บอร์ด Adafruit Feather RP2350 พร้อมพอร์ต HSTX รองรับการแสดงผลวิดีโอและการเชื่อมต่อหน้าจอ

“Adafruit Feather RP2350 with HSTX port” เป็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ที่มีพอร์ตอินเทอร์เฟส HSTX (High-Speed ​​Serial Transmit) ขนาด 22 พินบนบอร์ด นอกจากนี้บอร์ดยังมีที่ชาร์จ LiPo 200mA+ ในตัว, ไฟ LED RGB, คอนเนกเตอร์ STEMMA QT และพอร์ต USB Type-C สำหรับการจ่ายไฟและการเขียนโปรแกรม บอร์ดนี้สามารถใช้งานร่วมกับ FeatherWings และรองรับการพัฒนาด้วยภาษาการเขียนโปรแกรมต่าง ๆ ฟีเจอร์เหล่านี้ทำให้บอร์ดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่โปรเจกต์ฝังตัว อุปกรณ์ IoT ไปจนถึงการศึกษาและการสร้างต้นแบบ

ก่อนหน้านี้เราเคยกล่าวถึงบอร์ดพัฒนาที่ใช้ RP2350 หลากหลายรุ่น เช่น MOTION 2350 Pro ที่ออกแบบมาสำหรับควบคุมหุ่นยนต์และมอเตอร์, โมดูล RP2350 Stamp ของ Solder Party สำหรับการใช้งานที่มีพื้นที่จำกัด และบอร์ด WIZnet Raspberry Pi RP2350 ที่ออกแบบมาสำหรับ IoT และการใช้งานที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

Adafruit Feather RP2350 with HSTX Port

สเปคของ Adafruit Feather RP2350 พร้อม HSTX
  • ไมโครคอนโทรลเลอร์ – Raspberry Pi RP2350A
    • CPU – โปรเซสเซอร์ Arm Cortex-M33 แบบ Dual-core ที่ความเร็ว 150MHz
    • หน่วยความจำ
      • RAM ภายใน 520KB
      • ช่องสำหรับชิป PSRAM แบบ SOIC ที่มีสายเลือกชิปบน GPIO 8
    • สตอเรจ OTP ขนาด 8KB
    • แพ็คเกจ – QFN-60 ขนาด 7×7 มม.
  • สตอเรจ – Flash 8MB
  • HSTX – พอร์ต HSTX 22 พินสำหรับการส่งข้อมูลความเร็วสูงผ่านคอนเนกเตอร์ FPC แบบยืดหยุ่นขนาด 0.5 มม.
  • USB – 1x พอร์ต USB Type-C
  • ขา I/O
    • Header ที่เข้ากันได้กับ Adafruit Feather
      • สูงสุด 29x GPIOs (21 บน Feather header, 8 บนคอนเนกเตอร์ HSTX)
      • 2x I2C, 2x SPI, 2x UART
      • 4x 12-bit ADC
      • 24x PWM
    • คอนเนกเตอร์ STEMMA QT/Qwiic I2C
    • คอนเนกเตอร์ JST SH 3 พินสำหรับการดีบัก SWD
  • อื่นๆ
    • ปุ่ม BOOT และ RESET
    • ไฟ LED สำหรับผู้ใช้ (ไฟ LED สีแดงที่พิน 7)
    • ไฟ LED แสดงสถานะการชาร์จ
    • LED Neopixel RGB
  • แหล่งจ่ายไฟ
    • 5V ผ่านพอร์ต USB Type-C
    • คอนเนกเตอร์แบตเตอรี่ LiPo 2 พินพร้อมวงจรชาร์จ LiPo ที่รองรับกระแสชาร์จ 200mA+
    • ตัวควบคุมแรงดันไฟฟ้า 3.3V ที่มีเอาต์พุตกระแสสูงสุด 500mA
  • ขนาด – 50.8 x 22.8 x 7 มม. (ขนาดฟอร์มแฟคเตอร์ Adafruit Feather)
  • น้ำหนัก – 5 กรัม

