เราได้ดูสเปค แกะกล่อง LaserPecker LP5 ที่เเป็นเครื่องแกะสลักเลเซอร์อัจฉริยะขนาด 20W แบบ 2-in-1 ที่รวม Fiber Laser + Diode Laser ซึ่งสามารถแกะสลักบนวัสดุได้เกือบทุกชนิด และบริษัทยังได้ส่ง Rotary Extension เป็นอุปกรณ์เสริมที่ขยายความสามารถของเครื่องแกะสลัก ในการจัดการกับวัตถุทรงกระบอกที่มีขนาดและรูปทรงต่าง ๆ ช่วยให้แกะสลักได้สะดวกแก่ขึ้นและยังมีปุ่มปรับมุมที่อยู่ด้านข้างเพื่อช่วยตั้งค่าการหมุนที่แม่นยำด้วย และ Safety Enclosure ตู้ครอบนิรภัยสำหรับเครื่องแกะสลักเลเซอร์ LP5 ให้สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและมีการควบคุมอัจฉริยะ เหมาะสำหรับการแกะสลักด้วยเลเซอร์ในร่ม
ในบทความนี้เราจะมาทดลองใช้งานเครื่องแกะสลักเลเซอร์ LaserPecker LP5 พร้อมอุปกรณ์เสริม Rotary Extension และ Safety Enclosure กับโปรแกรม LDS software บน windows และ LDS Apps บน ipad พร้อมกับวัสดุต่าง ๆ เช่น ไม้อัด, สแตนเลส, ยาง, อะลูมิเนียม
การใช้งานเครื่องแกะสลักเลเซอร์ LaserPecker LP5 ร่วมกับโปรแกรม LDS software
LaserPecker มีชุดซอฟต์แวร์ของตัวเองและแอปมือถือชื่อ LaserPecker Design Space (LDS) ออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับเครื่องแกะสลักและตัดด้วยเลเซอร์ LaserPecker สร้างโปรเจ็กต์ได้อย่างง่ายดายด้วยการแกะสลักที่เป็นส่วนตัว ลวดลายที่ซับซ้อน หรือการตัดที่แม่นยำบนวัสดุต่างๆ รองรับ Windows และ MacOS
เราสามารถติดตั้ง LDS software จากหน้าเว็ปไซด์ของ Laser pecker แล้วเลือกเข้าไปที่ software
จากนั้นเลือกระบบปฏิบัติการ Windows, MacOS โดยการรีวิวนี้เราเลือกใช้งานกับ Windows
และเมื่อดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้ว เรามาเตรียมเครื่อง เสียบอะแดปเตอร์และจะมีเสียงเครื่องทำงานเลย ไม่มีปุ่มปิดเปิด มีแต่ปุ่มหยุด
จากนั้นเชื่อต่อสาย USB เข้ากับพอร์ต USB-C ของ LP5
ไปที่ Home เลือก New project
เลือก “Connect the device”
LP5 สามารถเลือกการเชื่อมต่ออุปกรณ์ผ่าน USB, Bluetooth, WiFi เราเลือก USB เพื่อทำการเชื่อมต่อ
การเชื่อมต่อด้วย WiFi คลิกที่ไอคอน “Setting” ขวามือ จากนั้นคลิก “Configure”
เพื่อทำการเลือก WiFi และใส่รหัสผ่าน เพื่อทำการเชื่อมต่อ แต่เนื่องจากไม่รองรับ 5GHz เลยจำเป็นต้องใช้ 2.4GHz แทน
เมื่อเชื่อมต่อ WiFi แล้วเราจะพบ LP5 เลือกเพื่อทำการเชื่อมต่อ
เมื่อเชื่อมต่อเรียบร้อยที่ขวามือเราจะเห็นรูปเครื่อง LP5 และสัญลักษณ์การเชื่อมต่อ WiFi
ในขณะใช้งานเราสามารถฝาครอบป้องกันทรงกรวย เพื่อถ่ายรูประหว่างเครื่องกำลังทำงาน โดยต้องไปที่ Mode setting > เปิด Free mode แต่เราไม่แนะนำให้เปิดเพราะแสงเลเซอร์อาจทำลายดวงตา
Laser delay – เราเปิดการใช้งานเพื่อความสม่ำเสมอของชิ้นงาน แบบตัวอย่าง
