Radxa Cubie A5E เป็นบอร์ด SBC ที่ใช้ชิป SoC Allwinner A527/T527 โปรเซสเซอร์ Arm Cortex-A55 แบบ Octa-core มาพร้อมกับฟีเจอร์หลากหลาย เช่น HDMI 2.0, พอร์ต Ethernet ความเร็ว 1Gbps คู่, WiFi 6, Bluetooth 5.4, สล็อต M.2 สำหรับ NVMe SSD, พอร์ต USB 3.0 Type-A และ USB 2.0 OTG (Type-C) รวมถึง GPIO แบบ 40 พิน ทั้งหมดนี้ถูกบรรจุในฟอร์มแฟคเตอร์ขนาดเล็กเพียง 69×56 มม. ผู้อ่านที่ติดตามเรามานานอาจจะจำได้ว่า Cubieboard ที่ใช้ชิป Allwinner A10 ได้เปิดตัวในปี 2012 ซึ่งเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่หาซื้อ Raspberry Pi บอร์ดพัฒนาได้ยากในเวลานั้น หรือแม้กระทั่งกล่องทีวีต่าง ๆ MeLE A1000 ที่เคยใช้ทดลองรัน Linux บนฮาร์ดแวร์ Arm ในยุคนั้น ชิป Allwinner เป็นที่นิยมในบอร์ด SBC แต่ภายหลังการบริหารของบริษัทล้มเหลวในด้านซอฟต์แวร์ ทำให้สมาชิก […]
โมดูล LattePanda Mu ที่ใช้ชิป SoC Intel Core i3-N305 octa-core มีวางจำหน่ายแล้ว
เมื่อปีที่แล้วมีการเปิดตัวโมดูล (SoM) LattePanda Mu ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Intel Processor N100 และตอนนี้มีตัวเลือกใหม่ที่มาพร้อมโปรเซสเซอร์ Intel Core i3-N305 Octa-core ซึ่งให้ประสิทธิภาพที่สูงขึ้นทั้งในด้านการทำงานแบบ Single-core และ Multi-core รวมถึการเร่งประสิทธิภาพกราฟิก 3D ที่เร็วขึ้นอีกด้วย อินเทอร์เฟสทั้งหมดยังคงเหมือนเดิม ซึ่งมีคอนเนกเตอร์แบบ SO-DIMM edge connector 260 ขา รวมถึง PCIe Gen3 สูงสุด 9 เลน, SATA สองช่อง, eDP, HDMI และ DisplayPort, อินเทอร์เฟซ USB 12 พอร์ต และอื่น ๆ อีกมากมาย LattePanda Mu ที่เปิดตัวครั้งแรกมาพร้อม RAM ขนาด 8GB แต่ในตอนนี้ทั้งรุ่น N100 และ Core i3-N305 มีตัวเลือกหน่วยความจำ LPDDR5 IBECC สูงสุดถึง 16GB ในขณะที่ความจุ eMMC Flash ยังคงเป็น 64GB สำหรับทุกรุ่น สเปคของ LattePanda Mu: S […]
MNT Reform Next : แล็ปท็อปแบบโมดูลาร์ขนาด 12.5 นิ้วที่ใช้ RK3588 และเป็นโอเพ่นซอร์ส
MNT Reform Next เป็นแล็ปท็อปแบบโมดูลาร์ที่ใช้โปรเซสเซอร์ Rockchip RK3588 เป็นฮาร์ดแวร์แบบโอเพนซอร์สเหมือนรุ่น MNT Reform รุ่นก่อนหน้า และมาพร้อมการออกแบบที่เบากว่าและเป็นโมดูลาร์มากขึ้น รวมถึงใช้โปรเซสเซอร์ที่เร็วขึ้น MNT Reform Next มีการออกแบบฮาร์ดแวร์ที่แยกส่วนของพอร์ตเชื่อมต่อออกเช่น พอร์ต USB, HDMI, Ethernet จากเมนบอร์ดหลัก ช่วยให้มีความยืดหยุ่นในการปรับแต่งและแก้ไขมากกว่ารุ่นก่อนหน้า โดยโมดูลโปรเซสเซอร์มาตรฐาน (RCORE) สามารถเปลี่ยนเป็นโมดูลอื่น ๆ ได้ เช่น Raspberry Pi CM4, NXP i.MX 8M Plus, NXP LayerScape 1028A และ AMD Kintex-7 FPGA ซึ่งคล้ายกับ classic MNT Reform และ MNT Pocket Reform ตัวเครื่องของ Reform Next ผลิตจากอะลูมิเนียมอโนไดซ์ที่ผ่านการพ่นทรายแบบละเอียด นอกจากจะสามารถซ่อมแซมและปรับแต่งได้แล้ว แล […]
