Home Assistant เป็นระบบ Home Automation ซอฟท์แวร์แบบ Open-source ฟรี ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมอุปกรณ์ IoT หรือ Smart Home ภายในบ้านหรืออาคาร (Home Automation) ได้รับการยอมรับและได้รับความนิยมใช้งานทั่วโลก โดยไม่ใช้ระบบ CloudServer ของผู้ผลิตแต่ละราย ซึ่งมักจะเป็นเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ในต่างประเทศ แต่ใช้จะเซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ภายใน (Local server) ทำให้มีความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัย ยังทำงานได้แม้ไม่มีอินเทอร์เน็ต เช่น สวิทช์อัจฉริยะ, ปลั๊กอัจฉริยะ, หลอดไฟอัจฉริยะ, กล้องวงจรปิด และติดตามสถานะของอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งสามารถใช้กับบ้านอัจฉริยะได้ รวมถึงสามารถใช้เข้าถึงข้อมูลและควบคุมผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์หรือเดสก์ท็อปได้
Home Assistant มีฟีเจอร์สั่งงานด้วยเสียงสามารถรองรับบริการ Google Assistant หรือ Amazon Alexa, แบรนด์ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้อย่างเช่น Ikea, Sonos, Philips Hue รวมถึงการใช้ Protocol ร่วมกันอย่าง Z-wave, Zigbee และ MQTT
Home Assistant ทำงานอย่างไร
Home Assistant จะถูกติดตั้งไว้ในคอมพิวเตอร์ในระบบอื่นๆ ภายในบ้านหรืออาคาร การสั่งงานจากผู้ใช้โปรแกรมจึงจะถูกส่งเข้าไปยัง Home Assistant โดยไม่ต้องผ่าน Cloud Server ทำให้ระบบทำงานได้อย่างรวดเร็วกว่าและมีปลอดภัยสูง ซึ่งซอฟท์แวร์ Home Automation อื่นๆ มักใช้ระบบ Cloud Server ซึ่งถ้าหากอินเตอร์เนตขัดข้อง เราจะไม่สามารถสังการปิดเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ได้ เราจะต้องรอจนกระทั่งอินเตอร์เนตสามารถใช้งานได้ตามปกติ จึงจะสามารถสั่งงานอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ต่อไปได้ แต่ Home Assistant ไม่ได้ใช้ระบบ Cloud Server จึงยังสามารถทำงานต่อไปได้ โดยสั่งงานผ่าน Local IP Address ถึงแม้ว่าอินเตอร์เนตจะขัดข้องก็ตาม Home Assistant สามารถใช้งานกับ Ethernet, Zigbee, Wi-Fi, Bluetooth และเซนเซอร์ต่างๆ
การติดตั้ง Home Assistant
- การติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ (OS) Home Assistant : HASS เป็นระบบปฎิบัติการทำขึ้นมาเพื่อใช้กับ Home Assistant โดยเฉพาะ เหมาะสำหรับการลงในคอมพิวเตอร์ เป็นวิธีที่ง่าย
- Home Assistant Container การติดตั้งแบบ Standalone ของ Home Assistant Core สำหรับการติดตั้งลงบนระบบปฏิบัติการอื่น เช่น การลงบน Docker เป็นวิธีมีความวุ่นวายมาก โดยเฉพาะผู้ที่ไม่เคยใช้ Docker แต่มันก็มีข้อดีของการลงแบบ Container คือเราสามารถสร้างมากี่ container ก็ได้ และสามารถลบได้เหมาะสำหรับนักพัฒนา
- Home Assistant Supervised เหมาะสำหรับบางอุปกรณ์บางชิ้นที่มีระบบปฏิบัติการ Linux ระบบปฏิบัติ OS ที่ต้องลงเอง เหมาะสำหรับผู้มีประสบการณ์
- Home Assistant Core การติดตั้งด้วยตนเอง ไม่ต้องมีการติดตั้ง Docker โดยใ่ช้คำสั่ง Python เหมาะสำหรับผู้มีประสบการณ์
โดยสามารถดาวน์โหลดไฟล์ติดตั้งสำหรับระบบปฏิบัติการที่ใช้งานที่รองรับ เช่น Raspberry Pi, ODROID, Asus Tinkerboard, Windows, MacOS, Linux และทางเลือกอื่นๆ
การเปรียบเทียบการติดตั้ง ฟังก์ชั่นที่สามารถใช้งานได้ทั้งหมดจะเป็นการเชื่อมต่ออุปกรอัตโนมัติ (Automation) สามารถรองรับได้ทั้งหมด, Dashboards หน้าจอการแสดงผลต่างๆ, Integrations รองรับการบริการต่างๆ ได้หลายรายการหลายยี่ห้อ ส่วนฟังก์ชั่นการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน อย่างฟังก์ชั่นทั่วไป OS และ Supervised จะแตกต่างกันที่การจัดการของระบบปฏิบัติการ (Managed OS), ส่วน Container กับ Core ที่ทำไม่ได้จะเป็นเรื่อง Supervisor คือจะอัปเดตตัวเองไม่ได้, Add-ons ฟังก์ชั่นเสริมต่างๆ, และ Core ใช้ฟังชั่น Container ไม่ได้
ข้อดีของ Home Assistant
- ฟรี และเป็นซอฟท์แวร์ Opensource
- สามารถใช้งานข้ามยี่ห้อได้ ต่างระบบให้สามารถทำงานร่วมกันได้ โดยไม่ใช้คลาวด์ของผู้ผลิตแต่ละรายกว่า 1,000 ราย
- สามารถใช้ แอปพลิเคชั่น Home Assistant ตัวเดียวไม่ต้องใช้หลายแอปพลิเคชั่นของผู้ผลิตแต่ละราย
- สั่งงานอุปกรณ์ได้อย่างอิสระปรับแต่งได้ สามารถเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมบนระบบเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานในบ้าน
- มีความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว โดยใช้เซิร์ฟเวอร์ที่อยู่ภายใน (Local server)
- ทำงานได้แม้ไม่มีอินเทอร์เน็ต
- รองรับอุปกรณ์ได้มากกว่า
- รองรับอุปกรณ์ DIY
แต่ Home Assistant เป็นการเรียนรู้ที่ยากสำหรับผู้เริ่มต้น จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหา และการปฏิบัติการร่วมกับบริการจากบุคคลที่สามเป็นจำนวนจำกัดเมื่อเปรียบเทียบกับแพลตฟอร์มอื่น
บรรณาธิการข่าวและบทความภาษาไทย CNX Software ได้มีความสนใจในด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะ Smart Home และ IoT