เปิดตัว Linux 6.8 – การเปลี่ยนแปลงหลักของสถาปัตยกรรม Arm, RISC-V และ MIPS

Linux 6.8 release

Linus Torvalds ได้ประกาศเปิดตัว  Linux 6.8 บน Linux kernel mailing list (LKML) เมื่อประมาณ 2 เดือนทีผ่านมาได้เปิดตัว Linux 6.7 โดยมี bcachefs ระบบ filesystem, มีการปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดคิวแบบ Fair Queuing เพื่อให้ระบบเครือข่ายมีประสิทธิภาพมากขึ้น, เพิ่มคุณสมบัติใหม่และการปรับปรุงสำหรับ perf profile tool, สถาปัตยกรรม LoongArchได้รับการรองรับด้วย KVM, ะการยกเลิกการรองรับสถาปัตยกรรม Itanium (ia64) ของ Intel และมีการเปลี่ยนแปลงอื่นๆ อีกมากมาย   การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญใน Linux 6.8 รองรับไดร์ฟเวอร์กราฟฟิค Intel Xer ซึ่งมีเป้าหมายที่จะแทนที่ไดรเวอร์ i915 เก่าสำหรับ GPU Intel ใหม่ ยังอยู่ช่วงทดลอง แต่สามารถเปิดใช้งานได้บนแพลตฟอร์ม Intel Tiger Lake และรุ่นใหม่กว่าได้แล้ว สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและการทดสอบ […]

HPMicro HPM6800 – ไมโครคอนโทรลเลอร์ RISC-V ความเร็ว 600 MHz พร้อม Vivante 2.5D GPU ที่รองรับ OpenVG

HPM6800 EVK

HPMicro HPM6800 เป็นกลุ่มไมโครคอนโทรลเลอร์ RISC-V ระดับ High-end ที่สามารถประมวลผลด้วยความเร็วสูงสุด 600 MHz มาพร้อมกับ VeriSilicon Vivante 2.5D GPU ที่รองรับ  OpenVG 1.1 vector graphics API และอุปกรณ์ต่อพ่วง เหมาะสำหรับแสดงผลแบบ Dashboard และ HMI (Human Machine Interface) ชิปในตระกูลนี้มี 3 รุ่นคือ HPM6830 ที่ไม่รองรับวิดีโอ, HPM6850 ที่มีกราฟิก 2D และอินพุต/เอาท์พุตวิดีโอ และ HPM6880 ที่เพิ่มการรองรับ 2.5D OpenVG GPU จาก VeriSilicon ทั้ง 3 รุ่นมาพร้อมกับ SRAM ขนาด 1064KB รองรับหน่วยความจำภายนิก DDR2/DDR3/DDR3, NOR, PSRAM และ eMMC flash, อินเทอร์เฟซเสียง และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่มี 8 x อินเทอร์เฟส CAN FD, gigabit Ethernet, USB high-speed และอื่นๆ สเปคของ HPMicro HPM6800: CPU – โปรเซสเซอร์ RISC-V (RV32-IMAFDCP […]

โมดูล Allwinner T527 มี CPU Cortex-A55 แบบ octa-core และ AI accelerator 2 TOPS

Allwinner T527 system on module

MYiR MYC-LT527 เป็น System-on-Module (SoM) ขนาดเล็กที่ใช้ Allwinner T527 octa-core Arm Cortex-A55 SoC พร้อม AI accelerator 2 TOPS, RAM สูงสุด 4GB, flash 32GB และ land grid array (LGA) ประกอบด้วย 381 pads พร้อมอินเทอร์เฟสที่หลากหลายสำหรับจอแสดงผลและกล้อง, เครือข่าย, USB และ PCIe และอื่นๆ บริษัทยังได้เปิดตัวบอร์ดพัฒนา MYD-LT527 เพื่อแสดงความสามารถของโมดูล CPU Allwinner T527 ที่เหมาะสำหรับการใช้งานที่หลากหลาย เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรม, การจัดการพลังงานและกำลังไฟฟ้า, อุปกรณ์ทางการแพทย์, เครื่องแสดงผลและตัวควบคุม, กล่องและบอร์ด Edge AI, แผงหน้าปัดรถยนต์ และอุปกรณ์ระบบฝังตัวที่ต้องใช้ฟังก์ชันสื่อและ AI MYC-LT527 โมดูล Allwinner T527 สเปคของ MYC-LT527: SoC –  Allwinner T52 ซีพียู โปรเซสเซอร์ Arm Cortex-A55 แบบ Octa-core […]

