LOLIN C3 Pico : บอร์ด ESP32-C3 ขนาดจิ๋ว รองรับการชาร์จแบตเตอรี่

LOLIN C3 PICO

LOLIN C3 Pico เป็นบอร์ด ESP32-C3 RISC-V ขนาดจิ๋ว (25.4×25.4 มม.) พร้อมการเชื่อมต่อ 2.4 GHz WiFi  และบลูทูธพลังงานต่ำ, จำนวนขา I/O ไม่มาก และมีวงจรสำหรับชาร์จแบตเตอรี่ LiPo ฉันชอบบอร์ดของ Wemos/LOLIN เนื่องจากมีฟอร์มแฟคเตอร์ขนาดจิ่ว, รองรับแผงป้องกันที่เล็กพอๆ กันและราคาต่ำ รวมถึง LOLIN C3 Pico ก็เช่นกัน  และยังคุณสมบัติเพิ่มเติมบางอย่างเช่น RGB LED, ขั้วต่อ I2C และการรองรับใช้พลังงานแบตเตอรี่และการชาร์จ สเปคของ LOLIN C3 Pico: SoC –  ไมโครคอนโทรลเลอร์ Espressif ESP32-C3FH4 single-core 32-บิต RISC-V (RV32IMC) สูงสุด 160 MHz พร้อม 400 KB SRAM, แฟลช 4MB การเชื่อมต่อ – 2.4 GHz WiFi 4 และ Bluetooth 5.0 LE (ใน SoC) ส่วนหัวส่วนขยาย หัวต่อ 2x 8 พิน  พร้อม GPIO สูงสุด x12, ADC, I2C, SPI, UART  (แรงดันไฟฟ้า 3.3V I/O […]

รีวิวหุ่นยนต์แขนกล myCobot 280 Pi

myCobot Pi Thresholding Red

แกะกล่อง myCobot 280 Pi myCobot 280 Pi หุ่นยนต์แขนกลอเนกประสงค์ มีการทำงานข้อต่อแบบ 6 แกน ออกแบบและพัฒนาโดย Elephant Robotics โดยใช้ บอร์ด Raspberry Pi 4 เป็นส่วนประกอบหลักในการควบคุม มีขนาดกะทัดรัดและมั่นคง สำหรับการทำงานในพื้นที่ที่จำกัด อีกทั้งสามารถเขียนได้หลากหลายภาษา ใช้งานง่าย ฟังก์ชั่นครบครัน เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจจะเริ่มเรียนรู้การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์แขนกล เอาไว้ใช้ทำงานทดแทนหรือทำโครงงานวิศวกรรมศาสตร์ก็ถือว่าเหมาะสมเลยทีเดียว myCobot 280 Pi มีระยะพื้นที่การทำงานเส้นผ่านศูนย์กลาง 280 มิลลิเมตร มีน้ำหนัก 850 กรัม รับน้ำหนักในการยกของได้ 250 กรัม ขับเคลื่อนด้วยเซอร์โวมอเตอร์แต่ละแกนรวม 6 แกน มี LED แสดงผลแบบ Matrix 5×5 อีกทั้งยังสามารถเชื่อมต่อกับชิ้นส่วน Lego ได้อีกด้วย ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ขน […]

Unexpected Maker เปิดตัว TinyS3, FeatherS3 และ ProS3 ที่ใช้ ESP32-S3 dual-core

Unexpected Maker TinyS3 FeatherS3 ProS3

Seon Rozenblum หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ Unexpected Maker ได้เปิดตัวการอัปเกรด ESP32-S2 (เช่น บอร์ด TinyS2) เป็น ESP32-S3 ได้แก่ บอร์ด TinyS3, FeatherS3 และ ProS3 บอร์ดใหม่นี้ใช้ฟอร์มแฟคเตอร์เดียวกันกับ TinyS2, FeatherS2 และ ProS2 แต่มีไมโครคอนโทรลเลอร์แบบดูอัลคอร์ที่ทรงพลังกว่าพร้อมคำสั่ง AI และ SRAM ขนาด 512kB ยังเพิ่มการเชื่อมต่อ Bluetooth 5.0 Low Energy (BLE) และรองรับ Bluetooth Mesh ไม่ใช่แค่การเชื่อมต่อ WiFi 4 บนบอร์ดรุ่นก่อนหน้า บอร์ด TinyS3, FeatherS3 และ ProS3 มีสเปคดังนี้: SoC – ESP32-S3 ของ Espressif Systems พร้อม ไมโครคอนโทรลเลอร์ Xtensa LX7 Dual-core 32 บิต ความเร็วสูงสุดอยู่ที่  240MHz ตัวประมวลผลร่วมที่รัน RISC-V ULP 512KB SRAM 2.4GHz Wifi 4 (802.11b/g/n) บลูทูธ 5.0 BLE + Mesh หน่วยความจำ – QSPI P […]

