BeagleV-Fire เป็นคอมพิวเตอร์บอร์ดเดี่ยว (SBC) รุ่นใหม่ที่ใช้ Microchip PolarFire MPFS025T penta-core RISC-V SoC FPGA และมี Form Factor เหมือนกับบอร์ด BeagleBone Black เพื่อให้เข้ากันได้กับบอร์ดขยาย BeagleBone capes
Microchip PolarFire RISC-V SoC FPGA เป็นหนึ่งใน RISC-V SoC ที่สามารถรันระบบปฏิบัติการ Linux ได้ และใช้ในบอร์ดราคาแพง เช่นบอร์ดพัฒนา Icicle และ TySOM-M-MPFS250 ฉันยังได้รับบอร์ด Icicle มาเพื่อทดสอบ และการเริ่มต้นใช้งาน Yocto Linux BSP สามารถทำได้ดี แต่ฉันก็เจอปัญหาอย่างมากกับส่วนของ FPGA รวมถึงการติดตั้ง Libero SoC ใน Ubuntu, บอร์ด BeagleV-Fire ที่ใช้ PolarFire มีราคาถูกกว่ามาก และคาดว่าจะช่วยให้เริ่มต้นกับทั้ง Linux และ FPGA Fabric ได้ง่ายขึ้นผ่านเอกสารประกอบและตัวอย่างโค้ดที่เข้าใจง่ายกว่า
สเปคของ BeagleFire-V:
- SoC – Microchip Polarfire MPFS250T FCVG484E SoC FPGA
- Penta-core RISC-V CPU
- Quad-core 64-bit RV64IMAFDC (RV64GC) application processor @ สูงสุด 667 MHz, 3.125 CoreMarks/MHz, 1.714 DMIPS/MHz
- 1x 64-bit RV64IMAC monitor core
- FPGA fabric
- 23K logic elements (4-input LUT + DFF)
- 68 Math blocks (18×18 MACC)
- 4 SerDes lanes of 12.7 Gbps
- Penta-core RISC-V CPU
- หน่วยความจำ – LPDDR4 2GB
- ที่จัดเก็บข้อมูล
- Kingston eMMC 16GB
- SPI flash 128Mbit
- ช่องเสียบ MicroSD card socket
- อินเทอร์เฟสกล้อง – คอนเกนเกตอร์ MIPI CSI camera 22 ขา
- ระบบเครือข่าย
- พอร์ต Gigabit Ethernet RJ45 ผ่าน Realtek RTL8211F
- (ตัวเลือก) WiFi ผ่านช่องเสียบ M.2 E-Key socket
- USB – 1x พอร์ต USB 2.0 Type-C (480Mbps) พร้อมการรองรับ dual-role และกำลังไฟเข้า
- การขยาย
- M.2 E-Key socket สำหรับ WiFi และโมดูล PCIe/SDIO อื่นๆ
- 2×46-pin BeagleBone Cape add-on headers พร้อมกับ ADC บนบอร์ด
- คอนเนกเตอร์ SYZYGY high-speed
- การดีบัก
- 6-pin 3.3V UART header
- JTAG TAG-CONNECT footprint
- อื่น ๆ
- ปุ่มรีเซ็ตและปุ่มผู้ใช้
- ไฟ LED สำหรับเปิด/ปิดเครื่อง, ไฟ LED ผู้ใช้
- การจ่ายไฟ
- 5V ผ่าน USB Type-C
- 5V ผ่าน 2-pole screw terminal
- ขนาด – 86.4 x 53.4 มม. (ขนาดเดียวกับ BeagleBone Black)
BeagleV-Fire มาพร้อมกับ Ubuntu ที่ติดตั้งแล้ว ดังนั้นสามารถเริ่มต้นใช้งานตั้งแต่แกะกล่องง่ายกว่าการใช้ Yocto Linux image, การแฟลช Linux imageเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนเพราะต้องเชื่อมต่อบอร์ดดีบัก USB-to-UART เพื่อเข้าถึง serial console, สลับบอร์ดเป็นโหมดที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ จากนั้นแฟลช image (sdcard.img) โดยใช้ BalenaEtcher หรือเครื่องมืออื่นๆ การเขียนโปรแกรม FPGA ยังใช้ Libero SoC และยังต้องการให้ผู้ใช้ได้รับ Libero Silver license ฟรี เอกสารอยู่ระหว่างดำเนินการมีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบอร์ดและคำแนะนำพื้นฐานในการเริ่มต้น แต่ยังไม่มีการสาธิต สามารถพบไฟล์การออกแบบฮาร์ดแวร์, ตัวชุดเครื่องมือ RISC-V, Ubuntu image build script และแหล่งข้อมูลอื่นๆ บนเซิร์ฟเวอร์ของ GitLab ของ BeagleBoard
ขณะนี้ BeagleBoard.org มีบอร์ด RISC-V จำนวน 2 บอร์ดได้แก่ BeagleV-Ahead มาพร้อมกับ Linux และฟังก์ชัน AI และ BeagleV-Fire มาพร้อมกับ Linux และ FPGA fabric, บอร์ด BeagleV-Fire รุ่นใหม่มีจำหน่ายแล้วในราคาเริ่มต้นที่ $149(~5,300฿) จากตัวแทนจำหน่ายต่าง เช่น Mouser, Digikey และ OKdo/RS Components และอื่นๆ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมบนเพจสินค้า
แปลจากบทความภาษาอังกฤษ : $150 BeagleV-Fire SBC features Microchip PolarFire RISC-V SoC FPGA, support BeagleBone capes
บรรณาธิการข่าวและบทความภาษาไทย CNX Software ได้มีความสนใจในด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะ Smart Home และ IoT