FOSSASIA 2025 – มีหัวข้อที่น่าสนใจมากมาย เช่น ระบบปฏิบัติการ โอเพ่นฮาร์ดแวร์และเฟิร์มแวร์

FOSSASIA 2025 เป็นการประชุมเทคโนโลยีโอเพนซอร์สที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 13-15 มีนาคมปีนี้ โดยจะมีวิทยากรมากกว่า 170 คนและหัวข้อเสวนามากกว่า 200 หัวข้อ

หัวข้อการบรรยายส่วนใหญ่จะเน้นเกี่ยวกับซอฟต์แวร์ระดับสูง เช่น AI และวิทยาศาสตร์ข้อมูล, ฐานข้อมูล คลาวด์ และ Web3 แต่เราสังเกตเห็นหัวข้อการบรรยายบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับ “ฮาร์ดแวร์และเฟิร์มแวร์” และ “ระบบปฏิบัติการ” ซึ่งจะครอบคลุมบน CNX Software มากที่สุด ดังนั้นเราจึงได้จัดทำตารางการบรรยายที่น่าสนใจ ซึ่งจะมีตารางเฉพาะวันที่ 14-15 มีนาคมเท่านั้น

FOSSASIA Summit 2025

FOSSASIA 2025 – วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม

  • 9:00 – 9:25 – Licensing Open Hardware โดย Andrew Katz, CEO, Orcro

การเติบโตของ RISC-V ถือเป็นก้าวสำคัญของวงการฮาร์ดแวร์โอเพ่นซอร์ส ด้วยประสบการณ์ของ Andrew ในการร่างใบอนุญาต CERN Open Hardware License, Solderpad License และใบอนุญาตอื่น ๆ ทำให้เขามีมุมมองที่เป็นเอกลักษณ์เกี่ยวกับพัฒนาการในด้านนี้ จากประสบการณ์ของเขา หัวข้อการบรรยายนี้จะสำรวจความท้าทายและโอกาสของการให้สิทธิ์การใช้งานฮาร์ดแวร์แบบโอเพ่นซอร์ส ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่นักพัฒนาฮาร์ดแวร์โอเพ่นซอร์สควรรู้

  • 9:30 – 9:55 – The SecureBoot Saga (ตำนานของ SecureBoot) : การรักษาความปลอดภัยให้กับกระบวนการบูต โดย Christian Walter, กรรมการผู้จัดการฝ่ายเฟิร์มแวร์, 9elements

การบรรยายนี้จะให้ภาพรวมเกี่ยวกับองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สามารถช่วย รักษาความปลอดภัยของกระบวนการบูต ผู้ฟังจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ แนวทางและเครื่องมือ ในการปกป้องกระบวนการบูตของอุปกรณ์

โดยจะครอบคลุมโซลูชันแบบ proprietary (ที่เป็นกรรมสิทธิ์) เช่น Intel BootGuard หรือ AMD Platform Secure Boot รวมถึงทางเลือก โอเพ่นซอร์ส ที่สามารถนำมาใช้แทนได้ และยังแสดงให้เห็นถึงแนวทางในการรักษาความปลอดภัยให้กับกระบวนการบูตที่เหลือ นอกจากนี้ จะมีการพูดถึง แนวคิดของ Secure Boot รวมถึงข้อบกพร่องที่พบในระบบโอเพ่นซอร์สในปัจจุบัน

ผู้เข้าฟังจะได้รับความเข้าใจที่ดีขึ้นเกี่ยวกับเทคโนโลยี Secure Boot ต่าง ๆ ที่มีอยู่ และวิธีการ รวมกันเพื่อให้สามารถบูตอุปกรณ์ได้อย่างปลอดภัย

  • 10:00 – 10:25 – Challenges of unit testing hardware drivers เป็นความท้าทายของการทดสอบยูนิตสำหรับไดรเวอร์ฮาร์ดแวร์ โดย Alexander Bessman ผู้ดูแลโครงการ PSLab/FOSSASIA

ทำไมเราต้องทดสอบซอฟต์แวร์?, การทดสอบที่ดีควรเป็นอย่างไร?, เราจะเขียนการทดสอบที่ดีสำหรับซอฟต์แวร์ที่ทำงานใกล้ชิดกับฮาร์ดแวร์ได้อย่างไร?

