รีวิว Link.ONE ชุดพัฒนา IoT แบบ all-in-one รองรับการเชื่อมต่อ LTE-M, NB-IoT และ LoRaWAN

บริษัท RAKwireless ได้ออกผลิตภัณท์ใหม่ในชื่อ Link.ONE ออกแบบมาเพื่อให้เป็นบอร์ดพัฒนาอุปกรณ์ IoT ด้วยโปรแกรม Arduino IDE แบบ all-in-one รองรับการเชื่อมต่อ LTE-M, NB-IoT และ LoRaWAN อยู่ในอุปกรณ์เดียวกัน ครอบคลุมเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระยะไกลที่ใช้พลังงานต่ำ (LPWAN : Low Power Wide Area Network) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เราสามารถเลือกใช้ช่องทางหลักในการสื่อสารไร้สาย และกำหนดช่องทางสื่อสารไร้สายสำรองเอาไว้ให้พร้อม เมื่อใดที่ช่องทางสื่อสารหลักใช้งานไม่ได้ เราก็สามารถเปลี่ยนไปใช้ช่องทางสำรองแทนได้ เป็นผลทำให้อุปกรณ์ IoT จะยังคงสามารถรับ-ส่งข้อมูลได้อยู่ตลอดเวลา

RAKwireless Link ONE

Features

Link.ONE เป็นการนำเอาบอร์ด มาใส่ในกล่อง WisBlock Unify Enclosure ขนาด 100 x 75 x 38 mm. พร้อมลิเธียมแบตเตอร์แบบชาร์จได้ 3.7 Volts ความจุ 3200 mAh. เมื่อพัฒนาใช้งานในแบบ Sleep mode และรับ-ส่งข้อมูลไม่ถี่มากเกินไป ก็จะทำให้มีพลังงานไฟฟ้าเพียงพอ โดยไม่ต้องจัดหาแหล่งจ่ายไฟจากภายนอก

Unboxing

box Link.ONE

อุปกรณ์ถูกจัดเรียงอย่างแน่นมาก ภายในกล่องจะประกอบด้วยอุปกรณ์ดังต่อไปนี้

  • 1 x WisTrio LTE-M NB-IoT LoRaWAN Development Board
  • 1 x ลิเธียมแบตเตอร์แบบชาร์จได้
  • 1 x เสาอากาศภายนอกสำหรับ Cellular
  • 1 x USB Type-C cable
  • 1 x Circular Female M8 connector cable

unboxing Link.ONE RAKwireless

ตัวกล่องแข็งแรง ฝากล่องจะมียางกันน้ำอยู่ในร่อง IP65 enclosure เวลาปิดฝาจะทำให้แนบสนิทกันมาก

Link.ONE IP65 enclosure

Link.ONE Lithimum battery 3200 mAh

เมื่อถอดแบตเตอรี่ออก ก็จะเห็นบอร์ด WisTrio LTE-M NB-IoT LoRaWAN Development Board

Link.ONE WisTrio LTE-M NB-IoT LoRaWAN Development Board

Modules Inside

Link.ONE teardown

  • Module RAK4631 : nRF52840 (MCU + BLE) และ Semtech SX1262 (LoRA/LoRaWAN)
  • Module RAK5860 : Quectel BG77 (NB-IoT + LTE-M) with GPS
  • Module RAK19007 : USB Type-C และ Li-ion Charger

Link.ONE Module RAK4631Module RAK5860 Module RAK19007

  • Monogoto SIM Card : Data package ในระบบ Cellular ขนาด 500 MB. สามารถใช้งานได้นานถึง 10 ปี

Monogoto SIM Card

 

Monogoto SIM Card support coverage thailand

  • นอกจากนี้ เรายังสามารถซื้อ Sensor Module มาต่อเพิ่มกับ Link.ONE เพื่อวัดค่าต่างๆ ได้อีกด้วย

Sensor Module add Link.ONE

LPWAN (Low Power Wide Area Network)

