Waveshare เปิดตัว RP2350-CAN ซึ่งเป็นบอร์ดพัฒนา CAN ที่ใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 โดยมาพร้อมกับคอนโทรลเลอร์ CAN Bus รุ่น XL2515 และทรานซีฟเวอร์ CAN รุ่น SIT65HVD230 ตัวบอร์ดรองรับโปรโตคอล CAN V2.0B ที่ความเร็วสูงสุด 1 Mbps โดยชิป XL2515 ดูเหมือนจะเป็นชิป clone ยอดนิยมอย่าง Microchip MCP2515
บอร์ดนี้มีขา GPIO แบบมัลติฟังก์ชันจำนวน 26 ขา และพอร์ต USB-C เหมือนกับที่พบใน Raspberry Pi Pico 2 ฟีเจอร์อื่น ๆ ได้แก่ วงจรแปลงแรงดันแบบ buck-boost (MP28164), ปุ่ม BOOT และ RESET, ไฟ LED สำหรับผู้ใช้งาน, ตัวต้านทานปลายสาย CAN ขนาด 120Ω ที่สามารถเลือกเปิด/ปิดได้ และ CAN screw terminals, บอร์ด CAN Bus เหมาะสำหรับการใช้งานในด้านยานยนต์, ระบบควบคุมอุตสาหกรรม และหุ่นยนต์
สเปคของ Waveshare RP2350 CAN:
- SoC – Raspberry Pi RP2350A
- CPU
- Dual-core Arm Cortex-M33 @ 150 MHz พร้อม Arm Trustzone, Secure boot OR
- Dual-core RISC-V Hazard3 @ 150 MHz
- สามารถใช้งานคู่กันได้สูงสุด 2 คอร์
- หน่วยความจำ – SRAM บนชิปขนาด 520KB
- แพ็คเกจ – QFN-60
- CPU
- ที่เก็บข้อมูล – NOR Flash 4MB (รุ่น P25Q32SH-UXH-IR)
- USB – พอร์ต USB Type-C 1.1 รองรับโหมดโฮสต์และอุปกรณ์ สำหรับจ่ายไฟและโปรแกรมมิ่ง
- อินเทอร์เฟซ CAN
- Xinluda XL2515 CAN controller
- SIT65HVD230 CAN transceiver
- รองรับ CAN V2.0B ความเร็วสูงสุด 1 Mbps
- มีสวิตช์เลือกเปิด/ปิดตัวต้านทานปลายสาย (Terminal resistor) 120Ω
- CAN screw terminal
- การขยาย – 2x 20-pin headers
- 26x GPIO
- 2x UART
- 2x SPI controllers
- 2x I2C controllers
- 16x PWM channels
- 4x ADC
- 3x PIO blocks, 12x PIO (Programmable IO) state machines
- การดีลัก – SWD debug interface header
- อื่น ๆ – ปุ่ม Boot, ปุ่ม Reset, ไฟ LED สำหรับผู้ใช้
- การจ่ายไฟ – รองรับแรงดันไฟฟ้าระหว่าง 1.8 ถึง 5.5 โวลต์, มีวงจรแปลงไฟแบบ DC-DC ประสิทธิภาพสูงในตัว (MP28164)
- ขนาด – 51 x 21 มม. (ฟอร์มเเฟคเตอร์ Raspberry Pi Pico / Pico 2)
ขณะตรวจสอบสเปค เราสังเกตว่าไม่มีไฟ LED แสดงสถานะพลังงานบนบอร์ด ถึงแม้ว่าบอร์ดนี้จะไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการใช้งานที่ใช้พลังงานต่ำก็ตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงไว้ด้วย

ในด้านการรองรับซอฟต์แวร์ บอร์ดนี้สามารถโปรแกรมได้ด้วย MicroPython, C/C++ และ Arduino IDE ถ้าคุณชื่นชอบการใช้ MicroPython ก็สามารถแฟลชเฟิร์มแวร์ผ่าน Thonny IDE ได้เลย แล้วเริ่มเขียนโค้ดได้ทันที ส่วนถ้าคุณใช้ภาษา C/C++ ก็สามารถใช้ส่วนขยายอย่างเป็นทางการของ Pico สำหรับ VSCode ซึ่งจะช่วยให้ง่ายต่อการสร้างและอัปโหลดโปรเจกต์ของคุณ และถ้าคุณคุ้นเคยกับ Arduino มากกว่า ก็สามารถใช้ Arduino-Pico core เพื่อโปรแกรมบอร์ดนี้ได้เหมือนกับบอร์ด Arduino ทั่วไป โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อเริ่มต้นได้จาก wiki
ก่อนหน้านี้เราเคยพูดถึงบอร์ด CAN Bus ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ เช่น RejsaCAN-ESP32 ที่ใช้ ESP32 และ บอร์ด ESP32-CAN-X2 ของ Autosport Labs และบอร์ด CANBed ที่ใช้ Raspberry Pi RP2040 แต่บอร์ดนี้ถือเป็นครั้งแรกที่เราเจอบอร์ด CAN Bus ที่ใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 เราเคยพูดถึงการใช้งานซอฟต์แวร์ ของ CAN bus สำหรับ Raspberry Pi RP2040 (รวมถึง RP2350 ด้วยในปัจจุบัน) แต่การใช้งานจริงอาจมีข้อจำกัดบางประการในขณะนั้น จึงยังไม่แน่ชัดว่าสามารถนำไปใช้งานได้จริงหรือไม่
บอร์ดพัฒนา Waveshare RP2350 CAN สามารถหาซื้อได้ในราคา $11.33 (~370฿) on AliExpress, $17.99 (~600฿) บน Amazon และ $9.99(~330฿) บน ร้านค้าอย่างเป็นทางการของ Waveshare
แปลจากบทความภาษาอังกฤษ : Raspberry Pi Pico-sized RP2350 CAN development board features a clone of the MCP2515 CAN Bus controller

บรรณาธิการข่าวและบทความภาษาไทย CNX Software ได้มีความสนใจในด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะ Smart Home และ IoT