Pimoroni Pico Plus 2 W ได้รวม MCU RP2350B กับโมดูล Wi-Fi และ Bluetooth ของ Raspberry Pi RM2

Pimoroni Pico Plus 2W front and back

Raspberry Pi เปิดตัว Raspberry Pi Pico 2 เมื่อไม่นานมานี้ โดยมีชิป RP2350 ใหม่จะมีการอัปเกรดหลายอย่าง แต่ไม่มีการเชื่อมต่อไร้สายเหมือนกับ Pico W ขณะที่ยังไม่มี Raspberry Pi Pico 2 W อย่างเป็นทางการ Pimoroni ได้พัฒนาอุปกรณ์ทางเลือกที่ไม่เป็นทางการชื่อว่า Pimoroni Pico Plus 2 W ซึ่งรวม Wi-Fi และ Bluetooth โดยใช้โมดูล Raspberry Pi RM2 ที่ยังไม่ได้ประกาศอย่างเป็นทางการ และอาจจะปรากฏใน Pico 2W ในอนาคต บอร์ด Pimoroni Pico Plus 2 W ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350B เป็นชิป Arm Cortex-M33 แบบ dual-core  พร้อมหน่วยความจำแบบ Flash QSPI 16MB รองรับ XiP, หน่วยความจำ PSRAM 8MB, การเชื่อมต่อไร้สาย, พอร์ต USB Type-C สำหรับการจ่ายไฟและรับส่งข้อมูล และคอนเนกเตอร์ Qwiic/STEMMA QT สำหรับเชื่อมต่อกับ Breakout Board เราเคยพ […]

บอร์ด Adafruit Feather RP2350 พร้อมพอร์ต HSTX รองรับการแสดงผลวิดีโอและการเชื่อมต่อหน้าจอ

Adafruit Feather RP2350 with HSTX Port

“Adafruit Feather RP2350 with HSTX port” เป็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ที่มีพอร์ตอินเทอร์เฟส HSTX (High-Speed ​​Serial Transmit) ขนาด 22 พินบนบอร์ด นอกจากนี้บอร์ดยังมีที่ชาร์จ LiPo 200mA+ ในตัว, ไฟ LED RGB, คอนเนกเตอร์ STEMMA QT และพอร์ต USB Type-C สำหรับการจ่ายไฟและการเขียนโปรแกรม บอร์ดนี้สามารถใช้งานร่วมกับ FeatherWings และรองรับการพัฒนาด้วยภาษาการเขียนโปรแกรมต่าง ๆ ฟีเจอร์เหล่านี้ทำให้บอร์ดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่โปรเจกต์ฝังตัว อุปกรณ์ IoT ไปจนถึงการศึกษาและการสร้างต้นแบบ ก่อนหน้านี้เราเคยกล่าวถึงบอร์ดพัฒนาที่ใช้ RP2350 หลากหลายรุ่น เช่น MOTION 2350 Pro ที่ออกแบบมาสำหรับควบคุมหุ่นยนต์และมอเตอร์, โมดูล RP2350 Stamp ของ Solder Party สำหรับการใช้งานที่มีพื้นที่จำ […]

ANAVI Dev Mic : ไมโครโฟนดิจิทัลแบบรอบทิศทางที่ใช้ชิป Raspberry Pi RP2040 MCU

anavi dev mic RP2040

ANAVI Dev Mic เป็นบอร์ดไมโครโฟนแบบโอเพ่นซอร์สจาก ANAVI Technology ในเมือง Plovdiv ประเทศบัลแกเรีย โดยใช้โมดูล Seeed Studio XIAO RP2040 และไมโครโฟนดิจิทัลแบบรอบทิศทางจาก STMicroelectronics เป็นผลิตภัณฑ์ที่ขนาดเล็กกะทัดรัดและราคาไม่แพง ซึ่งมีประสิทธิภาพเหนือกว่าไมโครโฟน USB เหมาะสำหรับงานทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ machine learning ด้านเสียง การออกแบบมีความเรียบง่ายและไม่ซับซ้อน โดยมีโมดูล Seeed Studio XIAO RP2040 อยู่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยพอร์ต USB-C สำหรับจ่ายไฟและการเขียนโปรแกรม และขา GPIO จำนวน 9 ขาสำหรับการขยาย, ไมโครโฟน STMicroelectronics MP23DB01HP (MK1) ติดตั้งอยู่ด้านบนของบอร์ดโดยมีรูเล็กๆ อยู่ด้านล่าง เป็นไมโครโฟน MEMS ดิจิทัลที่มีขนาดเล็กกะทัดรัด ใช้พลังงานต่ำ สามารถจับเสียงจากทิศทางต่างๆ ได้โดยมีความเพ […]