Link.ONE รองรับเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายระยะไกลแบบใช้พลังงานต่ำ ประกอบด้วย LTE-M, NB-IoT และ LoRaWAN

Link.ONE lpwan

  • NB-IoT : Narrow Band Internet of Things เป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาต่อยอดมาจากระบบ LTE (4G) เพื่อให้อุปกรณ์สามารถเชื่อมต่อกันแบบไร้สาย โดยผ่านโครงข่ายของสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ เหมาะกับการทำงานร่วมกับแอปพลิคชันที่ไม่ต้องการความเร็วในการส่งข้อมูลมากนัก เช่น Smart Parking หรือ Smart Metering
  • LTE-M : Long Term Evolution of Machines เป็นเทคโนโลยีที่เหมือนกับ NB-IoT ที่ให้อุปกรณ์สามารถเชื่อมต่อกันผ่านโครงข่ายสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่จะแตกต่างกันที่ความเร็วในการส่งข้อมูลสูงกว่า NB-IoT แต่ยังคงประหยัดพลังงาน เหมาะกับแอปพลิเคชันติดตามตำแหน่งอุปกรณ์ เช่น Smart Transportaion และ Asset Tracking
  • LoRaWAN : Long Range Wide Area Network เป็นเทคโนโลยีสัญญาณวิทยุที่อาศัยโปรโตคอล LoRa ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์แบบใช้พลังงานต่ำ และสื่อสารข้อมูลในระยะไกลข้ามเน็ตเวิร์ค รองรับทั้งแบบ Private และ Public เช่น การเชื่อมต่ออุปกรณ์อัจฉริยะต่างๆ

หมายเหตุ 1. ผู้รีวิวไม่ได้ทดสอบการเชื่อมต่อแบบ NB-IoT เนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียนครั้งแรกเพื่อเปิด Monogoto SIM Card และค่าใช้จ่ายรายปีสำหรับ Network Server on Cloud จาก Operator ที่ให้บริการในประเทศไทย
หมายเหตุ 2. ผู้รีวิวไม่ได้ทดสอบการเชื่อมต่อแบบ LTE-M เนื่องจาก Monogoto SIM Card ที่ให้มากับผลิตภัณฑ์ Link.ONE ไม่รองรับ Operator ที่ให้บริการในประเทศไทย

IoT Private LoRaWAN On-Premise Platform

เป็น IoT Platform ที่ผู้รีวิวติดตั้งขึ้นมาใช้งานเป็นการส่วนตัว เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการระบบ LoRaWAN ได้อย่างเบ็ดเสร็จ ประกอบด้วยซอฟท์แวร์ต่างๆ ที่จำเป็นในการใช้งาน ซึ่งอยู่ในรูปแบบของ Open Source ทั้งหมดและไม่มีค่าใช้จ่ายดังนี้

  • ChirpStack : LoRaWAN Network and Application Server ทำการลงทะเบียนหมายเลขอุปกรณ์ LoRaWAN IoT และถอดรหัสข้อมูลที่ได้รับในรูปแบบ AES128 และมีตัวกลาง MQTT broker (Message Queuing Telemetry Transport) โดยทำหน้าที่เป็นผู้ส่ง (publish)
  • Node-RED : เป็นเครื่องมือพัฒนาแบบโฟลว์สำหรับการเขียนโปรแกรม โดยเป็นผู้รับ (subscribe) มาจาก ChirpStack ผ่านโปรโตคอล MQTT และนำข้อมูลจาก payload มาถอดรหัสตามรูปแบบ BASE64 ก็จะได้ข้อมูลที่ส่งมาจากเซนเซอร์ นำไปเก็บไว้ที่ InfluxDB และตรวจสอบกำหนดค่าแจ้งเตือนไปที่ LINE Notify Application
  • InfluxDB : Time Series Database ใช้เก็บข้อมูลที่มาจากเซนเซอร์และข้อมูลที่มาจาก LoRaWAN Gateway ไว้ในฐานข้อมูล โดยเรียงตามอนุกรมของเวลาโดยอัตโนมัติ ทำให้เราสามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ หรือดูย้อนหลังได้ตลอดเวลา
  • Grafana : Real Time Dashboard นำข้อมูลจากฐานข้อมูลมาแสดงผลในรูปแบบต่างๆ
  • Line Notify : เมื่อเซนเซอร์มีค่าสูงหรือต่ำกว่าที่กำหนดไว้ LINE Application จะแจ้งเตือนให้เราทราบผ่านทางระบบ LINE Notify เพียงครั้งเดียว แต่หาก Sensor มีค่าเปลี่ยนแปลงไปจากค่าตอนแรก ก็จะกลับมาแจ้งเตือนอีกครั้งหนึ่ง นั่นหมายความว่า จะไม่มีการแจ้งเตือนกรณีที่มีค่าซ้ำๆ เดิมเกิดขึ้นนั่นเอง

