รีวิว Raspberry Pi 5 – Part 2: Raspberry Pi OS Bookworm, การทดสอบประสิทธิภาพ benchmarks การใช้พลังงาน และอื่นๆ

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาเราได้แกะกล่องชุด Raspberry Pi 5 ดูชุดอุปกรณ์และทดสอบการบูตด้วย Raspberry Pi OS bookworm ตอนนี้เราจะทำการทดสอบเพิ่มเติมเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพด้วย Benchmarks และตรวจสอบคุณสมบัติต่างๆ บน Raspberry Pi 5 พร้อมทั้งเปรียบเทียบ Raspberry Pi 5 กับ Raspberry Pi 4 และบอร์ด Arm Linux SBC อื่นๆ

ข้อมูลระบบใน Raspberry Pi OS Bookworm

เราได้ติดตั้ง Raspberry Pi 5 ในเคสของมันเรียบร้อยแล้ว แต่สำหรับการทดสอบส่วนใหญ่จะกลับไปใช้บอร์ดเปลือยที่ติดตั้งระบบระบายความร้อนแบบแอคทีฟ เพราะเป็นตัวเลือกการระบายความร้อนที่ดีที่สุด ตามที่เราจะเห็นต่อไปในรีวิว

Raspberry Pi 5 Review Raspberry Pi OS Bookworm

ก่อนอื่นเรามาตรวจสอบข้อมูลระบบ:


Raspberry Pi 5รัน Debian 12 พร้อม Linux 6.1 ตามที่คาดไว้ และโปรเซสเซอร์ Broadcom BCM2712 (ยังคงแสดงเป็น BCM2835 เช่นเดียวกับในบอร์ด RPi ทั้งหมด) มาพร้อมกับคอร์ Cortex-A76 สี่คอร์


inxi utility ยืนยันว่าบอร์ดมาพร้อมกับ RAM 8GB, ความถี่ 2.4 GHz ที่ประกาศในCPU BCM2712 และแสดงรายการวงจร peripherals ที่มีพอร์ต HDMI 2 พอร์ต, Ethernet , WiFi และ Bluetooth และยังเห็น Wayland และ PipeWire ที่ใช้ใน Raspberry ในขณะนี้ Pi OS ตามที่ได้ประกาศระหว่างการเปิดตัวระบบปฏิบัติการเวอร์ชัน Bookworm, ความจุของ microSD card รายงานถูกต้องที่ประมาณ 32GB และจะเห็นว่ามีการใช้ 100MB ของความจุนั้นใช้สำหรับ swap นอกจากนี้ยังมีการอ้างอิงถึงชิป Raspberry Pi RP1 ในส่วนของเครือข่าย แม้ว่าจะเหมือนกันกับไดรเวอร์

ถ้าใครสนใจ เรายังได้บันทึก Raspberry Pi 5 Linux boot log ไว้ด้วย

Raspberry Pi 5 Benchmarks

มาเริ่มการวัดประสิทธิภาพ Benchmarks ของ Raspberry Pi 5 ด้วย  Thomas sbc-bench.sh script:


ไม่มี CPU throttling และอุณหภูมิจะไม่เกิน 66.1°C เมื่อใช้ระบบทำความเย็นแบบแอคทีฟในห้องที่มีอุณหภูมิประมาณ 28°C

มาเปรียบเทียบเปรียบเทียบผลลัพธ์ของ แบนด์วิดท์หน่วยความจำ และ 7-zip กับ Raspberry Pi 4 และ SBC อื่นๆ เช่น Khadas VIM4 (Amlogic A311D2), ODROID-N2+ (Amlogic S922X), Radxa Rock 5B (Rockchip RK3588) และอื่นๆ

Raspberry Pi 5 memory bandwidth 7zip vs Rockchip RK3588 Amlogic A311D
ผลลัพธ์ค่าสูงแสดงว่าดีกว่า