ePulse Feather C6 – บอร์ดพัฒนา ESP32-C6 ใช้ฟอร์มแฟคเตอร์ของ Adafruit Feather พร้อมรองรับแบตเตอรี่ LiPo

ePulse Feather C6

ThingPulse ePulse Feather C6 เป็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ ESP32-C6 ที่มีการเชื่อมต่อ WiFi 6, BLE5, Zigbee, Thread และ Matter, ใช้ฟอร์มแฟคเตอร์ของ Adafruit Feather และรองรับการชาร์จแบตเตอรี่ LiPo ผ่านชิปชาร์จและ Fuel gauge (อุปกรณ์ที่ใช้วัดหรือตรวจสอบปริมาณพลังงานที่เหลืออยู่ในแบตเตอรี่) ePulse Feather C6 เป็นรุ่นที่ปรับมาจากรุ่นก่อนหน้านี้คือ ePulse Feather โดยรุ่นใหม่ได้ปรับให้เหมาะสมสำหรับการใช้พลังงานต่ำ เปลี่ยนจากโมดูล ESP32-WROVER-E-N8R8 เป็น ESP32-C6-MINI-1 ที่มีคลื่นวิทยุ 802.15.4 สำหรับ Zigbee, Thread และ Matter พร้อมการเชื่อมต่อ 2.4 GHz WiFi 6 และ Bluetooth 5.3 LE สเปค ePulse Feather C6: โมดูลไร้สาย – ESP32-C6-MINI-1 SoC – ESP32-C6H4 32-bit RISC-V microprocessor สูงสุด 160 MHz พร้อม 320KB ROM , 512KB HP SRAM, […]

WeAct STM32G4 – บอร์ดจิ๋วที่ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ STMicro STM32G4 mixed-signal

WeAct STM32G4 mixed signal board

WeAct STM32G4 เป็นบอร์ดพัฒนาขนาดจิ๋วที่ใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์ STMicro STM32G4 Arm Cortex-M4F mixed-signal 170 MHz พร้อมชุดคำสั่ง DSP และเหมาะสำหรับการใช้งานต่างๆ เช่น การควบคุมมอเตอร์, ระบบอัตโนมัติในอาคาร, ระบบไฟส่องสว่าง. เพาเวอร์มิเตอร์ไฟฟ้าแบบดิจิทัล และอื่นๆ บอร์ดมีให้เลือก 2 รุ่น คือ รุ่นที่มาพร้อมกับไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32G474CEU6 “Hi-resolution line” ซึ่งมีหน่วยความจำ RAM ขนาด 128KB และหน่วยความจำ Flash ขนาด 512KB และอีกรุ่นหนึ่งที่มาพร้อมกับไมโครคอนโทรลเลอร์ STM32G431CBU6 “Access Line” ที่มีหน่วยความจำ RAM ขนาดเพียง 32KB และหน่วยความจำ Flash ขนาด 128KB เท่านั้น บอร์ดยังมาพร้อมกับพอร์ต USB-C สำหรับจ่ายไฟและโปรแกรม, ปุ่มกด และ Pin-header 24 ขา 2 แถว สเปคของ WeAct STM32G4: ไมโครคอนโ […]