Link.ONE IoT Private LoRaWAN On-Premise Platform

Preliminary Preparation

  • Materials required
    1 x Link.ONE
    1 x USB Type-C cable
    1 x LoRaWAN Gateway
    1 x Computer
  • Software Install
    Step 1. Arduino IDE Install https://www.arduino.cc/en/software

    Step 2. เพิ่มอุปกรณ์ Link.ONE : Arduino menu File -> Preferences คัดลอก url https://raw.githubusercontent.com/RAKwireless/RAKwireless-Arduino-BSP-Index/main/package_rakwireless_index.json ไปวางไว้ที่ช่อง Additional Boards Manager URLs:

    add Link.ONE Arduino menu File

  • Click on Tools -> Board -> Board Manager -> ค้นหาคำว่า “RAKwireless nRF Boards” -> กดปุ่ม Install บอร์ด WisBlock RAK4631

Link.ONE Arduino Install บอร์ด WisBlock RAK4631

  • Click on Tools -> Board -> Board Manager -> RAKwireless nRF Boards -> กดเลือกบอร์ด WisBlock RAK4631

Arduino Install บอร์ด WisBlock RAK4631

Step 3. เพิ่ม Library Source Code : Arduio menu Sketch -> Include Library -> Library Manager ค้นหาคำว่า “SX126x-Arduino” -> กดปุ่ม Install

Install SX126x-Arduino

LoRaWAN Test run

1. Hello “NinePhon” : เขียนโปรแกรมlส่งข้อความให้ Link.ONE เชื่อมต่อในแบบ LoRaWAN
กำหนดย่านความถี่ใช้งานสำหรับประเทศไทยคือ AS923
กำหนดการเชื่อมต่อเป็นแบบ OTAA ประกอบด้วยค่าต่างๆ ดังนี้
DevEUI = 88 88 88 88 88 88 33 33
AppKey = 88 88 88 88 88 88 88 88 88 88 88 88 88 88 88 88
AppEUI = B8 27 EB FF FE 39 00 00
หมายเหตุ : กระบวนการ Activation มี 2 แบบคือ ABP (Activation By Personalization) และ OTAA (Over The Air Activation)


Arduino IDE หลังจาก Compiler Source code และ Upload ลงบอร์ด Link.ONE เราสามารถ Flash program ได้ทันที โดยไม่ต้องกดปุ่มใดๆ และบอร์ดจะทำงานตามที่ได้โปรแกรมไว้โดยอัตโนมัติ นี่ถือเป็นข้อดีของ Link.ONE สำหรับนักพัฒนาโปรแกรม

Link.ONE Arduino IDE Flash program

  • Join Request : เริ่มต้น Link.ONE จะทำการร้องขอการเชื่อมต่อกับ LoRaWAN Network Server ผ่านทาง LoRaWAN Gateway
  • Join Accept : LoRaWAN Network Server จะทำการตรวจสอบหมายเลข DeviceEUI ของ Link.ONE หากได้ลงทะเบียนไว้แล้ว ก็จะตอบรับคำขอให้สามารถรับ-ส่งข้อมูลกันได้ต่อไป

chirpstack Link.ONE

จากรูป data payload คือ “TmluZVBob24=” เมื่อนำมาถอดรหัสตามมาตรฐาน Base64 Decode ก็จะได้คำว่า “NinePhon” นั่นเอง