ในขณะใช้งานเราต้องแว่นกรองแสงเพื่อถนอมสายตา
ก่อนที่จะเริ่มการใช้งานเราสามารถดูตารางค่าพารามิเตอร์ของ LP5 แสดงรายละเอียดการตั้งค่าที่เหมาะสมสำหรับวัสดุต่าง ๆ จากรูปด้านล่างเป็นเพียงตัวอย่าง สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมบนหน้า material-settings
วัสดุต่าง ๆ เช่น อะลูมิเนียม, สแตนเลส, ทองแดง, ไทเทเนียม, ไม้, กระดาษ, พลาสติด, หนัง และอื่นๆ ค่าพารามิเตอร์ที่แนะนำ เช่น กำลังไฟ (Power), ความลึก (Depth), และความถี่ (Frequency) เพื่อช่วยให้คุณเริ่มต้นการใช้งานได้อย่างเหมาะสม ตัวอย่างเช่น การแกะสลัก Aluminum ที่ความละเอียด 2K, ประเภทงาน: Fill , เลเซอร์ 1064nm: Power 60%, Depth 27%, Frequency 50kHz, เลเซอร์ 450nm: Power 53%, Depth 58% ซึ่งค่าพวกนี้ใช้เป็นแนวทางเริ่มต้น และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามวัสดุและผลลัพธ์ที่ต้องการ
เราสามารถเลือกรูปแบบการแกะสลักได้จากเครื่องมือ Clipart
เมื่อเราได้ตัวอย่างที่ต้องการแล้วให้ไปที่ Engraving layer > Fill และปรับความละเอียดตั้งแต่ 1k ถึง8k เลือก 450nm (Diode laser), จำนวนรอบการตัด (Pass), ปรับความแรง (Power) และความลึก (Depth) ที่แกะสลัก
เราจะให้มีการตัดขอบ ไปที่ Outline และปรับความกว้างของขอบตามต้องการ แล้วกดที่ Confirm
เมื่อเพิ่มเลเยอร์มาแล้วให้กดที่เลเยอร์ Outline, เลือก 450nm (Diode laser), จำนวนรอบการตัด (Pass), ปรับความแรง (Power) และความลึก (Depth)
สิ่งสำคัญที่สุดในการใช้งานเครื่องแกะสลักเลเซอร์ คือ จุดโฟกัสและกรอบงานของคุณ โดย LP5 ใช้จุดสีแดงสองจุดใช้ลูกศรขึ้นลงที่ด้านบนของขาตั้งไฟฟ้า (Electric Stand) หรือจะใช้ลูกศรขึ้นลงที่กด preview ในโปรแกรมก็ได้ ต้องกดจนจุดสีแดงสองจุดรวมเป็นจุดเดียว เครื่องก็สามารถหาโฟกัสได้ การจัดกรอบใช้สี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นตัวกำหนดเส้นขอบที่จะแกะสลักหรือตัด
แสงกรอบใช้สี่เหลี่ยมสีน้ำเงินจะขึ้นต่อเมื่อกดที่ preview และตอนแรกเราติดปัญหาในการหาแสงกรอบใช้สี่เหลี่ยมสีน้ำเงินไม่พบ จึงสอบถามไปยังบริษัททาง e-mail ซึ่งให้คำตอบเราได้เร็วมาก โดยเขาแนะนำให้เพิ่มความสว่าง และในที่สุดเราก็เห็นกรอบสี่เหลี่ยมสีน้ำเงิน
ก่อนที่เราจะพิมพ์ให้ไปที่ preview เพื่อดูขนาดให้พอดีกับพื้นที่ที่ต้องการ ขณะ preview ควรเปืดฝาครอบป้องกันทรงกรวยหรือไม่ควรใส่แว่นเพราะอาจทำให้มองไม่เห็นได้ เมื่อมั่นใจแล้วให้กดที่ confirm
ทดสอบการใช้งานกับแผ่นไม้อัด (Wooden Plate Plywood)
ทดสอบการแกะสลักไม้อัด 108×108 มม. ใช้การตั้งค่าดังนี้
- ความละเอียด 1K
- ประเภทงาน: Fill
- เลเซอร์ 450 nm (Diode laser) : Power 100%, Depth 40%, pass 1, speed 478.69 mm/s