Waveshare ESP32-H2-DEV-KIT-N4-M – บอร์ดพัฒนาที่ใช้ ESP32-H2 ราคาเพียง 240฿

Waveshare ESP32-H2 DEV KIT N4 M Dev Board

Waveshare ESP32-H2-DEV-KIT-N4-M เป็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ ESP32-H2 มีราคาเพียง $6.65(~240฿) บน Aliexpress, Amazon และร้านค้าอย่างเป็นทางการของ Waveshare ซึ่งเป็นราคาที่ถูกมากเมื่อเทียบกับบอร์ด Espressif ESP32-H2-DevKitM-1 อย่างเป็นทางการที่เปิดตัวเมื่อปีที่แล้วมีราคาอยู่ที่ $10 (~360฿) ไม่รวมค่าจัดส่งและมีการออกแบบที่คล้ายกัน ในปี 2021 Espressif Systems ได้เปิดตัว ชิป ESP32-H2 จนกระทั่งปี 2023 บริษัทได้เปิดตัวบอร์ดพัฒนาตัวแรก รวมถึงมีบอร์ดอื่นที่ใช้ชิป ESP32-H2 เช่น Olimex ESP32-H2-DevKit-LiPo, LILYGO T-Panel และบอร์ด ESP Thread Border Router/Zigbee Gateway   สเปคของ Waveshare ESP32-H2-DEV-KIT-N4-M: โมดูลไร้สาย – ESP32-H2-MINI-1 MCU – Espressif Systems ESP32-H2 ไมโครคอนโทรลเลอร์ RISC-V 32 บิตที่ความเร็วสูงสุด 9 […]

LuckFox Pico Pro และ Pico Max – บอร์ดที่ใช้ Rockchip RV1106 พร้อมรองรับ Ethernet 10/100M และรองรับกล้อง

LuckFox Pico Pro and Pro Max Rockchip RV1106 Powred Dev Board

LuckFox LuckFox Pico Pro และ Pico Max เป็นบอร์ดพัฒนาที่ใช้ Rockchip RV1106 ซึ่งมีแพลตฟอร์มการพัฒนาบน Linux สำหรับแอปพลิเคชัน IoT บอร์ดมีคุณสมบัติ Ethernet 10/100M, หน่วยความจำ DDR2 สูงสุด 256MB, และ NPU 0.5 TOPS สำหรับงานด้าน AI ด้วยการรองรับ Buildroot และ Ubuntu 22.04 บอร์ดนี้สามารถใช้สำหรับบ้านอัจฉริยะ, การตรวจสอบระยะไกล, และโปรเจกต์ที่มีการมีปรับ AI-enhanced อื่นๆ เราเคยเขียนบทความเกียวกับ LuckFox Core3566 ที่เป็นโมดูลทางเลือก Raspberry Pi Compute Module 4 และ LuckFox Pico บอร์ดกล้องที่ใช้ RV1103 SoC ซึ่งมีฟอร์มแฟคเตอร์ที่คล้ายกันและคุณสมบัติที่คล้ายกันกับโมดูลรุ่นใหม่นี้ แต่โมดูลรุ่นถูกสร้างขึ้นโดยใช้ RV1106 SoC ซึ่งมีโปรเซสเซอร์ Arm Cortex-A7 (สูงถึง 1.2GHz), RISC-V ที่เป็น co-processor, NPU 0.5 TOPS สำหรั […]

บอร์ด Arduino Nano 33 BLE Rev2 พร้อมชิป IMU BMI270 แบบ 6 แกน และ BMM150 magnetometer

Arduino Nano 33 BLE Rev2

Arduino Nano 33 BLE Rev2 เป็นรุ่นการอัพเดตบอร์ด Arduino Nano 33 BLE ที่เปิดตัวในปี 2019 ซึ่งเปลี่ยนชิป IMU (เซ็นเซอร์ตรวจวัดความเคลื่อนไหว) 1 ตัว 9 แกนเป็นชิป IMU 2 ตัวคือชิป BMI270 แบบ 6 แกน ที่ประกอบด้วยตัววัดความเร่ง (Accelerometer) และ ความเร็วเชิงมุม (Gyroscope), และชิป BMM150 แบบ 3 แกน ที่มีตัววัด Magnetometer และยังมีการปรับเปลี่ยนบางอย่างตามคำแนะนำจากผู้ใช้ บอร์ดใหม่ยังคงใช้โมดูล Bluetooth LE รุ่น nRF52840 (u-Blox NINA B306) และยังความเข้ากันได้กับ Arduino Nano ด้วย Pin-headers 15 ขาสองแถว แต่แทนที่ชิป IMU แบบ 9 แกนด้วยชิป BMI270 และ BMM150 เพิ่มขา test points และ pads ใหม่สำหรับ USB, SWDIO, และ SWCLK, มีการเพิ่ม VUSB soldering jumper ใหม่ และมีการเปลี่ยนแปลงที่วงจรการจ่ายพลังงานด้วย     สเปคข […]