  • 10:45 – 11:00 น. – Smart Doorbell สำหรับผู้พิการทางสายตา โดย Guruswamy Revana, รองศาสตราจารย์, BVRIT HYDERABAD College of Engineering for Women

Smart Doorbell (กริ่งประตูอัจฉริยะ) สำหรับผู้พิการทางสายตา เป็นนวัตกรรมที่ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ความท้าทายของผู้พิการทางสายตาที่อาศัยอยู่เพียงลำพัง ระบบนี้ช่วยเพิ่ม ความเป็นอิสระและความปลอดภัย ของผู้ใช้งานผ่าน เทคโนโลยีจดจำภาพและระบบเสียงตอบกลับ องค์ประกอบหลักของระบบคือ กล้องความละเอียดสูงเชื่อมต่อกับไมโครคอมพิวเตอร์, ระบบจดจำใบหน้าและประมวลผลข้อมูลผู้มาเยือน, ลำโพงภายในบ้านสำหรับแจ้งชื่อผู้ที่มาถึง

เมื่อมีคนกดกริ่ง กล้องจะถ่ายภาพของผู้มาเยือนแบบเรียลไทม์ จากนั้นระบบจะประมวลผลภาพจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลของบุคคลที่คุ้นเคย, หากพบว่าตรงกับฐานข้อมูล ระบบจะประกาศชื่อผู้มาเยือนผ่านลำโพง, หากไม่มีข้อมูลในฐานข้อมูล ระบบจะแจ้งเตือนว่ามี “คนแปลกหน้า” คุณสมบัติที่สำคัญนี้ช่วยเพิ่มความปลอดภัย และลดความเสี่ยงจากบุคคลไม่พึงประสงค์

  • 11:05 – 11:20 – การอัปเดตผลิตภัณฑ์ใหม่ของ Raspberry Pi และกรณีการใช้งานกับผลิตภัณฑ์ล่าสุด – Pico 2/Pi5/Pi 500/CM5 โดย Masafumi Ohta ผู้ก่อตั้งและตัวแทนกลุ่มผู้ใช้ Raspberry Pi ของญี่ปุ่น

นับตั้งแต่การเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะครั้งแรก (IPO) ในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน Raspberry Pi ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ มากมายและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์อย่างไม่หยุดนิ่ง กลยุทธ์ใหม่ๆ เหล่านี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับธุรกิจงานอดิเรกแบบ Enterprise/DIY และปรับกลยุทธ์ใหม่ให้กับธุรกิจการศึกษา จะต้องดึงดูดความสนใจและความอยากรู้ของคุณอย่างแน่นอน

ในหัวข้อการบรรยายนี้ Masafumi จะสรุปอัปเดตล่าสุดเกี่ยวกับ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของ Raspberry Pi และการใช้งานจริงของ Pico2/Pi 5/Pi 500/CM5 (เช่น LLM/Basic OS/E-ink Display system และอื่น) ซึ่งจะช่วยให้ผู้เข้าร่วมได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ล่าสุดของ Raspberry Pi และสร้างแรงบันดาลใจและแนวทางใหม่ๆ สำหรับการพัฒนาโปรเจกต์ของคุณ

  • 11:25 – 12:15 – BrailleRap: การสร้างปริ้นเตอร์อักษรเบรลล์แบบโอเพนซอร์สเพื่อการมีส่วนร่วมที่มีความหมาย (Workshop) โดย Saad Chinoy ผู้ก่อตั้ง salvageGarden Assistive Makerspace

เวิร์กชอปนี้จะพาคุณไปรู้จัก BrailleRap เครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์แบบโอเพ่นซอร์ส ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน แก้ไขปัญหาความยั่งยืน และพัฒนาอุปกรณ์ช่วยเหลือที่มีประโยชน์ต่อสังคม