ใช้เวลาการแกะสลักทั้งหมด 2 นาที 21 วินาที
ทดสอบการตัดไม้ 108×108 มม. ใช้การตั้งค่าดังนี้
- ความละเอียด 1K
- ประเภทงาน: Line
- เลเซอร์ 450 nm (Diode laser) : Power 100%, Depth 95%, 1 pass, speed 4.17 mm/s
ใช้เวลาการตัดขอบทั้งหมด 1 นาที 24 วินาที
ได้ผลลัพธ์ดังนี้ ใช้เวลาทั้งหมด 3 นาที 45 วินาที เนื่องจากเราปรับความแรงมากเกินไปเลยทำให้เกิดรอยไหม้ที่ขอบ
เนื่องจากเราไม่ได้ใช้ cutting plate เลยทำให้มีรอยที่แผ่นฐาน
ทดสอบการใช้งานกับแผ่นนามบัตรโลหะผสมอะลูมิเนียม (Aluminum Alloy Metal)
ทดสอบการแกะสลักแผ่นโลหะผสมอะลูมิเนียม 51.5×43.3 มม. ใช้การตั้งค่าดังนี้
- ความละเอียด 8k
- ประเภทงาน: Picture
- เลเซอร์ 1064nm (Fiber laser) : Power 5%, Depth 1%, Frequency 60kHz, 1 pass
ใช้เวลาทั้งหมดประมาณ 12 นาที
การใช้งานเครื่องแกะสลักเลเซอร์ LaserPecker LP5 กับตู้ครอบ Safety Enclosure
เมื่อเราชื่อมต่อสายอะแดปเตอร์ USB-A ทั้งสองเส้นและสาย DC Power Adapter กับตู้ครอบ Safety Enclosure
แล้วให้หมุนปุ่มสีแดงเพื่อเปิดเครื่อง หรือกดปุ่มสีแดงเพื่อทำการปิดเครื่อง
ทดสอบการใช้งานกับแผ่นโลหะผสมอะลูมิเนียม (Aluminum Alloy Metal)
ทดสอบการแกะสลักแผ่นโลหะผสมอะลูมิเนียม 51.5×43.3 มม. ใช้การตั้งค่าดังนี้
- ความละเอียด 8k
- ประเภทงาน: Picture
- เลเซอร์ 1064nm (Fiber laser) : Power 5%, Depth 1%, 1 pass
ทดสอบการตัดแผ่นโลหะผสมอะลูมิเนียม 51.5×43.3 มม. ใช้การตั้งค่าดังนี้
- ความละเอียด 1k
- ประเภทงาน: Line
- เลเซอร์ 1064nm (Fiber laser) : Power 100%, Depth 90%, Frequency 60kHz, 16 pass, speed 10.64 mm/s
(เราสั่งคำสั่งนี้สองรอบเนื่องจากเราตัดแผ่นอลูมิเนียมไม่ขาด)
ใช้เวลาทั้งหมด 19 นาที 55 วินาที
ทดสอบการใช้งานกับแผ่นหนังวัว
ทดสอบการแกะสลักแผ่นหนังวัว 46.8×48.03 มม. มม. ใช้การตั้งค่าดังนี้
- ความละเอียด 1k
- ประเภทงาน: Fill
- เลเซอร์ 450nm (Diode laser) : Power 100%, Depth 40%, 1 pass, speed 478.69 mm/s
ทดสอบการตัดแผ่นหนังวัว 49.78×51.01 ใช้การตั้งค่าดังนี้
- ความละเอียด 1k
- ประเภทงาน: Line
- เลเซอร์ 450nm (Diode laser) : Power 50%, Depth 95%, 1 pass, speed 4.17 mm/s
ใช้เวลาทั้งหมด 9 นาที 51 วินาที
ทดสอบการใช้งานกับหินชนวน (Stone Slate Coasters Square Black)
ทดสอบการแกะสลักหินชนวน 72.67×80.74 มม. ใช้การตั้งค่าดังนี้
- ความละเอียด 2k
- ประเภทงาน: Fill
- เลเซอร์ 1064nm (Fiber laser) : Power 100%, Depth 25%, 1 pass
ใช้เวลาทั้งหมด 6 นาที 32 วินาที
ทดสอบการใช้งานกับจี้สแตนเลส
ทดสอบการแกะสลักจี้สแตนเลส ใช้การตั้งค่าดังนี้
- ความละเอียด 1k
- ประเภทงาน: Image
- เลเซอร์ 1064nm (Fiber laser) : Power 100%, Depth 60%, 1 pass