แบนด์วิดท์หน่วยความจำของ Raspberry Pi 5 สูงกว่า Raspberry Pi 4 มาก แต่เมื่อดูผลลัพธ์ของ memcpy และ memset แล้ว Rockchip RK3588 ได้คะแนนสูงสุด และยังมีประสิทธิภาพเหนือกว่า Raspberry Pi 5 ใน 7-zip benchmarks จากคอร์จำนวนมากขึ้น (Rockchip RK3588 มาพร้อมกับ 4x Cortex-A76 cores, 4x Cortex-A55 cores) ประสิทธิภาพ 7-zip ของ Raspberry Pi 5 นั้นใกล้เคียงกับ Khadas VIM4 และ ODROID-N2+ SBCs และประสิทธิภาพมากกว่า Raspberry Pi 4 ประมาณสองเท่า

Raspberry Pi 5 AES 256 performance

Broadcom BCM2712 เป็นโปรเซสเซอร์ตัวแรกที่ใช้ในบอร์ด Raspberry Pi ที่มาพร้อมกับส่วนขยาย Armv8 Crypto และแสดงในการวัดประสิทธิภาพ AES-256 benchmarks ผลลัพธ์คือ Raspberry Pi 5 เร็วกว่า Raspberry Pi 4 ถึง 21 เท่า

ต่อไปเป็นการวัดประสิทธิภาพการท่องเว็บเบราว์เซอร์ โดยเฉพาะ Raspberry Pi OS Bookworm ที่ได้เปิดตัว Firefox เวอร์ชันปรับปรุง และเบราว์เซอร์ Chromium ตามปกติ

โดยเราจะใช้ Speedometer 2.0 ตรวจสอบประสิทธิภาพใน Chromium…

Raspberry Pi 5 Chromium Speedometer 2.0

… และใน Firefox

Raspberry Pi 5 Firefox Speedometer 2.0

Speedometer 2.0 แสดงให้เห็นว่า Firefox จะช้ากว่า Chromium โดยที่ Chromium ได้คะแนน 63.5 ต่อนาทีเทียบกับ Firefox ได้ 56.6, แผนภูมิด้านล่างเปรียบเทียบประสิทธิภาพดังกล่าวกับ Khadas VIM4 ที่ใช้ Amlogic A311D2 (35.6 คะแนน), Khadas VIM3 ที่ใช้ Amlogic A311D ( 25.6 คะแนน), Khadas Edge2 Pro ที่ใช้ Rockchip RK3588S และ Raspberry Pi 4 โอเวอร์คล็อกที่ 2.0 GHz (21 คะแนน)

Raspberry Pi 5 vs Rockchip Amlogic SBCs Speedometer 2.0

หมายเหตุการเข้าเว็บเบราว์เซอร์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยมีการเพิ่มประสิทธิภาพของแต่ละรุ่น แต่เราไม่ได้ทำการทดสอบใหม่บนแพลตฟอร์มของแต่ละรุ่นเนื่องจากข้อจำกัดด้านเวลา

เราใข้ glmark2 benchmark เพื่อทดสอบประสิทธิภาพกราฟิก บน Raspberry Pi 5


ได้ 920 คะแนน จากฮาร์ดแวร์ Rockchip RK3588 ที่เราเคยรีวิวเช่น เราเตอร์มินิพีซี NanoPi R6S ได้ 4,525 คะแนนจาก glmark2-es2-wayland


ได้ 2,036 คะแนนซึ่งต่ำกว่าคะแนนจากฮาร์ดแวร์ Rockchip RK3588

การใช้งานเว็ป WebGL Aquarium ทำงานได้ดีกับเบราว์เซอร์ Chromium และ Firefox แต่ Chromium มีอัตราเฟรมจะดีกว่า

WebGL Aquarium Chromium Raspberry Pi OS Bookworm
ปลา 1,000 ตัว, 48 fps – Chromium
WebGL Aquarium Firefox Raspberry Pi OS Bookworm
ปลา 1,000 ตัว, 35 fps – Firefox

เพื่อเป็นข้อมูลการอ้างอิงในรีวิว NanoPi R6S เราได้บอกว่า “การทดสอบเป็นไปอย่างราบรื่นด้วยปลา 1,000 ตัวที่ 60 fps และยังใช้งานได้ดีกับปลา 5,000 ตัวที่ประมาณ 30 fps” ดังนั้นส่วนของกราฟิก Raspberry Pi 5 จึงไม่มีประสิทธิภาพเท่ากับ Rockchip RK3588/RK3588S

