Tachyon : บอร์ด SBC มีขนาดเท่าบัตรเครดิตที่ใช้ Qualcomm QCM6490 Arm AI SoC พร้อมการเชื่อมต่อ 5G และ WiFi 6

Tachyon Qualcomm QCS6490 SBC

Particle Tachyon เป็นบอร์ด SBC ที่มีขนาดบัตรเครดิตออกแบบมาสำหรับโครงการ AIoT โดยใช้ชิป Qualcomm QCM6490 Octa-core Cortex-A78/A55 SoC ที่มีประสิทธิภาพ AI 12 TOPS, RAM 4GB, UFS storage 64GB และรองรับการเชื่อมต่อเซลลูล่าร์ 5G และ WiFi 6 Tachyon ได้รวมอินเทอร์เฟส MIPI DSI และ CSI สำหรับการเชื่อมต่อจอแสดงผล/กล้อง, พอร์ต USB-C สองพอร์ต รวมถึงพอร์ตหนึ่งที่รองรับ DisplayPort Alt mode และยังใช้ฟีเจอร์บางส่วนของ Raspberry Pi 5 ด้วย ด้วย GPIO header 40-pin สำหรับบอร์ดขยาย HAT และ PCIe FFC 20-pin สำหรับการเพิ่ม PCIe สเปคของ Tachyon: ชิปประมวลผล Qualcomm QCM6490 1x Gold Plus core (Cortex-A78) @ 2.7 GHz, 3x Gold cores (Cortex-A78) @ 2.4 GHz, 4x Silver cores (Cortex-A55) @ สูงสุด 1.9 GHz GPU – Adreno 643L GPU @ 812 MHz รองรับ […]

รีวิว LattePanda Mu : Compute Module x86 ที่ใช้ซีพียู Intel N100 พร้อมทดสอบประสิทธิภาพบน Ubuntu 24.04

LattePanda mu ubuntu benchmark review

หลังจากที่เราได้แกะกล่องและทดสอบ LattePanda Mu พร้อมอุปกรณ์เสริมไปแล้วบน Windows ซึ่งได้ทดสอบการใช้งาน Lite Carrier Board และ Full-Function Evaluation ไปแล้วในรีวิวแกะกล่องและทดสอบการใช้งานบน Windows นั้น ในรีวิวนี้เราจะมาทดสอบใช้งาน LattePanda Mu บนระบบปฎิบัติการ Ubuntu 24.04 กัน โดยทำการทดสอบมาตรฐานเช่นเดียวกันกับบอร์ดอื่น ๆ คือ การตรวจสอบข้อมูลระบบเบื้องต้น การทดสอบ Benchmark CPU Disk Peripherals Network การทดสอบการใช้งานเว็บและมัลติมีเดียร์ การตรวจสอบการใช้พลังงาน และเนื่องจาก LattePanda Mu เป็นสถาปัตยกรรม X64 ทำให้เราสามารถสร้าง boot disk เพื่อทำการติดตั้ง Ubuntu 24.04 ได้เหมือนการติดตั้งทั่วไปเลย โดยหลังจากติดตั้งเสร็จแล้ว เราจะมาตรวจสอบข้อมูลระบบเบื้องต้นกันในหัวข้อด้านล่าง ข้อมูลระบบเบื้องต้น [crayon-67 […]

Radxa ROCK 5B+ SBC รุ่นอัปเกรดที่มาพร้อมหน่วยความจำ LPDDR5, eMMC flash, WiFi 6, ซ็อกเก็ต M.2 M-Key สองช่อง, รองรับ 4G LTE/5G และอื่นๆ