ใช้เวลาทั้งหมด 41 วินาที
ทดสอบการใช้งานกับเหรียญทองเหลือง (Brass coin)
อันดับแรกเรานำเข้ารูป และตั้งค่าให้เป็นแบบ 2D หรือ 3D
ทดสอบการแกะสลักทองเหลือง 2D 38×38 มม. ใช้การตั้งค่าดังนี้
- ความละเอียด 2K:
- ประเภทงาน: Picture
- เลเซอร์ 1064nm (Fiber laser): Power 25%, Depth 25%, Frequency 26 kHz, 1 pass
ใช้เวลาทั้งหมด 6 นาที 15 วินาที
การแกะสลักแบบ 3D เราใช้ค่าเท่ากัน
แต่การแกะสลักแบบ 3D ของเราเมื่อแกะสลักไปถึง 40% แล้วหยุดทำงานทำให้เราต้องติดต่อไปหาบริษัท บริษัทได้ตอบกลับมาว่าเครื่องอาจจะตั้งค่าโหมด sleep ไว้แต่เนื่องจากการแกะสลักแบบ 3D ใช้เวลามากเกินไปประมาณ 13 ชั่วโมงทำให้เราไม่ได้กลับไปทำอีกรอบ
ความแตกต่างของ LP5 และ LP5 กับเครื่อง Safety Enclosure โดยการตั้งค่าเดียวกัน
ทดสอบการแกะสลักพวงกุญแจไม้ 26.17×39.25 มม. ใช้การตั้งค่าดังนี้
- ความละเอียด 1K:
- ประเภทงาน: Fill
- เลเซอร์ 450nm (Diode laser) : Power 100%, Depth 40%, 1 pass
ใช้เวลาทั้งหมดเหมือนกันที่ 26 วินาที
ด้านซ้ายจะเป็นผลลัพธ์ที่ทำกับ LP5 และด้านขวาเป็นผลลัพธ์ที่ทำใน Safety Enclosure
ด้านบนจะเป็นผลลัพธ์ที่ทำกับ LP5 และด้านล่างเป็นผลลัพธ์ที่ทำใน Safety Enclosure
การใช้งานเครื่องแกะสลักเลเซอร์ LaserPecker LP5 กับ Rotary Extension
เริ่มจากตั้งค่าการใช้ให้ไปที่ Mode setting และเปิดโหมด Roraty extention
มีการเชื่อมต่อ โดยสังเกตว่ามีไฟสีฟ้าขึ้นที่ rotary extension
สามารถนำรูปเข้ามาและให้ไปตัดพื้นหลังออกโดยไปที่ Magic eraser
หลังจากนั้นให้กดที่ Trace image และลบเลเยอร์ image
ไปที่ Fill เพื่อให้เลเยอร์เกิดการถมสี และจัดตำแหน่งให้ตรง ปรับขนาดตามสิ่งของที่ต้องการแกะสลัก อย่าลืมปรับ Perimeter(mm) และ Diameter(mm)
เมื่อกด preview
ทดสอบการใช้งานกับแก้วสแตนเลส
ทดสอบการแกะสลักแก้วสแตนเลส ใช้การตั้งค่าดังนี้
- ความละเอียด 4K:
- ประเภทงาน: Fill
- เลเซอร์ 1064nm (Fiber laser) : Power 100%, Depth 50%, Pass 1
สำเร็จแล้ว ใช้เวลาทั้งหมด 14 นาที 32 วินาที
ทดสอบการใช้งานกับแก้วเซรามิก
ทดสอบการแกะสลักแก้วเซรามิก ใช้การตั้งค่าดังนี้
- ความละเอียด 4K:
- ประเภทงาน: Fill
- เลเซอร์ 1064nm (Fiber laser) : Power 100%, Depth 10%, Pass 1
ใช้เวลาทั้งหมด 11 นาที 57 วินาที
การใช้งานเครื่องแกะสลักเลเซอร์ LaserPecker LP5 ร่วมกับ LDS Apps
เราสามารถใช้ LP5 กับแอปบนมือถือ LaserPecker Design Space (LDS) สามารถดาวโหลดได้ที่ App Store และ Play Store เราเลือกที่จะใช้ ipad ในการเชื่อมต่อเนื่องจากจอใหญ่กว่าโทรศัพท์ ทำให้ใช้งานง่ายกว่า หรือในกรณีที่มีสถานที่จำกัด
เมื่อดาวโหลดเรียบร้อยแล้ว เลือกการเชื่อมต่อโดยกดปุ่ม + ที่มุมบนขวาและเลือก LP5