ณ ตอนนี้ เราสามารถพูดได้ว่าเการทดสอบ benchmarks ของ Raspberry Pi 5 นั้นเมีประสิทธิภาพสูงกว่า Raspberry Pi 4  2 ถึง 3 เท่า และมากกว่า 20 เท่าสำหรับ cryptographic workload (เช่น AES, TLS และอื่นๆ) แต่ประสิทธิภาพต่ำกว่า CPU Rockchip RK3588

การทดสอบประสิทธิภาพที่เก็บข้อมูล microSD และUSB 3.0

เราไดใช้คำสั่ง iozone สำหรับ Raspberry Pi เพื่อรันการทดสอบประสิทธิภาพที่เก็บข้อมูลบนทั้ง microSD card Class A1 ขนาด 32GB ที่ให้มาพร้อมชุด Raspberry Pi 5 และ USB 3.0 NVMe SSD drive

ผลลัพธ์สำหรับ microSD card:


ประสิทธิภาพของ microSD card จะได้รับการปรับปรุงด้วยชิปเซ็ต RP1 แต่ดูรุ่นยาก microSD card อ่านได้สูงสุดประมาณ 89MB/s และเขียนสูงสุดที่ 19MB/s ด้วยความเร็วในการอ่านและเขียนแบบสุ่มและค่าออกมาดูดีซึ่งน่าจะเป็นเหตุผลที่ทำไม่เห็นความช้าลงในการใช้งานเนื่องจาก I/O แต่บอร์ดคู่แข่ง (ที่ราคาแพงกว่า) ที่มี eMMC flash ในตัวขนาด 32GB หรือ 64GB จะเร็วกว่าและตอบสนองได้ดีกว่ามาก

เรายังทดสอบ USB 3.0 bandwidth (5 Gbps) ด้วย ORICO ที่ติดตั้ง Apacer NVMe SSD ที่ฟอร์แมตด้วย EXT-4

พอร์ต USB 3.0 ด้านบน:


พอร์ต USB 3.0 ด้านล่าง:


พอร์ตทั้ง 2 มีความเร็วในการอ่านประมาณ 388MB/s และความเร็วในการเขียน 411MB/s หรือเป็นไปตาม USB 5 Gbps ไม่แน่ใจว่าทำไมการเขียนจึงเร็วกว่าการอ่านเมื่อเราปิดใช้งานการแคชในคำสั่ง iozone

Gigabit Ethernet, WiFi และบลูทูธ

เราจะใช้โปรแกรม iperf3 เพื่อทดสอบประสิทธิภาพเครือข่าย gigabit Ethernet และ WiFi 5 พร้อมทั้งทดสอบ Bluetooth กับโทรศัพท์และหูฟัง

นี่คือความเร็วในการดาวน์โหลด gigabit Ethernet ของ Raspberry Pi 5 โดยใช้พอร์ต 2.5 GbE ของมินิพีซี UP Xtreme 11 Edge ที่อีกด้านหนึ่งของการเชื่อมต่อ


อัปโหลด:


ทั้งคู่ยอดเยี่ยมมากและคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 940  ตอนนี้เรามาลองโอนข้อมูลแบบ full-duplex (สองทิศทาง) ที่มีความต้องการมากขึ้น:


สุดยอดอีกแล้ว

ตอนนี้มาทดสอบ WiFi 5 (ที่ 5 GHz) ที่ เชื่อมต่อด้วยลิงก์ 433 Mbps ไปยังเราเตอร์ Xiaomi Mi AX6000


ดาวน์โหลด:


อัพโหลด:


ประสิทธิภาพค่อนข้างดีด้วยการอัปโหลด 224 Mbps และการดาวน์โหลด 259 Mbps

และทดสอบ Bluetooth กับสมาร์ทโฟน Android สามารถจับคู่ใช้งานได้อย่างลื่นไหล, แต่ Raspberry Pi OS ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรกับโทรศัพท์ของฉันพร้อมข้อความแสดงข้อผิดพลาดขึ้น:

การจับคู่สำเร็จ – อุปกรณ์นี้ไม่มีบริการที่สามารถใช้ได้กับ Raspberry Pi

Raspberry Pi OS Bluetooth Smartphone

ดังนั้นฉันไม่สามารถโอนไฟล์หรือทำอะไรอื่นได้

ลองเชื่อมต่อหูฟัง Bluetooth

Raspberry Pi 5 Bluetooth Audio

สามารถใช้ได้ ฉันสามารถฟังเสียงจากวิดีโอ YouTube ได้ แต่ไม่สามารถควบคุมระดับเสียงได้ ฉันจึงควบคุมแถบเลื่อนบนอุปกรณ์เพื่อปรับระดับเสียง นั่นหมายความว่าฉันสามารถควบคุมระดับเสียงจากชุดหูฟังได้ แต่ใช้ Raspberry Pi OS ไม่ได้นอกจากปิดเสียง/เปิดเสียง

การเล่นวิดีโอ 4K บน YouTube

เราได้ทดสอบวิดีโอ YouTube ที่มีความละเอียดสูงสุด 1920×1080 ที่ 30 fps ทั้งใน Chromium และ Firefox ความละเอียด 4K (2160p)

RPi 5 YouTube Firefox
Firefox
RPi 5 YouTube Chromium
Chromium

วิดีโอเล่นได้อย่างราบรื่นในทั้งสองเว็บเบราว์เซอร์ โดยมีการดรอปเพียงไม่กี่เฟรม

ตอนนี้เรามาลองเล่นวิดีโอ 4K H.265 ในเครื่องกัน เนื่องจาก Broadcom BCM2712 SoC จะรองรับ video decoding H.265 ดังนั้นฉันจึงเชื่อมต่อฮาร์ดไดรฟ์กับตัวอย่างวิดีโอ 4K และเล่นโดยคลิกเปิดที่ไฟล์ VLC video player:

  • Beauty_3840x2160_120fps_420_8bit_HEVC_MP4.mp4 (H.265 ไม่มีเสียง) – OK
  • MHD_2013_2160p_ShowReel_R_9000f_24fps_RMN_QP23_10b.mkv (10 บิต HEVC, 24 fps, ไม่มีเสียง) – เฟรมแรกเท่านั้น ตลอดระยะเวลาของวิดีโอ
  • Fifa_WorldCup2014_Uruguay-Colombia_4K-x265.mp4 (4K, H.265, 60 fps) – วิดีโอและเสียงใช้ได้

แม้ว่าวิดีโอสองรายการจะเล่นได้ดีเมื่อเข้าสู่โหมด full-screen แต่ฉันเห็นแถบสีดำหนาที่ด้านล่างของวิดีโอ (แต่ไม่มีสิ่งใดที่ด้านบน) และการเปลี่ยนอัตราส่วนภาพไม่ได้ช่วยอะไร

4Kp60 HEVC video playback CPU usage

การใช้งาน CPU ขณะเล่นวิดีโอ 4K H.265 ที่ 60 fps เป็นระดับต่ำ ซึ่งบอกได้ว่าการถอดรหัสไฟล์วิดีโอด้วยฮาร์ดแวร์ใช้งานได้จริง เพื่อการเปรียบเทียบฉันเปลี่ยนไปใช้วิดีโอ 4K H.264 ที่ 30 fps การใช้งาน CPU จะสูงขึ้นเนื่องจากใช้การถอดรหัสไฟล์วิดีโอด้วยซอฟต์แวร์แทน

Raspberry Pi 5 H.264 software video decoding

น่าจะเหมือนกันกับ video codecs อื่นๆ เนื่องจาก Broadcom BCM2712 รองรับ hardware video decoding เฉพาะ H.265 เท่านั้น และตัวแปลงสัญญาณอื่นๆ ทั้งหมดจะต้องได้รับการจัดการโดยซอฟต์แวร์

กล้อง Raspberry Pi

เรามีโมดูลกล้อง Raspberry Pi 3 อยู่ แต่ฉันต้องข้ามการทดสอบเนื่องจากตัวเชื่อมต่อกล้องบน Raspberry Pi 5 มีขนาดเล็กกว่า ไม่ใช่ปัญหาใหญ่เพียงซื้อสายเคเบิลราคา $1(~36฿)

