกับ I/O แบบ low-lentency มี C7x DSP จำนวน 2 หน่วย พร้อมด้วย Multiply Accelertor (MMA) ที่ช่วยด้านการคำนวณปัญญาประดิษฐ์และเร่งความเร็วการคำนวณ Deel Learning โดย C7XDSP แต่ละหน่วยจะทำงานที่ความเร็ว 2 TOPs รวมสูงสุด 4 TOPS รวมทั้งยังมาพร้อมกับ BXS-4-64 ซึ่งเป็นหน่วยเร่งความเร็วกราฟิกส์ความเร็ว 50 GFlops สำหรับงานมัลติมีเดีย เช่น การเข้ารหัสและการถอดรหัสวิดีโอ สำหรับผู้ที่สนใ […]
รีวิว Radxa X4 Kit : บอร์ด SBC ที่ใช้ Intel N100 – ทดสอบประสิทธิภาพและ GPIO บน Ubuntu 24.04 (Part 2)
หลังจากที่เราได้แกะกล่องและทดสอบ Radxa X4 Kit เบื้องต้นไปแล้ว ในรีวิวนี้เราจะมาทดสอบประสิทธิภาพในการใช้งาน Radxa X4 Kit บนระบบปฎิบัติการ Ubuntu 24.04 กัน โดยทำการทดสอบมาตรฐานและเปรียบเทียบประสิทธิภาพกับซิงเกิ้ลบอร์ดยอดนิยมอย่าง Raspberry Pi 5 โดยใช้การทดสอบตามหัวข้อดังนี้ การตรวจสอบข้อมูลระบบเบื้องต้น การทดสอบ Benchmark CPU Disk Peripherals Network การทดสอบการใช้งานเว็บและมัลติมีเดียร์ การตรวจสอบการใช้พลังงาน และหลังจากนั้นเรายังจะทดสอบการใช้งานขา GPIO จำนวน 40 ขาที่เชื่อมต่อกับ MCU RP2040 ที่ติดตั้งบนบอร์ดให้เห็นกันว่าถ้าต้องการจะใช้งานจะทำได้อย่างไร ข้อมูลระบบเบื้องต้น
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 |
unoiot@radxa-x4:~/sbc-bench$ cat /etc/lsb-release DISTRIB_ID=Ubuntu DISTRIB_RELEASE=24.04 DISTRIB_CODENAME=noble DISTRIB_DESCRIPTION="Ubuntu 24.04 LTS" unoiot@radxa-x4:~/sbc-bench$ uname -a Linux radxa-x4 6.8.0-40-generic #40-Ubuntu SMP PREEMPT_DYNAMIC Fri Jul 5 10:34:03 UTC 2024 x86_64 x86_64 x86_64 GNU/Linux unoiot@radxa-x4:~/sbc-bench$ df -mh Filesystem Size Used Avail Use% Mounted on tmpfs 772M 2.3M 770M 1% /run /dev/nvme0n1p2 116G 12G 99G 11% / tmpfs 3.8G 4.0K 3.8G 1% /dev/shm tmpfs 5.0M 8.0K 5.0M 1% /run/lock efivarfs 192K 84K 104K 45% /sys/firmware/efi/efivars /dev/nvme0n1p1 1.1G 6.2M 1.1G 1% /boot/efi tmpfs 772M 2.6M 770M 1% /run/user/1000 |
โดยเราทำการติดตั้ง Ubuntu 24.04 ลงไปบน SSD ขนาด 128GB และแรมขนาด 8GB จากนั้นเราทำการอ่านข้อมูลเพิ่มเติมด้วย […]