Radxa ROCK 5B Plus

Radxa ROCK 5B+ (“ROCK 5B Plus”) เป็นรุ่นอัปเกรดของ บอร์ด ROCK 5B Pico-ITX SBC ยอดนิยมที่ใช้ Rockchip RK3588 โดยใช้ฟอร์มแฟกเตอร์เดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง เช่น เปลี่ยนจาก LPDDR4x เป็น LPDDR5, มี eMMC flash ในตัวที่เป็นตัวเลือก และโมดูล WiFi 6 และ Bluetooth 5.2 บนบอร์ดแทนการเชื่อมต่อผ่าน M.2 Key-E การเปลี่ยนแปลงอื่นๆ ได้แก่ เปลี่ยนจากซ็อกเก็ต M.2 Key-M PCIe Gen 3 x4 เป็นซ็อกเก็ต M.2 Key-M PCIe Gen3 x2 จำนวน 2 ช่อง, การเพิ่มช่องใส่ซิมการ์ดและซ็อกเก็ต M.2 Key-B สำหรับการเชื่อมต่อเซลลูลาร์ 4G LTE หรือ 5G, การเพิ่มพอร์ต USB-C สำหรับจ่ายไฟเท่านั้น (เดิมถูกใช้ร่วมกับ USB-C Display Port ใน ROCK 5B) และอินพุต HDMI ใช้พอร์ต HDMI ขนาดเต็มแทนพอร์ต micro HDMI และเปลี่ยนแปลงเล็กๆ น้อยๆ อื่นๆ สามารถดูได้จากข้อมูลสเปคด้า […]

iBASE IB961 : บอร์ด SBC ขนาด 3.5 นิ้วที่ใช้ซีพียู 13th Gen Intel Core, พอร์ต LAN 2.5GbE คู่, ซ็อกเก็ต M.2 3 ช่อง

iBASE IB961 SBC

BASE IB961 จาก FORTEC Integrated (หรือ Distec) เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว (SBC) ขนาด 3.5 นิ้วที่ใช้ซีพียู 13th Gen Intel Core บอร์ดนี้รองรับหน่วยความจำ DDR5-5200 non-ECC สูงสุด 32GB ผ่านซ็อกเก็ต SO-DIMM 1x และมีพอร์ต DisplayPort (1.2), eDP และ LVDS รวมถึง Ethernet แบบ 2.5GbE แบบคู่สำหรับการเชื่อมต่อ นอกจากนี้บอร์ด SBC ยังมีสล็อต M.2 จำนวน 3 ช่อง (M-Key, E-Key, B-Key) สำหรับการขยายที่เก็บข้อมูลและการสื่อสารเซลลูลาร์ 5G คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้บอร์ดนี้เหมาะสำหรับการใช้งานในด้านต่างๆ เช่น ระบบอัตโนมัติ (Automation), edge computing, การขนส่ง, การโฆษณาดิจิทัล, และตู้บริการ kiosk/ATM iBASE เป็นที่รู้จักดีในเรื่องของบอร์ด SBC และมินิพีซี และเราเคยเขียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของบริษัท เช่น IBASE ISR500 fanless Edge AI compute […]

tinySniffer อุปกรณ์ USB sniffer ที่ใช้ NanoPi NEO Air SBC โดยเชื่อมต่อผ่าน WiFi

tinySniffer USB capture device

TinySniffer เป็นอุปกรณ์ USB sniffer (ใช้ดักจับข้อมูล) ที่ใช้ NanoPi Neo Air SBC พร้อม Allwinner H3 ออกแบบมาเพื่อดักจับแพ็คเก็ต USB 1.x และ 2.0 จากระยะไกล และข้อมูลที่ดักจับได้สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องมือวิเคราะห์แพ็กเก็ตยอดนิยมอย่าง Wireshark ได้ ปัจจุบัน Wireshark สามารถใช้ดักจับแพ็คเก็ต USB ได้เองอยู่แล้ว และเราเคยทำวิศวกรรมย้อนรอย (Reverse Engineering) เพื่อสร้างโซลูชันการจับภาพ USB แบบวิดีโอด้วยวิธีนี้ในอดีต แต่วิธีนี้มีข้อจำกัดบางประการ เช่น ไม่สามารถดักจับแพ็กเก็ต USB ระดับต่ำบางรายการได้ ในกรณีนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องมือฮาร์ดแวร์ USB sniffer เช่น Total Phase Beagle USB , PhyWhisperer USB หรือ tinySniffer พอร์ต micro USB OTG ของ NanoPi NEO Air SBC เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์โฮสต์และบริษัทได้เพิ่มพอร์ต USB 2.0 […]

บอร์ด SBC และเกตเวย์ IoT อุตสาหกรรมที่ใฃ้ Texas Instruments AM6232/AM6254 มีจำหน่าย 20 ปี