บอร์ด Pimoroni Explorer สำหรับการเรียนรู้ที่ใช้ Raspberry Pi RP2350 พร้อมจอ LCD 2.8 นิ้ว, breadboard sensors และอื่นๆ

Pimoroni Explorer Starter Kit

บอร์ด Pimoroni Explorer เป็นบอร์ดสำหรับการทดลองอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้นโดยใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 มีหน้าจอ LCD ขนาด 2.8 นิ้ว, ขั้วต่อสำหรับลำโพง, และพอร์ต I/O ต่างๆ ซึ่งทำให้สามารถสร้างวงจร ทดลองโปรเจกต์ และสร้างหุ่นยนต์ขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังมีแผงต่อวงจรหรือเบรดบอร์ด Breadboard ขนาดเล็ก, ปุ่มสัมผัส และขั้วต่อแบบ crocodile clip terminals ทำให้เหมาะสำหรับทั้งผู้เริ่มต้นและผู้ที่มีประสบการณ์ในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ Raspberry Pi Limited เพิ่งเปิดตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350 พร้อมกับ บอร์ด Raspberry Pi Pico ราคา $5 (~180฿) และเราได้เห็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ RP2350 มากมาย เช่น Cytron MOTION 2350 Pro, Bus Pirate 5XL และ 6 รวมถึงบอร์ดพัฒนาอื่นๆ, Pimoroni Explorer เป็นอีกหนึ่งบอร์ดพัฒนาที่ใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350 สเปคขอ […]

บอร์ดพัฒนา SparkFun Pro Micro – RP2350 มาพร้อม flash 16MB, PSRAM 8MB

SparkFun RP2350 Pro Micro DEV Board

SparkFun Pro Micro – RP2350 เป็นบอร์ดพัฒนาขนาดเล็กกะทัดรัดและทรงพลัง ที่ใช้ชิป RP2350 จาก Raspberry Pi และหน่วยความจำแบบ Flash ขนาด 16MB และ PSRAM 8MB บอร์ดนี้มีการออกแบบตาม Pro Micro รุ่นใหม่และมีพอร์ต USB-C, คอนเนคเตอร์ Qwiic, WS2812B RGB LED, ปุ่ม Boot และ Reset, ฟิวส์ PTC ที่สามารถรีเซ็ตได้, และมีรู PTH และด้านข้างมีรูแบบ castellated pads สำหรับเอาไว้บัดกรี เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเราได้กล่าวถึง Raspberry Pi Pico 2 และเรายังได้เขียนบทความเกี่ยวกับบอร์ดอื่นๆ ที่ใช้ Raspberry Pi RP2350 เช่น XIAO RP2350, RP2350 Stamp ของ Solder Party และ Cytron MOTION 2350 Pro เรามาดูคุณสมบัติบอร์ดพัฒนาอีกหนึ่งบอร์ดที่ใช้ชิป RP2350 กัน สเปคของ SparkFun Pro Micro – RP2350 ไมโครคอนโทรลเลอร์ – Raspberry Pi RP2350A MCU CPU Dual-core Ar […]

บอร์ด Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5 ที่ใช้ชิป Raspberry Pi RP2350 กับโมดูล ESP32-C6 WiFi 6 และ Bluetooth 5.4 LE