Adafruit Feather RP2350 development board

เช่นเดียวกับบอร์ด Adafruit Feather รุ่นอื่นๆ บอร์ดนี้ยังมาพร้อมกับ bootloader USB UF2 ที่ติดตั้งมาแล้ว หมายความว่าเมื่อคุณต้องการโปรแกรมเฟิร์มแวร์ใหม่ สามารถกดปุ่ม BOOTSEL ค้างไว้ในขณะที่เชื่อมต่อกับ USB (หรือดึงขา RUN/Reset ลงไปที่กราวด์) แล้วจะปรากฏเป็นไดรฟ์ USB ซึ่งสามารถลากและวางเฟิร์มแวร์ของคุณลงไปเหมือนไดรฟ์ USB เสามารถลากและวางไฟล์เฟิร์มแวร์ของคุณลงไปในไดรฟ์นั้นได้เหมือนกับการใช้แฟลชไดรฟ์เพื่อโปรแกรมเฟิร์มแวร์ ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบอร์ดและเอกสารอื่น ๆ สามารถอ่านได้ที่คู่มือของบริษัท

ทางบริษัทแนะนำให้ใช้ CircuitPython ในการเริ่มต้นกับบอร์ดนี้ เนื่องจากรองรับไดรเวอร์ของ Adafruit, หน้าจอแสดงผล และเซนเซอร์ต่างๆ พร้อมด้วยบทเรียนและโค้ดตัวอย่าง นอกจากนี้ทางบริษัทยังระบุว่ามีการรองรับอย่างเป็นทางการสำหรับ C/C++, การรองรับ Arduino อย่างไม่เป็นทางการ และมีการรองรับ MicroPython และ CircuitPython อีกด้วย อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรทราบคือเมื่อใช้ CircuitPython หรือ MicroPython หน่วยความจำแฟลช QSPI ขนาด 8MB บนบอร์ดจะถูกแชร์ระหว่างโปรแกรมที่รันอยู่และพื้นที่เก็บไฟล์ ซึ่งจะเหลือพื้นที่ประมาณ 7 MB สำหรับโค้ด, ไฟล์, รูปภาพ, ฟอนต์ และข้อมูลอื่นๆ แต่ถ้าคุณใช้ C/C++ ในการเขียนโปรแกรมบนบอร์ด คุณจะสามารถใช้หน่วยความจำแฟลชทั้งหมดได้

Adafruit ไม่ได้จัดเตรียมเอกสารเฉพาะสำหรับการใช้อินเทอร์เฟส HSTX ของบอร์ดนี้ แต่คุณสามารถค้นหาตัวอย่างโค้ดได้ที่ GitHub ของ CircuitPython โดยเฉพาะใน CircuitPython ports directory สำหรับ Raspberry Pi RP2350

ชิป RP2040 รุ่นเดิมใช้ PIO ในการสร้างสัญญาณวิดีโอ แต่ RP2350 รุ่นใหม่มีฮาร์ดแวร์เฉพาะที่เรียกว่า HSTX ซึ่งออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการสร้างสัญญาณวิดีโอ คุณยังสามารถใช้ PIO เพื่อสร้างวิดีโอบนบน RP2350 ได้หากต้องการ แต่การใช้ HSTX จะดีกว่า รวดเร็วกว่า และง่ายกว่าทั่วไป เพราะมันถูกสร้างมาเพื่อใช้งานนี้โดยเฉพาะ

Adafruit Feather RP2350 front and side
รูปภาพด้านหน้าและด้านข้างของบอร์ดพัฒนา Adafruit Feather RP2350

บอร์ดพัฒนา Adafruit Feather RP2350 พร้อมพอร์ต HSTX มีราคา $12.50(~400฿) จากร้านค้า Adafruit แต่ขณะที่เขียนบทความมีการจำกัดการซื้อไม่เกินสองหน่วยต่อลูกค้าหนึ่งราย

แปลจากบทความภาษาอังกฤษ : Adafruit Feather RP2350 board with HSTX port enables video output and display interfaces

Subscribe
Notify of
guest
0 Comments
Oldest
Newest Most Voted
Inline Feedbacks
View all comments
โฆษณา