โดยแนะนำอุปกรณ์คืออะไร ใช้ทำอะไร ทำไมโอเพ่นซอร์สจึงสำคัญ และเรื่องราวของการจำลองและสร้างอุปกรณ์นี้ขึ้นใน ภูฏาน, เยอรมนี, ฟิลิปปินส์ และแคเมอรูน ในเวิร์กช็อปนี้สามารถทดลองใช้เครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ด้วยตัวคุณเอง พิมพ์อักษรเบรลล์ และพูดคุยเกี่ยวกับแนวคิดเรื่อง การเข้าถึง (Accessibility), อุปกรณ์ช่วยเหลือ (Assistive Devices) และ Open Hardware

โดยจะจำลองการทำงานเป็นทีม เพื่อเรียนรู้ระดับการมีส่วนร่วมในการสร้างโปรเจกต์โอเพ่นซอร์ส เชิญชวนให้ผู้เข้าร่วมรวมกลุ่มกันเพื่อพัฒนาโครงการ BrailleRap Thailand!

  • 13:30 – 13:50 – ภารกิจอันยิ่งใหญ่ในการดูแลระบบปฏิบัติการ – แนวทางของ Debian โดย Ananthu CV นักพัฒนา Debian, Debian

เราทุกคนคุ้นเคยกับการใช้งานระบบปฏิบัติการ (OS) แต่การสร้าง OS ขึ้นมานั้นยากกว่ามาก
แล้วส่วนที่ยากที่สุดคือการสร้าง OS คืออะไร, การดูแลรักษา OS ให้สามารถทำงานได้ดีตลอดเวลาเป็นเรื่องที่ท้าทายกว่า, Debian เป็นหนึ่งในระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนคอมพิวเตอร์จำนวนมากทั่วโลก แล้วพวกเขาทำได้อย่างไร?

  • 13:55 – 14:10 – Ubuntu Touch: อิสรภาพในการเลือกใช้ระบบปฏิบัติการมือถือ โดย รัชนันท์ ศรีรัตนเมธ ผู้ดูแลระบบ UBports

ปัจจุบันตลาดระบบปฏิบัติการมือถือถูกครอบงำโดย Apple และ Google (iOS และ Android) ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดรวมกันมากกว่า 99% แต่โลกของสมาร์ทโฟนไม่จำเป็นต้องมีแค่สองตัวเลือกนี้เท่านั้น

หัวข้อการบรรยายนี้จะพูดถึง Ubuntu Touch เป็นระบบปฏิบัติการทางเลือกสำหรับสมาร์ทโฟน ไม่ใช่ Android fork แต่เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นจาก Ubuntu Linux ถูกออกแบบมาเพื่อมอบอิสรภาพและความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้ที่ต้องการทางเลือกใหม่

การพูดคุยนี้ในภาพรวมภาพรวมของ Ubuntu Touch และประวัติการพัฒนา, โครงสร้างและกระบวนการสร้าง รวมถึงระบบปฏิบัติการมือถือที่ใช้ Linux โดยทั่วไป

  • 14:00 – 14:55 – Debian packaging workshop โดย Andreas Tille Debian Project Leader, Debian

เวิร์กช็อปนี้เหมาะสำหรับ มือใหม่ ที่สนใจเรียนรู้วิธี แพ็กเกจซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ส สำหรับ Debian ผู้เข้าร่วมสามารถนำแล็ปท็อป และลิงก์ของซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่สนใจมาด้วย

ในระหว่างการบรรยายจะมีการเลือก ซอฟต์แวร์หนึ่งตัวจากผู้เข้าร่วม เพื่อนำมาเป็นกรณีศึกษา, สาธิตกระบวนการแพ็กเกจแบบ ทีละขั้นตอน, อธิบายปัญหาทั่วไปที่พบในการแพ็กเกจและแนวทางแก้ไข

โดบเป้าหมายของเวิร์กชอป เพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหาจริง และทำงานร่วมกับ ชุมชน Debian, ทำความเข้าใจ workflow การแพ็กเกจ ของ Debian, ปูพื้นฐานสำหรับผู้ที่ต้องการ เป็นผู้ดูแลแพ็กเกจของ Debian ในอนาคต

  • 15:00 – 15:55 – Clonezilla Hands-On: 60 นาทีของการ Cloning Action (workshop) โดย Steven Shiau, Clonezilla Project Leader, Clonezilla.org