Raspberry Pi RP2350 board ESP32 C6 WiFi module

คุณไม่ต้องรอ Raspberry Pi Pico 2 W เพื่อให้ได้บอร์ด Raspberry Pi RP2350 ที่มี WiFi และ Bluetooth เพราะมีบอร์ด Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5 ที่รวมชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2350A กับโมดูล ESP32-C6 ที่รองรับการเชื่อมต่อแบบ 2.4 GHz WiFi 6 และ Bluetooth 5.4 LE บอร์ดนี้ใช้ Adafruit Feather form factor โดยมีรู (Through holes) 28-pin สำหรับ I/O ทำให้สามารถเข้ากันได้กับบอร์ดเสริม FeatherWings มาพร้อมพอร์ต USB-C สำหรับการจ่ายไฟและการเขียนโปรแกรม และมีคอนเนกเตอร์ JST พร้อมวงจรชาร์จสำหรับผู้ที่ต้องการเชื่อมต่อกับแบตเตอรี่ LiPo สเปคของบอร์ด Challenger+ RP2350 WiFi6/BLE5: ไมโครคอนโทรลเลอร์– Raspberry Pi RP2350A MCU CPU Dual-core Arm Cortex-M33 processor @ 150MHz Dual-core 32-bit RISC-V processor @ 150MHz สามารถใช้งานได้เพียง 2 […]

XIAO RP2350 เป็นบอร์ด USB-C ขนาดจิ๋วที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350

XIAO RP2350

XIAO RP2350 เป็นรุ่นอัปเกรดของบอร์ด XIAO RP2040 ของ Seeed Studio ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 Cortex-M33 แบบ dual-core หรือ RISC-V แบบ dual-core ที่ทรงพลังยิ่งขึ้นที่พบในบอร์ด Raspberry Pi Pico 2 ที่เพิ่งเปิดตัว บอร์ด Raspberry Pi RP2350 USB-C ใหม่มีขนาดเท่าเหมือน แต่มีขา GPIO เพิ่มอีก 8 ขาที่ด้านล่างรวมเป็น 19 ขาและแต่ไม่มี LED สำหรับการเชื่อมต่อพอร์ต serial สำหรับคนที่คิดว่า XIAO RP2040 มีคุณสมบัติไม่พียงพอ ต้องการไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ทรงพลังขึ้น, ที่มีความจุของหน่วยความจำมากขึ้น, มีขา GPIO เพิ่มและมีความปลอดภัยในตัว XIAO RP2350 จะเป็นทางเลือกที่ดี ข้อมูลสเปคของ XIAO RP2350: ไมโครคอนโทรลเลอร์ – Raspberry Pi RP2350 MCU CPU – โปรเซสเซอร์ Arm Cortex-M33 แบบ Dual-core @ 150MHz (หมายเหตุ: Seeed Studi […]

เปิดตัว Raspberry Pi Pico 2 พร้อมชิปไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2350 ที่ใช้ซีพียู RISC-V หรือ Arm Cortex-M33 แบบ Dual-core

Raspberry Pi Pico 2

Raspberry Pi Pico 2 เป็นบอร์ดพัฒนา MCU ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ใหม่ Raspberry Pi RP2350 ซึ่งมีคอร์ RISC-V แบบ dual-core หรือ Cortex-M33 แบบ dual-core พร้อม SRAM บนชิปขนาด 520 KB, flash ขนาด 4MB, พอร์ต micro USB สำหรับการจ่ายไฟและโปรแกรม และมีขา GPIO headers เหมือนกับบอร์ด Raspberry Pi Pico ที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ RP2040 dual-core Cortex-M0+ พร้อม SRAM ขนาด 264KB RP2350 มีทั้งซีพียู Hazard3 RISC-V  แบบ dual-core ที่เป็น open-source  และ Cortex-M33 แบบ dual-core, แต่สามารถใช้ได้เพียงหนึ่งคลัสเตอร์ในแต่ละครั้ง นอกจากการมีคอร์ MCU ที่เร็วขึ้นและ SRAM ที่มีความจุสูงขึ้นแล้ว RP2350 ยังคล้ายกับ RP2040 แต่มี PIO block เพิ่มอีกหนึ่ง รวมทั้งหมดเป็นสาม ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญคือความปลอดภัยในตัวเมื่อใช้คอร์ Arm Cortex-M33 ที่มี […]