Murata Type 2FR : โมดูล IoT แบบ tri-radio ที่เล็กที่สุดในโลก รองรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi 6, Bluetooth 5.4 และ Thread
Murata ได้เปิดตัวโมดูล IoT แบบสามคลื่นวิทยุ (tri-radio) ที่เล็กที่สุดในโลก ได้แก่ซีรีส์ Type 2FR/2FP และซีรีส์ Type 2KL/2LL สำหรับโซลูชันที่มีโฮสต์ โมดูลขนาดกะทัดรัดรองรับการสื่อสารแบบสามคลื่นวิทยุ ได้แก่ Wi-Fi 6, Bluetooth 5.4 และ Thread พร้อมการรองรับ Matter เพื่อความเข้ากันได้ในการทำงานร่วมกัน, ซีรีส์ Type 2FR/2FP ถือเป็นโมดูลที่เล็กที่สุดในโลก (ขนาด 12.0 x 11.0 x 1.5 มม.) พร้อมไมโครคอนโทรลเลอร์ในตัว เหมาะสำหรับโซลูชันที่มีต้นทุนต่ำและการรวมระบบสูง นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับความปลอดภัยตามมาตรฐานทางไซเบอร์ล่าสุด และรองรับการทำงานร่วมกับระบบ Matter ในขณะเดียวกันซีรีส์ Type 2KL/2LL ได้รับการออกแบบมาเพื่อทำงานร่วมกับโปรเซสเซอร์ประสิทธิภาพสูงที่ใช้ Linux หรือ RTOS โดยโมดูลเหล่านี้ให้การสื่อสารแบบสามวิทยุที่เชื่อ […]
บอร์ด Luckfox Lyra ที่ใช้ SoC Rockchip RK3506G2 แบบ Triple-core พร้อมอินเทอร์เฟสจอแสดงผล, ตัวเลือกพอร์ต Ethernet
บอร์ด Luckfox Lyra ที่ใช้ SoC Rockchip RK3506G2 ซึ่งมีซีพียู Arm Cortex-A7 สามคอร์ พร้อม Cortex-M0 หนึ่งคอร์สำหรับงานเรียลไทม์ มีหน่วยความจำ DDR3 ขนาด 128MB บนชิป อินเทอร์เฟสจอแสดงผล MIPI DSI และใช้เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิต 22 nm (นาโนเมตร) โดยมีสามรุ่น ได้แก่ Luckfox Lyra, Lyra B (พร้อม flash 256MB) และ Luckfox Lyra Plus ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกัน แต่รุ่น Plus มีขนาดยาวกว่าจะเพิ่มคอนเนคเตอร์ Ethernet RJ45 ความเร็ว 10/100Mbps และหน่วยความจำ flash แบบ SPI NAND ขนาด 256MB นี่เป็นบอร์ดแรกของ Luckfox ที่ใช้โปรเซสเซอร์ RK3506G2 โดยมาพร้อมการเชื่อมต่อ Ethernet และอินเทอร์เฟสจอแสดงผล แต่ไม่ใช่บอร์ด Arm Linux รุ่นแรกจากบริษัทที่มี Ethernet และอินเทอร์เฟสจอแสดงผล เราเคยกล่าวถึง Luckfox Pico Ultra เป็นบอร์ดพัฒนาไมโคร Linux […]
I-Pi SMARC Amston Lake ชุดพัฒนาที่ใช้ SoC Intel Atom x7433RE, LPDDR5 8GB, GPIO headers ของ Raspberry Pi สองชุด
