ODROID-M2 : บอร์ด SBC แบบ low-profile ที่ใช้ Rockchip RK3588S2 SoC, LPDDR5 16GB, eMMC flash 128GB

Hardkernel ได้เปิดตัว ODROID-M2 เป็นบอร์ด SBC แบบ low-profile ที่ใช้ Rockchip RK3588S2 octa-core Cortex-A76/A55 AI SoC พร้อมด้วย RAM แบบ LPDDR5 สูงสุด 16GB, eMMC flash 64GB, ซ็อกเก็ต M.2 PCIe รองรับการแสดงผล 3 จอผ่าน HDMI, USB-C และอินเทอร์เฟส MIPI DSI, พอร์ต gigabit Ethernet และอื่นๆ

ODROID-M2 เป็นรุ่นถัดจาก ODROID-M1 และ ODROID-M1S ที่เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยวที่ใช้โปรเซสเซอร์ Rockchip RK3568 และ RK3566 แบบ quad-core Cortex-A55 ตามลำดับ แต่ ODROID-M2 มาพร้อมกับโปรเซสเซอร์ Rockchip RK3588S2 ที่มีทรงพลังกว่าอย่างมาก และมีฟอร์มเฟคเตอร์ที่ใหญ่ขึ้นเป็น 90×90 มม. เพื่อรองรับฟีเจอร์และอินเทอร์เฟสที่เพิ่มขึ้น

ODROID-M2 SBC

สเปคของ ODROID-M2:

  • SoC –Rockchip RK3588S2
    • CPU – โปรเซสเซอร์ Octa-core พร้อม 4x Cortex-A76 cores @ สูงสุด 2.4 GHz, 4x Cortex-A55 cores @ สูงสุด 1.8 GHz
    • GPU – Arm Mali-G610 GPU พร้อมรองรับ OpenGL ES 3.2, OpenCL 2.2 และ Vulkan 1.2 API
    • VPU – 8Kp60 video decoder for H.265/AVS2/VP9/H.264/AV1 codecs, 8Kp30 H.265/H.264 video encoder
    • AI accelerator – NPU 6 TOPS (INT8)
  • หน่วยความจำ – RAM แบบ LPDDR5 64-บิต ขนาด 8GB หรือ 16GB  (จะมีรุ่น RAM 4GB จะเปิดตัวเร็ว ๆ นี้)
  • สตอเรจ
    • eMMC flash 64GB
    • ช่องใส่ MicroSD card ที่รองรับโหมด UHS-I SDR104
    • ช่องเสียบ M.2 M-Key พร้อม PCIe 2.1 x1 สำหรับ NVMe SSDs
  • เอาท์พุตวิดีโอ
    • HDMI 2.0 สูงสุด 4K @ 60Hz พร้อม HDR, EDID
    • DisplayPort ผ่านพอร์ต USB-C
    • คอนเนกเตอร์ MIPI DSI 30 พิน (หมายเหตุ: แตกต่างจากคอนเนกเตอร์ 31 พินบน ODROID-M1)
  • ระบบเครือข่าย – พอร์ต Gigabit Ethernet RJ45
  • USB
    • พอร์ต USB 2.0 host
    • พอร์ต USB 3.0 host
    • พอร์ต USB 3.0 Type-C พร้อม DP Alt-Mode (ไม่ใช่แหล่งจ่ายไฟ/รับไฟ)
  • การขยาย
    • GPIO header 40-pin เพื่อรองรับ Raspberry Pi
    • GPIO header 14-pin
  • การดีบัก – Serial debug console
  • อื่นๆ
    • ปุ่มเปิด/ปิด, ปุ่มรีเซ็ต
    • ไฟ LED ของระบบ
      • สีแดง (POWER) – สว่างค้างเมื่อเชื่อมต่อไฟ DC
      • สีน้ำเงิน (ALIVE) – กระพริบเหมือนจังหวะการเต้นของหัวใจในขณะที่ Linux kernel กำลังทำงาน, สว่างค้างใน u-boot
    • PCF8536 RTC พร้อมที่ใส่แบตเตอรี่สำรอง CR2032
    • สวิตช์เลือกการบูตระหว่าง eMMC หรือ microSD card
  • แหล่งจ่ายไฟ – อินพุต DC 7.5V ถึง 15.5V ผ่านแจ็คจ่ายไฟขนาด 5.5/2.1 มม. แนะนำอะแดปเตอร์จ่ายไฟ 12V/2A
  • การใช้พลังงาน (ข้อมูลจาก Hardkernel)
    • ปิดเครื่อง – ประมาณ 0 วัตต์
    • IDLE – ประมาณ 1 วัตต์ ไม่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงใดๆ
    • การทดสอบ CPU stress test – ประมาณ 7.5 วัตต์ (Performance governor) โดยไม่มีอุปกรณ์ต่อพ่วงใดๆ
  • ขนาด – 90 x 90 x 21มม.
  • น้ำหนัก – 78 กรัม รวมฮีทซิงก์, 58 กรัม ไม่รวมฮีทซิงก์
ODROID-M2 bottom SSD RTC battery holder
ODROID-M2 ติดตั้งด้วย M.2 SSD
RK3588S2 SBC block diagram
บล็อกไดอะแกรมของ ODROID-M2

คุณอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับ RK3588S มาก่อน แต่ไม่ค่อยได้เจอกั RK3588S2 และเราก็สงสัยเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างสองรุ่นนี้ใน บทความ Radxa ROCK 5C  :