Orange Pi 800 Keyboard PC – ทางเลือก Raspberry Pi 400 ที่ใช้ Rockchip RK3399

Raspberry-Pi-400-Keyboard-PC-alternative

Orange Pi 800 Keyboard PC พีซีในรูปแบบคีย์บอร์ด ที่มีการออกแบบที่คล้ายกับ Raspberry Pi 400 มาก แต่ใช้โปรเซสเซอร์ Rockchip RK3399 hexa-core Cortex-A72/A53 Orange Pi 800 (เหมือนกับ Raspberry Pi 400) ที่มาพร้อมกับ RAM 4GB, Gigabit Ethernet, รองรับ WiFi 5 และ Bluetooth 5.0 , พอร์ต USB 3.0 สองช่อง และพอร์ต USB 2.0 หนึ่งช่อง แต่ยังเพิ่มหน่วยคามจำแฟลชในตัวขนาด 64GB และ พอร์ต HDMI full-size จำนวนหนึ่งช่อง ที่สามารถรองรับความละเอียด 4Kp60 บวกกับพอร์ต VGA แทนพอร์ต micro HDMI สองช่อง สเปคของ Orange Pi 800: SoC – Rockchip RK3399 hexa-core big.LITTLE processor พร้อม Arm Cortex-A72 จำนวน 2 คอร์สูงสุดที่ 1.8GHz, Arm Cortex-A53 จำนวน 4 คอร์สูงสุดที่ 1.4GHz และหน่วยประมวลผล (GPU) Arm Mali-T860MP4 หน่วยความจำระบบ – 4GB LPDDR4 พื […]

รีวิว CrowPi L – Part 2: เรียนรู้การเขียนโปรแกรมและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ด้วย Raspberry Pi 4

CrowPi-L-HDMI-หน้าจอ

จาก Part แรกที่เราได้รีวิว CrowPi L Raspberry Pi 4 แล็ปท็อปเพื่อการศึกษาเราได้ตรวจสอบฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์เสริม เช่น ชุดแล็ปท็อป CrowTail พร้อมเซ็นเซอร์ต่างๆ และโมดูลอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ และแสดงวิธีการติดตั้งหรือถอด Raspberry Pi 4 SBC ออกจากแล็ปท็อป ตอนนี้ฉันมีเวลาเล่นกับซอฟต์แวร์เพื่อการศึกษามากขึ้น ดังนั้นฉันจะบอกถึงประสบการณ์ของฉันกับแล็ปท็อปเมื่อเรียนรู้การออกแบบเกมและการควบคุมฮาร์ดแวร์ด้วย Letscode visual programming IDE รวมถึงบทเรียนฝึกการเขียน Python สำหรับนักเรียนขั้นสูงด้วย การติดตั้งอิมเมจ CrowPi OS ใหม่ หลังจากที่ฉันทิั้ง CrowPi L สองถึงสามสัปดาห์ SD card บน Raspberry Pi เสีย ฉันจะต้องติดตั้ง Raspberry Pi OS ใหม่ ฉันไม่แน่ใจว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะอากาศในประเทศไทยที่ฉันอยู่ไหม เพราะเป็นช่วงฤดูฝน อากาศจะร้อ […]