จากนั้นให้เชื่อมต่อเครือข่าย WiFi
เมื่อกด Create แล้วจะขึ้นหน้านี้
เลือกรูปใน clipart เข้ามา
ไปที่ preview เพื่อดูพื้นที่การแกะสลัก
ต่อมาให้เลือก
- ความละเอียด 1K
- ประเภทงาน: Fill
- เลเซอร์ 450 nm (Diode laser) : Power 100%, Depth 40%, 1 pass
แล้วกดที่ Start ใช้เวลาทั้งหมด 3 นาที 24 วินาที
เราต้องการให้ขอบมีระยะห่างจากรูป 3 มิลลิเมตร
ต่อมาให้เลือกการตัด
- ความละเอียด 1K
- ประเภทงาน: Line
- เลเซอร์ 450 nm (Diode laser) : Power 70%, Depth 90%, 3 pass
แล้วกดที่ Start ใช้เวลาทั้งหมด 1 นาที 15 วินาที
ผลลัพธ์ที่ได้
สรุป
เครื่องแกะสลักเลเซอร์ LaserPecker LP5 เป็นเครื่องที่ตอบโจทย์การทำงานด้านการผลิตและงานออกแบบได้ดีมาก ด้วยขนาดที่ไม่ใหญ่มากเกินไป มีความแม่นยำสูงเนื่องจากมี preview ให้วัดขนาดพื้นที่เบื้องต้น สามารถใช้แกะสลักและตัดวัสดุได้หลากหลาย ทั้งหนัง สแตนเลส ไม้ และอลูมิเนียม การเชื่อมต่อสามรถเชื่อมต่อได้ทุกอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นในระบบ android ios mac หรือ windows นอกจากนี้ยังทำงานได้รวดเร็วและให้รายละเอียดงานที่คมชัดเป็นอย่างมาก ข้อควรระวังคือการใช้ความแรงมากเกินไปอาจทำให้วัสดุของคุณมีรอยไหม้ และเราได้ติดปัญหาในการทำเหรียญเนื่องจากใช้เวลามากเกินไป และน่าเสียดายที่ตัวเครื่องไม่มีที่จับเวลา ฉันต้องใช้มือถือของฉันในการจับเวลา อีกอย่างหนึ่งคือไม่มีปุ่ม Power สำหรับการปิดเปิดเครื่อง
Safety Enclosure ตู้ครอบนิรภัย ข้อดีคือสามารถเก็บเสียงและแสงที่เป็นอันตรายต่อดวงตาได้เป็นอย่างดี และป้องกันเวลาเกิดการไหม้ได้จากการแค่กดปุ่มโดยความคิดเห็นส่วนตัวของเราเห็นว่า การกดปุ่มจากตู้ครอบทำงานได้เร็วกว่าการกด stop จากตัวเครื่อง หรืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ และมีที่หมุนสำหรับการเปิดเครื่องทำให้สะดวกมากกว่า ทำให้และข้อเสียเนื่องจากตู้มีขนาดที่ใหญ่และมีน้ำหนักพอสมควร ทำให้การขนย้ายลำบาก และผลลัพธ์อาจจะไม่ได้ต่างจากการแกะสลักแบบไม่ใช้ Safety Enclosure มากเท่าไหร่
ส่วนตัวฉันชอบใช้แอป LaserPecker Design Space (LDS) ใน ipad ของฉันมากกว่าเพราะสะดวกกว่า แต่ข้อจำกัดของการใช้ก็มีเช่นกันคือการใช้ Fill หรือการถมสีดำลงบน App ไม่ได้
ขอขอบคุณบริษัท LaserPecker ที่ส่งเครื่องแกะสลักเลเซอร์ LP5 พร้อมกับอุปกรณ์เสริมมาให้เราได้รีวิว โดย LP5 ถ้าซื้อตอนนี้มีโปรโมชั่นราคา $2,899(~99,000฿) พร้อมรับแพ็ควัสดุฟรี ส่วนอุปกรณ์เสริม Rotary Extension ราคา $319(~11,000฿) และ Safety Enclosure ราคา $599(~20,000฿)

มีความสนใจด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เเละ กำลังศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ หุ่นยนต์ เเละ ปัญญาประดิษฐ์