RK3588S2 แตกต่างกับ RK3588S อย่างไร? โดยพื้นฐานแล้วทั้งสองรุ่นจะเหมือนกัน ยกเว้นว่า RK3588S2 มาพร้อมกับการเพิ่มอินเทอร์เฟส MIPI CSI

แม้ว่าว่าอินเทอร์เฟส MIPI CSI ที่เพิ่มเข้ามาในชิป RK3588S2 ไม่ได้ถูกใช้งานในบอร์ด ODROID-M2 แต่ต้องมีเหตุผลที่ดีที่ทั้งสองบริษัทเลือกใช้ RK3588S2 อาจป็นเรื่องราคาหรือการวางจำหน่าย

ในด้านประสิทธิภาพ Hardkernel อธิบายว่า  ODROID-M2 ดีกว่า ODROID-M1S ทุกประการ:

  • ประสิทธิภาพแบบมัลติคอร์เร็วขึ้นประมาณ 3 เท่า
  • แบนด์วิดท์หน่วยความจำเพิ่มขึ้นประมาณสองเท่าด้วย RAM LPDDR5 64 บิต
  • GPU Mali-610 เร็วขึ้นกว่า 5 เท่า
  • NPU ของ 6TOPS เร็วขึ้นกว่า 3 เท่า
  • eMMC flash 64GB เร็วขึ้น 2 เท่าเนื่องจากอินเทอร์เฟส HS400
ODROID-M1 vs ODROID-N2 Plus vs ODROID-M2
เปรียบเทียบ Benchmark ของ ODROID-M1 กับ ODROID-N2+ กับ ODROID-M2

ข้อเสียอย่างหนึ่งที่เราเห็นคือ ODROID-M2 รุ่นใหม่นี้ติดตั้งฮีทซิงค์พร้อมพัดลมสำหรับระบายความร้อน ในขณะที่รุ่นก่อน ๆ สามารถทำงานได้โดยไม่ต้องใช้พัดลม อย่างไรก็ตามในวิดีโอด้านล่าง Hardkernel กล่าวถึงพัดลมแทบจะไม่หมุน ดังนั้นเราจึงคิดว่าบางคนจึงคาดว่าบางคนอาจตัดสินใจถอดพัดลมออก

ด้านการรองรับซอฟต์แวร์ Hardkernel ให้รายละเอียดมากขึ้นเกี่ยวกับคุณสมบัติของซอฟต์แวร์

  • ซอฟต์แวร์
    • อ้างอิงจาก AOSP
    • พัฒนาบนพื้นฐาน AOSP
    • เฟรมเวิร์กการเข้าถึง GPIO แบบกำหนดเอง (พูดอีกอย่างก็คือ GPIO สามารถใช้งานใน Android ได้)
      • SPI (ตัวรับ CAN, ไฟแถบ LED, IO expander)
      • UART(ทดสอบ Loopback, สแกนเนอร์บาร์โค้ด, เครื่องพิมพ์ความร้อน)
      • Rotary encoder พร้อม GPIO IRQ
      • เอาท์พุต PWM
  • Ubuntu 20.04 LTS Kernel 5.10
    • เดสก์ท็อป GNOME ที่ใช้ Wayland
    • ไดรเวอร์ OpenGL-ES / EGL สำหรับ GPU ARM Mali Bifrost
    • ไดรเวอร์ MIPI DSI
    • ไดร์เวอร์ GPIO และไลบรารี WiringPi
    • ไดรเวอร์ NPU และ Neural Network API
    • ไดรเวอร์ VPU พร้อม MPP/Gstreamer API
  • Ubuntu 24.04 พร้อมเวอร์ชันเคอร์เนลใหม่จะเปิดตัวในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า

คุณสามารถดูวิดีโอสั้นๆ ใน Android 13 กับสองจอแสดงผล 4K หนึ่งจอเล่นวิดีโอ 4K และอีกจอหนึ่งรัน 3DMark พร้อมการเร่งความเร็วกราฟิก 3D สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ได้ใน wiki

Hardkernel ขายบอร์ด ODROID-M2 SBC ในร้านของตัวเองราคา $115(~4,000฿) พร้อม LPDDR5 8GB, eMMC flash 64GB และเคส, รุ่น RAM 16GB ราคา $145(~5,000฿), รุ่น RAM 4GB ที่กำลังจะวางจำหน่ายจะมีราคา $95(~3,200฿)

อุปกรณ์เสริมที่รองรับ ได้แก่:

  • พาวเวอร์ซัพพลาย 12V/2A ราคา $5.50 (~180฿)
  • ODROID-Vu8S MIPI-DSI kit ราคา  $39 (~1,300฿)
  • โมดูล WiFi/Bluetooth 5BK ราคา $8.90 (~300฿)
  • Weather Board Zero ราคา $2 (~70฿)
  • บอร์ดเสริม CAN-FD ราคา $11 (~370฿)
  • USB-UART Kit ราคา $9.90 (~340฿)
  • Cube Case ราคา $28 (~960฿) พร้อมพอร์ต USB 4 พอร์ตสำหรับ Gamepad (เกม Retro)
  • จอ LCD Vu12 ขนาด 12.3 นิ้ว ราคา $120 (4,000~฿)
ODROID-M2 enclosure
เคส ODROID-M2 (สามารถพิมพ์ด้วย 3D printer มีการแชร์ไฟล์บน wiki)
M2 Cube Case
M2 Cube Case

แปลจากบทความภาษาอังกฤษ : ODROID-M2 low-profile SBC features Rockchip RK3588S2 SoC, up to 16GB LPDDR5, 128GB eMMC flash

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
โฆษณา