กิจกรรมเวิร์กชอปภาคปฏิบัติที่ให้ผู้เข้าร่วมได้ทดลองใช้งาน Clonezilla จริงอย่างรวดเร็วตลอดระยะเวลาหนึ่งชั่วโมง เนื้อหาในเวิร์กชอป คือ การโคลนนิ่งและสร้างอิมเมจของดิสก์ (Disk Cloning & Imaging), การใช้ Clonezilla Server Edition เพื่อโคลนนิ่งผ่านเครือข่าย, วิธีทำ Backup & Recovery อย่างมีประสิทธิภาพ เคล็ดลับการเพิ่มประสิทธิภาพ Clonezilla และตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล เหมาะสำหรับ ผู้ดูแลระบบ IT, นักศึกษา และผู้ที่สนใจด้านเทคโนโลยี โดยผู้เข้าร่วมจะได้รับความเข้าใจ พื้นฐานการโคลนนิ่งข้อมูล,ทักษะที่นำไปใช้ได้จริงใน การสำรองข้อมูลและกู้คืนระบบ ไฟล์เอกสารและรายละเอียดออนไลน์สำหรับฝึกฝนเพิ่มเติมหลังจบเวิร์กชอป

FOSSASIA 2025 – วันเสาร์ที่ 15, 2025

  • 15:25 – 15:30 – สร้างอุปกรณ์พกพาที่ใช้ AI ได้อย่างไร โดย Sruthy M L, Software Engineer, Keyvalue software systems

หัวข้อการบรรยายนี้ Sruthy M L จะพูดถึงอุปกรณ์พกพาที่ใช้ AI ซึ่งสร้างขึ้นโดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Teensy microcontroller, ESP32 และโมดูลกล้องดิจิทัล อุปกรณ์นี้ได้รับการออกแบบให้เป็นเครื่องมือการเรียนรู้แบบโต้ตอบ โดยใช้เทคโนโลยีการตรวจจับวัตถุเพื่อช่วยให้ผู้ใช้ โดยเฉพาะเด็ก ๆ สำรวจและเรียนรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ อุปกรณ์จะจับภาพ ประมวลผลด้วยโมเดล MobileNet V2 ที่ผ่านการฝึกฝนล่วงหน้า และแสดงข้อมูลเกี่ยวกับวัตถุที่ตรวจพบแบบเรียลไทม์

โดยพูดถึงปัญหาที่อุปกรณ์นี้พยายามแก้ไข การส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นและการตระหนักรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพในรูปแบบที่น่าสนใจและขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี รวมถึงแบ่งปันความท้าทายสำคัญที่พบระหว่างการพัฒนา ซึ่งรวมถึงการบูรณาการฮาร์ดแวร์ การปรับเทียบกล้อง และการปรับแต่งการประมวลผลแมชชีนเลิร์นนิงบนระบบฝังตัว นอกจากนี้จะอธิบายวิธีที่เอาชนะความท้าทายเหล่านี้ผ่านการทดสอบอย่างเป็นระบบ การผสานรวมกับระบบคลาวด์ และเทคนิค embedded AI


แม้ว่างานทั้งสามวันจะเต็มไปด้วยการบรรยาย ถ้าคุณสนใจเฉพาะหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับ CNX Software สามารถเข้าร่วมในวันศุกร์ที่ 14 และเสาร์ที่ 15 ที่มีเพียงการบรรยายแบบ Lightning Talk ความยาว 5 นาที, งาน FOSSASIA 2025 มีค่าธรรมเนียมเข้าร่วมงานในสถานที่ 1,000 บาทต่อวัน หรือ 2,600 บาท สำหรับงานั้งสามวัน งานจะจัดขึ้นที่ True Digital Park West, 111 ถนนสุขุมวิท บางจาก พระโขนง กรุงเทพมหานคร 10260 แต่ยังสามารถเข้าร่วมทางออนไลน์ได้ฟรี สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้าจำหน่ายบัตร

FOSSASIA 2025 Tickets

แปลจากบทความภาษาอังกฤษ : FOSSASIA 2025 – Operating systems, open hardware, and firmware sessions

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
โฆษณา