MechArm Pi 270 : หุ่นยนต์แขนกลตั้งโต๊ะ ที่ขับเคลื่อนโดย Raspberry Pi 4 SBC

MechArm-Pi-270

MechArm Pi 270 ของ Elephant Robotics เป็นหุ่นยนต์แขนกล (Robotic arm) ที่มีรัศมีการเคลื่อนที่ 270 มม. สามารถรับน้ำหนักสูงสุด 250 กรัม และสามารถเรียกใช้ Debian/Ubuntu + ROS บน Raspberry Pi 4 SBC หุ่นยนต์แขนกล MechArm เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว ในแคมเปญคราวด์ฟันดิ้งสองแคมเปญบน Kickstarter และ Indiegogo, MechArm ได้เข้าร่วมกับ Elephant Robotics แล้ว และตอนนี้สามารถรองรับซอฟต์แวร์ myStudio เพื่ออัปเกรดซอฟต์แวร์ได้ ซึ่งมีวิดีโอแนะนำวิธีใช้หุ่นยนต์และข้อมูลการบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้อง คุณสมบัติและสเปคที่สำคัญของ MechArm Pi 270: คอนโทรลเลอร์ – Raspberry Pi 4 Model B SBC พร้อมโปรเซสเซอร์ Quad-core Cortex-A72, การเชื่อมต่อ dual-band WiFi 5 และ Bluetooth 5.0 หน้าจอแสดงผล I/F – 2x พอร์ตเอาต์พุต Micro HDMI สูงสุด 4Kp60 รองรับกล้อง […]

Turing Smart Screen – หน้าจอขนาด 3.5 นิ้ว เชื่อมต่อด้วย USB-C

Turing-Smart-Display

“Turing Smart Screen” หน้าจอขนาด 3.5 นิ้ว ที่มีราคาไม่แพง เชื่อมต่อหน้าจอด้วย USB Type-C  และเชื่อมต่อกับระบบด้วยพอร์ต USB สามารถใช้งานได้กับ Windows, Linux (รวมถึง Raspberry Pi), MacOS และระบบปฏิบัติการอื่นๆ ที่รองรับ Python3 แต่สำหรับฉัน ฉันคิดว่ามันไม่ได้ทำหน้าที่เป็นจอภาพที่สองอย่างแน่นอน แต่เป็นการแสดงข้อมูล ซึ่งเดิมออกแบบมาเพื่อแสดงการใช้ทรัพยากร เช่น การใช้ CPU และหน่วยความจำ, ใน Windows และควบคุมผ่านคำสั่งที่ส่งไปยังพอร์ต USB สเปคของหน้าจอ Turing Smart Screen : หน้าจอแสดงผล IPS ขนาด 3.5 นิ้ว ความละเอียด 480×320 รองรับแนวตั้งและแนวนอน MCU – WCH CH552T 8-bit E8051 core MCU สำหรับอุปกรณ์ USB อินเทอร์เฟซโฮสต์ – อินเทอร์เฟซ USB Type-C ระบบควบคุมอัตโนมัติเมื่อเปิดเครื่อง ขนาด เครื่อง : 85 x 55 x 8 มม. หน้าจอ […]

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C : เร็วและประหยัดพลังงานที่สุด

interpreted-languages-poor-efficiency

ในฐานะที่เป็นอดีตวิศวกรซอฟต์แวร์ซึ่งส่วนใหญ่ทำงานเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรม C และ Assembly ภาษาโปรแกรมระดับต่ำ, สองภาษานี้เป็นภาษาการเขียนโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพที่สุด เนื่องจากอยู่ใกล้กับฮาร์ดแวร์มาก แต่เพื่อขจัดข้อสงสัยใดๆ ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยในโปรตุเกสพยายามหาปริมาณประสิทธิภาพการใช้พลังงานของภาษาโปรแกรมต่างๆ (และของคอมไพเลอร์ (Compiler)/อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter)) ในบทความเรื่อง Energy Efficiency across Programming Languages ที่ตีพิมพ์ในปี 2560 โดยดูจากรันไทม์ การใช้หน่วยความจำ และการใช้พลังงานของภาษาโปรแกรมที่รู้จักกันดี 27 ภาษา, ภาษา C เป็นผู้ชนะมีประสิทธิภาพมากที่สุด ในขณะที่ Python ซึ่งตอนนี้ฉันจะเรียกว่า ภาษาการเขียนโปรแกรมของผู้ก่อมลพิษ 🙂 อยู่ที่ด้านล่างสุดของมาตราส่วนพร้อมกับ Perl การศึกษาดำเนิ […]