ประสิทธิภาพการระบายความร้อน

เราเห็นแล้วว่า Raspberry Pi 5 มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับ Raspberry Pi 4 แต่เราทำได้โดยใช้ “active cooler” พร้อมฮีทซิงค์และพัดลมระบายความร้อน PWM,  พัดลมเสียงไม่ดังมาก แต่บางคนอาจจะชอบระบบไม่มีพัดลมมากกว่า จะสามารถใช้กับฮีทซิงค์อย่างเดียวได้มั้ย? จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อเราใช้เคส Raspberry Pi 5 ที่มาพร้อมพัดลมระบายความร้อนขนาดเล็ก มาหาคำตอบกัน

หมายเหตุ โดยปกติจะทำการทดสอบในห้องที่มีอุณหภูมิแวดล้อม 28°C ซึ่งอาจมีผลต่อประสิทธิภาพของระบบ แค่เพื่อแสดงว่าอุณหภูมิสภาพแวดล้อมอาจมีผลต่ออุณหภูมิของ CPU ฉันปล่อยให้ระบบทำงานโดยไม่ได้ใช้งานข้ามคืน (19:00 ถึงประมาณ 10:00 น.) เพียงแค่รัน sbc-bench.sh -m monitor temperature และ rpi-monitor

overnight idle temperature

อุณหภูมิ CPU ลดลงจากประมาณ 55°C เหลือประมาณ 50°C ตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิสภาพแวดล้อมจากประมาณ 26°C เมื่อ 19:00 ลงมาที่ประมาณ 21°C เมื่อ 6:00 และเพิ่มขึ้นจากนั้น

มาดูแผนภูมิอุณหภูมิโดยเริ่มจากไม่ได้ใช้งานและรันสคริปต์ sbc-bench.sh โดยใช้ active cooler

Raspberry Pi 5 Active Cooler Temperature Chart
Raspberry Pi 5 พร้อม active cooler

อุณหภูมิในโหมดไม่ได้ใช้งานอยู่ที่ประมาณ 46-47°C และเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 66°C ขณะที่ CPUminer ทำงาน ไม่มีการทำการลดความเร็วในการทำงานและเราอยู่ห่างจากขีดจำกัดที่ 85°C ดังนั้น active cooler ทำงานได้อย่างดี

ฮีทซิงค์มีขนาดใหญ่ครอบคลุมบอร์ด ดังนั้นเราลองถอดพัดลมออกแล้วดูว่าจะเกิดอะไรขึ้น


Raspberry Pi 5 Temperature Fan Off

อุณหภูมิในโหมดไม่ได้ใช้งานค่อนข้างสูงกว่าที่ประมาณ 60°C และสูงถึง 85°C ทั้งในการใช้งาน 7-zip และ CPUminer และการควบคุมปริมาณ (throttling) เกิดขึ้น โดยความถี่ของ CPU ลดลงต่ำถึง 1,500 MHz จากปกติ 2,400 Mhz แต่ป็นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น ดังนั้นหากมีการทำงานของ workload สูงก็ควรใช้ฮีทซิงค์เท่านั้น ฉันมั่นใจว่าบางคนจะใช้รุ่นเคสแบบไม่มีพัดลม

Raspberry Pi ยังส่งเคสอย่างเป็นทางการมาให้เราด้วย ลองถอด Active Cooler ออก ใส่ฮีทซิงค์ขนาดเล็กจากชุดอุปกรณ์บนโปรเซสเซอร์ Broadcom BCM2712 และเชื่อมต่อพัดลม…

Broadcom BCM2712 heatsink fan case

ใส่ฝาครอบและเชื่อมต่อทุกอย่างใหม่

Raspberry Pi 5 case raspberry pi os bookworm

รัน sbc-bench.sh อีกครั้ง:


Raspberry Pi 5 temperature chart case fan

สิ่งที่ดีคือ CPU throttling ไม่เกิดการควบคุมปริมาณ แต่อุณหภูมิในโหมดไม่ได้ใช้งานสูงขึ้นเล็กน้อยที่ 56°C และ under load อุณหภูมิจะสูงสุดที่ประมาณ 75°C นั่นหมายถึงเคสที่มาพร้อมกับพัดลมระบายความร้อน สามารถใช้งานได้ดี แต่พัดลมอาจเปิดใช้งานบ่อยกว่าตัว active cooler เนื่องจากมีฮีทซิงค์ที่เล็กกว่า

ตอนนี้เรามาปิดเครื่อง ถอดพัดลมออก และรันสคริปต์ด้วย Raspberry Pi 5 ในกล่องเคสโดยไม่มีการระบายความร้อนใดๆ


Raspberry Pi 5 temperature chart case no fan

ฉันรอประมาณ 20 นาทีก่อนที่จะเริ่มการวัดประสิทธิภาพ และอุณหภูมิขณะไม่ได้ใช้งานอยู่ที่ประมาณ 67-68°C แต่เมื่อเรารัน sbc-bench.sh อุณหภูมิพุ่งสูงถึง 85°C อย่างรวดเร็วและถึงจุดสูงสุดที่ประมาณ 88°C

การทดสอบประสิทธิภาพสิ้นสุดในเวลาประมาณ 15:30 น. และฉันคิดว่าจะต้องมีกระบวนการพื้นหลังที่ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น (85°C) แต่ htop ไม่ได้แสดงอะไร

Raspberry Pi 5 htop

โหมดมอนิเตอร์ sbc-bench.sh ยังรายงานอุณหภูมิสูงและโหมดการใช้งาน CPU เกือบเป็น 0 :


เหมือนกับว่าเซ็นเซอร์อุณหภูมิติดอยู่ที่ประมาณ 85°C และจะไม่ลดลง

เราจึงเปิดเคสและเชื่อมต่อพัดลมอีกครั้งในขณะที่บอร์ดยังทำงานอยู่ (ไม่แนะนำ) และอุณหภูมิก็ลดลงทันที…

Fan Broadcom BCM2712 CPU temperature

ดังนั้นถ้าคุณจะใช้ฮีทซิงค์ขนาดจิ๋วพร้อมวาง Raspberry Pi 5 ในเคสโดยไม่มีพัดลม อย่าได้ทำเพราะนั่นเป็นเหตุผลที่ทำไม Raspberry Pi มีตัวเลือกระบบระบายความร้อน active cooler และเคสที่มาพร้อมกับพัดลมในตัว

การใช้พลังงาน

เราได้ตรวจวัดการใช้พลังงานของ Raspberry Pi 5 พร้อม active cooler โดยใช้เครื่องวัดพลังงานแบบ power meter

  • ปิดเครื่อง – 1.7 วัตต์
  • ไม่ได้ใช้งาน
    • 3.0 วัตต์ (headless, WiFi เท่านั้น)
    • 3.6 วัตต์ (Ethernet + WiFi, เมาส์และคีย์บอร์ด USB, เชื่อมต่อ HDMI)
  • วิดีโอ YouTube 4K ใน Firefox ( (แบบ full screen – avc1 (H.264) codec) – 5.5 – 6.2 วัตต์
  • วิดีโอ YouTube 4K ใน Chromium (แบบ full screen – avc1 (H.264) codec) – 5.7 – 6.8 วัตต์
  • การทดสอบ Stress test บน 4 คอร์ (stress -c 4)  – 8.8 วัตต์

ชุด Raspberry Pi ที่เราได้รับมาพร้อมกับ USB PD power supply ที่รองรับ 5.1V/5V หรือมากกว่า 25W เล็กน้อย ค่าสูงสุดในการทดสอบข้างต้นคือ 8.8 วัตต์ ดังนั้นมีเหลือที่เยอะมากในการใช้พลังงาน ดังนั้นฉันลองเพิ่มการเล่นวิดีโอ 4K H.265 จากฮาร์ดไดรฟ์ USB และรัน iozone บน SSD ภายนอกพร้อมรัน stress -c 4 พร้อมกัน