AAEON PICO TI AM62x Sitara PIco ITX SBC

AAEON  เปิดตัว PICO-AM62 เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดียว (SBC) และ SRG-AM62 เป็น เกตเวย์ IoT อุตสาหกรรม ที่ใช้ Texas Instruments AM6232 หรือ AM6254 Sitara Arm Cortex-A53/M4 SoC ออกแบบมาสำหรับทำงานภายในช่วงอุณหภูมิ -40°C ถึง 85°C และมีจำหน่าย 20 ปี เกตเวย์ SRG-AM62 เพียงแค่บรรจุบอร์ด PICO-AM62 pico-ITX SBC ไว้ในเคสโลหะ ทั้งสองรุ่นมีพอร์ต gigabit Ethernet คู่, พอร์ต HDMI 1.4 และ USB 2.0 สองพอร์ต รวมถึงอินเทอร์เฟสการสื่อสาร เช่น RS-232/422/485 และ CAN Bus ระบบได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรม รองรับช่วงแรงดันไฟฟ้าอินพุตกว้างตั้งแต่ 9V ถึง 36V สเปคของบอร์ด PICO-AM62 SBC และเกตเวย์ SRG-AM62: SoC – Texas Instruments AM623x (สามารถเลือกได้) AM6232 Sitara พร้อมโปรเซสเซอร์ Arm Cortex-A53 แบบ dual-core ที่ความเร็วสู […]

Radxa X4 : บอร์ด SBC ขนาดเท่าบัตรเครดิต ที่ใช้ Intel N100 ราคาเริ่มต้นที่ 2,200 บาท

Radxa X4 x86 Raspberry Pi 5 SBC

Radxa X4 เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว (SBC) มีขนาดเท่าบัตรเครดิต ที่ใช้ Intel Processor N100 ที่มีราคาใกล้เคียงกับ Raspberry Pi 5 โดยรุ่น RAM 4GB มีราคาประมาณ $60(~2,200฿)  และรุ่น RAM 8GB มีราคาประมาณ $80(~3,000฿) บอร์ด SBC x86 มีคุณสมบัติหลายอย่างเหมือน Raspberry Pi 5 เช่นเอาต์พุต micro HDMI สองพอร์ต, พอร์ต USB 3.2/2.0 สี่พอร์ต, การเชื่อมต่อเครือข่ายEthernet และ WiFi, และGPIO header 40-pin ที่จัดการผ่านไมโครคอนโทรลเลอร์ Raspberry Pi RP2040 การเชื่อมต่อเครือข่ายดีกว่าด้วย 2.5GbE และ WiFi 6, รองรับ M.2 SSD ซึ่งมีความเร็วเร็วกว่าการใช้ PCIe HAT ของ Pi 5 ถึงสี่ถึงแปดเท่า และพอร์ต USB 3.2 มีความเร็วสูงสุดถึง 10 Gbps แต่ข้อเสียหลักคือไม่มีพอร์ต MIPI CSI และ DSI ซึ่งอาจจำเป็นสำหรับโปรเจกต์ที่ต้องการเชื่อมต่อกล้องและจอ […]

เปิดตัว Linux 6.10 พร้อมเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของสถาปัตยกรรม Arm, RISC-V และ MIPS

Linux 6.10 Release Changelog

Linux Torvalds ได้ประกาศเปิดตัว Linux 6.10 บน LKML (Linux kernel mailing list), เมื่อประมาณ 2 เดือนทีผ่านมาได้เปิดตัว Linux 6.9 โดยเพิ่มการรองรับ Intel Flexible Return and Event Delivery (FRED), การรองรับการรัน AMD Secure Nested Paging (SNP) guests, การแก้ไขปัญหา “Register File Data Sampling” (RFDS) ซึ่งเป็นช่องโหว่ทางฮาร์ดแวร์ที่มีผลกระทบกับ Intel Atom CPUs, ฟีเจอร์ named address spaces ของ GCC เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูล per-CPU, และการรองรับเบื้องต้นสำหรับ FUSE passthrough รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน Linux 6.10 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญบางส่วนใน Linux 6.10: การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่าย – เพิ่มประสิทธิภาพการส่งแบบ zero-copy โดยใช้ io_uring และการรวมหล […]