I-Pi SMARC Amston Lake ของ ADLINK เป็นชุดพัฒนาแบบไม่มีพัดลม (fanless) ที่ใช้โมดูล (system-on-module) SMARC 2.1 พร้อม SoC Intel Atom X7433RE แบบ Quad-core, หน่วยความจำ LPDRR5 8GB และ eMMC flash สูงสุด 256GB และยังมี carrier board ที่มาพร้อม 2.5GbE แบบคู่พร้อม TSN, GPIO headers ที่รองรับ Raspberry Pi จำนวน 2 ชุด, และอินเทอร์เฟสอื่น ๆ มากมาย ประกอบด้วยอินเทอร์เฟสการแสดงผล: 4-lane MIPI DSI, HDMI, eDP, และ dual-channel LVDS, อินเทอร์เฟสกล้อง MIPI CSI 2 ช่อง, เสียง: ช่องเสียบหูฟังขนาด 3.5 มม., USB: พอร์ต USB Type-A จำนวน 4 พอร์ต, การขยาย: สล็อต PCIe M.2 จำนวน 3 สล็อต สำหรับที่เก็บข้อมูล, การเชื่อมต่อไร้สาย, และการเชื่อมต่อเซลลูลาร์ สเปคของชุดพัฒนา I-Pi SMARC Amston Lake: โมดูล LEC-ASL SMARC 2.1 Amston Lake SoC – โปรเ […]
Rockchip RK3588 กับการรองรับ Mainline Linux – สถานะปัจจุบันและอนาคตสำหรับปี 2025
Rockchip RK3588 เป็นหนึ่งในชิป Arm SoC ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับคอมพิวเตอร์บอร์ดเดียว (SBC) และแม้ว่าจะมีความคืบหน้าที่ดีในด้านการรองรับ u-boot และ Linux mainline แต่ชิป SoC นี้มีความซับซ้อนสูง ทำให้ต้องใช้เวลานานในการพัฒนาและปรับปรุง แม้ว่า SoC จะเปิดตัวครั้งแรกในปี 2020 และ SBC ที่ใช้ Rockchip RK3588 SBC เปิดตัวครั้งแรกในปี 2022 ในขณะที่ชิป SoC Rockchip RK3566 และ RK3568 จะใช้ง่ายกว่าเพราะมีการรองรับ Mainline Linux ที่ค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว แต่สำหรับ RK3588 ยังต้องการการพัฒนามากขึ้นโดยเฉพาะการ upstream code และตามที่ได้กล่าวถึงก่อนหน้านี้ในโพสต์และความคิดเห็นต่าง ๆ โดย Collabora ได้ติดตามสถานะการพัฒนาผ่าน Gitlab และบริษัทเพิ่งเผยแพร่บทความเกี่ยวกับความคืบหน้าและแผนงานในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับการรองรับ Linux […]
บอร์ด STM32MP135 Pico-ITX SBC ใช้โมดูลซีพียูของ EBYTE ขนาด 38×32 มม. พร้อม RAM 512MB และ NAND flash 512MB
EBYTE ECB10-135A5M5M-I เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดียว (SBC) แบบ pico-ITX ที่ใช้โมดูลซีพียูขนาดเล็ก STM32MP135 Arm Cortex-A7 ของบริษัท EBYTE มาพร้อมกับหน่วยความจำ DDR3L ขนาด 512MB, NAND Flash ขนาด 512MB, Gigabit Ethernet PHY, และวงจรจ่ายไฟในตัว บอร์ด SBC เกรดอุตสาหกรรมมาพร้อมกับพอร์ต RGB และ HDMI 2.0 รองรับความละเอียดสูงสุด 1366×768, แจ็คเสียง 3.5 มม. Line in และ Line out, คอนเนกเตอร์ USB หลายจุดและพอร์ตขยาย “UIO” สองชุดรองรับ RS485, RS485, CAN Bus, GPIO และขา I/O อื่นๆ คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้บอร์ดเหมาะสำหรับการใช้งานในระบบอัตโนมัติในอุตสาหกรรม เมืองอัจฉริยะ (Smart Cities) เทอร์มินัลสำหรับแสดงผลและควบคุม รวมถึงการใช้งานในงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ สเปคของ EBYTE ECB10-135A5M5M-I: โมดูลหลัก EBYTE ECK10-135A5M5M-I C […]