Link.ONE chirpstack

2. เนื่องจากบริษัท RAKwireless ไม่ได้ส่งตัวอย่าง Sensor board มาให้ ทางผู้รีวิวจึงเขียนโปรแกรมให้อ่านค่า Voltage/Performance/LoRaWAN Value จากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน เพื่อเป็นตัวแทนของเซ็นเซอร์สำหรับการรีวิวในครั้งนี้


 

chirpstack Link.ONE

  • Link.ONE จะส่งข้อมูลแบตเตอรี่ผ่านเครือข่ายสื่อสารไร้สายระยะไกล ซึ่งอยู่ในรัศมีที่ LoRaWAN Gateway สามารถจะรับสัญญาณได้ และจะส่งต่อไปให้ “ChirpStack” LoRaWAN Network Server ต่อไป

chirpstack Data Payload Base64 decode

  • Node-RED เชื่อมต่อกับ ChirpStack ผ่านโปรโตคอล MQTT เพื่อทำการถอดรหัสข้อมูลจาก Data Payload ด้วยอัลกอริทึม Base64

nodered LoRaWAN

  • Node-RED ทำการเก็บข้อมูลที่ได้จากเซ็นเซอร์และข้อมูลระบบ LoRaWAN ต่างๆ ลงในฐานข้อมูลอนุกรมเวลา InfluxDB โดยอัตโนมัติ

Link.ONE influxdb

  • Grafana Dashboard อ่านข้อมูลต่างๆ มาจากฐานข้อมูลอนุกรมเวลา InfluxDB เพื่อนำมาแสดงผลเช่น ค่าแบตเตอรี่โวลท์เตจ, ค่าเปอร์เซนต์ของแบตเตอรี่ , การใช้ไฟในขณะส่งข้อมูล เป็นต้น

 

grafana Link.ONE

  • LINE Notify Application ทำการตรวจสอบค่าลิเธียมแบตเตอรี่โวลท์เตจ หากมีค่าต่ำกว่า 3.3 โวลท์ จะทำการแจ้งเตือนไปที่ Group Line ให้เราทราบทันที

บทสรุป

Link.ONE เหมาะสำหรับนักพัฒนาอุปกรณ์ IoT ที่สนใจชื่นชอบการประกอบวงจรตรวจวัดต่างๆ (Sensor), เขียนโค๊ด (Coding) เชื่อมต่อสื่อสารไร้สายระยะไกลแบบใช้พลังงานต่ำ รองรับระบบ LPWAN เช่น LTE-M, NB-IoT และ LoRaWAN ได้อย่างลงตัวอยู่ในอุปกรณ์เดียวกัน โปรแกรมใช้งานร่วมกับ Arduino IDE ทำให้การพัฒนาอุปกรณ์ IoT นั้นเป็นเรื่องง่ายมาก มาพร้อมกับ Monogoto SIM Card ที่มี Data package ขนาด 500 MB. สามารถใช้งานได้นานถึง 10 ปี

ขอขอบคุณบริษัท RAKwireless ที่ส่งชุดผลิตภัณฑ์ Link.ONE มาให้รีวิวในครั้งนี้ และหากคุณสนใจอยากลองหามาใช้งาน สามารถทำการสั่งซื้อได้ทีร้านค้าของบริษัท ชุดผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีราคาเริ่มต้นที่ $56 หรือ ~1,900 บาท ไปจนถึงราคา $107 หรือ ~3,700 บาท ขึ้นอยู่กับออฟชั่นที่เลือก

FacebookTwitterLineEmailShare

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

โฆษณา
โฆษณา