Raspberry Pi 5 Hard drive external USB

ใช้พลังงานสูงสุดที่ 16.8 วัตต์ (และเสถียรที่ 15.9 วัตต์) ดังนั้น USB power supply 5V/3V ที่ใช้กับ Raspberry Pi 4 คงไม่เพียงพอ จากการทดสอบ sbc-bench.sh จะไม่รายงานแรงดันไฟฟ้าที่ลดลงภายใต้การทดสอบ stress test นี้:


เราควรใช้อะแดปเตอร์จ่ายไฟ 5V/3A กับ Raspberry Pi 5 สำหรับการใช้งานหลายๆ นอกจากกรณีที่คุณต้องการเชื่อมต่ออุปกรณ์ USB ที่ใช้กระแสไฟฟ้ามากเช่นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ Raspberry Pi ยืนยันว่า:

เมื่อใช้อะแดปเตอร์ USB-C 5V/3A (15W) กับ Raspberry Pi 5  5 ตามค่าเริ่มต้น เราจะต้องจำกัดกระแสไฟ USB downstream ไว้ที่ 600mA เพื่อให้มีขอบเขตเพียงพอในการรองรับการทำงาน

สรุป

บอร์ด Raspberry Pi 5 SBC เป็นการอัปเกรด Raspberry Pi 4 ที่ยอดเยี่ยม ถ้ารู้สึกว่าบอร์ด SBC รุ่นก่อนหน้าช้าโดยมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 2-3 เท่า ขึ้นอยู่กับปริมาณงาน, Broadcom BCM2721 เป็นโปรเซสเซอร์ “Raspberry Pi” ตัวแรกที่มีคุณสมบัติขยาย crypto Armv8 ที่ตามทันคู่แข่ง และ AES-256 มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 20 เท่า

มีการออกแบบ Layout ใหม่ทำให้เคสรุ่นก่อนหน้านี้เข้ากันไม่ได้, คอนเนกเตอร์ MIPI CSI และ DSI มีขนาดเล็กลง และผู้ใช้ต้องซื้อสาย flat cables ใหม่, จำเป็นต้องใช้อะแดปเตอร์จ่ายไฟใหม่, ยังไม่มีโซลูชันแบบไม่มีพัดลมๆ และคุณลักษณะบางอย่างหายไป เช่น การรองรับ hardware video decoding  H.264  หรือhardware video encoding เนื่องจาก BCM2712 สามารถจัดการด้วยซอฟต์แวร์, แต่กินไฟมากกว่าด้วย

ผู้ใช้ระบบ Advance ส่วนใหญ่อาจผิดหวังกับประสิทธิภาพและฟีเจอร์เมื่อเปรียบเทียบกับแพลตฟอร์มที่ใช้โปรเซสเซอร์ Rockchip RK3588 ซึ่งมีราคาใกล้เคียงกัน รองรับเอาต์พุตวิดีโอ 8K, รองรับ hardware video decoding 8K/4K AV1/VP9/H.264, hardware video encoding, AI accelerator และอื่นๆ ฮาร์ดแวร์ Raspberry Pi ยังเป็นที่นิยมจากชุมชนและมีการรองรับซอฟต์แวร์ที่ดีกว่า แม้ว่า Bookworm ของ Raspberry Pi OS ในปัจจุบันอาจจะมีข้อบกพร่อง เช่น ปัญหาระดับเสียง Bluetooth หรือแถบสีดำหนาที่ดูวิดีโอแบบ full-screenใน VLC

เราต้องขอขอบคุณ Raspberry Pi ที่ส่งชุด Raspberry Pi 5 ที่สมบูรณ์มาให้ตรวจสอบและทดสอบ สามารถซื้อบอร์ดและอุปกรณ์เสริมจากตัวแทนจำหน่ายประเทศไทยหาซื้อได้ที่ Cytron ชุดที่รีวิวนี้ราคา 4,930฿

Part 1: รีวิวชุด Raspberry Pi 5 แกะกล่อง การประกอบ และลองใช้งานครั้งแรก

แปลจากบทความภาษาอังกฤษ : Raspberry Pi 5 review – Part 2: Raspberry Pi OS Bookworm, benchmarks, power consumption, and more

FacebookTwitterLineEmailShare

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

โฆษณา
โฆษณา